|
เมื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรถึงทางตัน |
การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แม้ว่าจะมีการกำหนดบทบาทไว้ใน พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 2543 แต่ทว่าตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรยังเหมือนกับเป็นภาพฝัน แม้ว่ารูปแบบการดำเนินงานจะไม่แตกต่างจากนิติบุคคลอาคารชุดที่อยู่คู่กับคอนโดมิเนียมเท่าไหร่นักก็ตาม
ว่ากันว่ามีหมู่บ้านที่สามารถจัดตั้งเป็นนิติบุคคลขึ้นเพื่อดูแลระบบสาธารณูปโภคส่วนรวมของหมู่บ้านเพียงร้อยละ 5 ของทั้งหมด ขณะที่หมู่บ้านจัดสรรทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และเริ่มขยายออกสู่ต่างจังหวัดทั้งเก่าและใหม่มีรวมกันนับหมื่นนับแสนโครงการ
สำหรับโครงการที่เกิดก่อนที่จะมี พ.ร.บ.ฉบับนี้เรื่องการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านอาจไม่เคยถูกบรรจุอยู่ในสารบบ เมื่อเจ้าของโครงการขายบ้านหมดและต้องการไปเริ่มต้นโครงการใหม่ที่อื่น หมู่บ้านนั้น ๆ ก็ต้องยกพื้นที่ส่วนกลางที่มีอยู่ให้เป็นพื้นที่สาธารณะไป ขณะที่โครงการที่มีเจ้าของโครงการเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ที่มีการดูแลทุกข์สุขของลูกบ้านอย่างต่อเนื่องก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถึงอย่างไรก็ยังต้องจ่ายค่าส่วนกลางอยู่ดี
แต่ใช่ว่าทุกอย่างจะราบรื่นไปเสียหมด เพราะอย่างกรณีที่เกิดขึ้นกับโครงการของหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ย่านนิมิตใหม่ แม้เจ้าของโครงการจะเป็นผู้ดูแลจัดการสาธารณูปโภคทั้งหมด แต่ยังมีปัญหาเรื่องการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ครบถ้วนตามที่เคยโฆษณาไว้ตอนที่ลูกค้ามาดูโครงการ
ใครจะไปคิดว่าการไม่สร้างสนามกีฬาบางประเภทหรืออาคารบางอย่างที่เคยระบุไว้ในใบปลิว รวมทั้งสาธารณูปโภคที่ชำรุดเสียหายซึ่งโครงการละเลยที่จะซ่อมแซม จะทำให้เกิดเป็นกรณีพิพาท จนลูกบ้านต้องทำหนังสือร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม และกรมที่ดินต้องเข้ามาทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง
ขณะที่ลูกบ้านประกาศจะไม่ยอมจ่ายเงินค่าส่วนกลาง จนกว่าโครงการจะดำเนินการตามที่เรียกร้องแล้วเสร็จ เพราะแม้สำนักงานส่งเสริมธุรกิจที่ดินจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบและให้ยุติเรื่องเป็นข้อ ๆ แต่ลูกบ้านยังคงยืนยันว่าสิ่งที่เกิดขึ้นยังคงขัดแย้งกับความเป็นจริง
ส่วนโครงการร้อยละ 5 ที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านสำเร็จ ไม่ได้หมายความว่าการบริหารงานนับจากนั้นจะราบรื่นไปด้วย เพราะปัญหาเรื่องการไม่ยินยอมจ่ายค่าส่วนกลางยังมีอยู่ในทุกชุมชน ขณะที่การบริหารงานจะต้องมีเม็ดเงินเป็นปัจจัยหลัก ไหนจะค่าน้ำสำหรับรดน้ำต้นไม้ในสวน ค่าไฟส่องสว่างถนนทั้งโครงการ ค่าคนดูแลสวน และค่ายามรักษาการณ์ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายจิปาถะที่อาจเกิดขึ้นหากว่ามีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ เกิดชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ ถนนชำรุด หรือแม้แต่การลอกท่อระบายน้ำ
ค่าใช้จ่ายที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนิติบุคคลจะบริหารงานยากหากว่าไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีจากลูกบ้านแล้ว โครงการที่ขายไปเกินครึ่งตาม พ.ร.บ.ฉบับที่ว่า ยังต้องการผลักภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับลูกค้าที่ซื้อบ้านในโครงการด้วย จึงมักจะยกให้แกมบังคับเพื่อให้ลูกบ้านจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่อไป ซึ่งไม่ใช่แค่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้
เพราะแม้แต่โครงการบ้านจัดสรรระดับกลางถึงหรูใน จ.ชลบุรี ลูกบ้านบางรายก็ลุกขึ้นมาประกาศไม่ยอมรับคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้น เนื่องจากเจ้าของโครงการต้องการปิดโครงการเพื่อเริ่มต้นโครงการ ใหม่ จึงเร่งรีบที่จะจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. ทว่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในโครงการ ไปจนถึงพื้นที่สาธารณะที่เคยโฆษณาไว้ ยังไม่ได้รับการจัดการให้เป็นไปตามที่ระบุไว้
แต่ดูเหมือนกรณีนี้จะถึงทางตันมากกว่า โดยหนึ่งในลูกบ้านเพียรพยายามที่จะเรียกร้องให้เจ้าของโครงการก่อสร้างทุกอย่างตามที่เคยโฆษณาไว้ แต่เมื่อไม่ได้รับคำตอบจึงต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ ไม่ว่าจะเป็น สคบ. กรมที่ดินจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรม กรมที่ดิน และหน่วยราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่เรื่องทั้งหมดกลับเงียบหาย ไม่มีการตรวจสอบรวมทั้งไม่มีคำตอบใด ๆ
นั่นก็ยังดีกว่าหากเทียบกับโครงการขนาดเล็กบางแห่งที่มีบ้านเพียงไม่กี่หลัง เพราะจำนวนสมาชิกที่น้อยเกินไป ทำให้ค่าสาธารณูป โภคที่ต้องรับผิดชอบต่อหลังสูงกว่าหมู่บ้านขนาดใหญ่ และไม่สามารถคัดสรรคณะกรรมการมาทำหน้าที่ได้เพียงพอ
จะยกให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ของหน่วยราชการในท้องถิ่นนั้น ๆ หากเป็นทางตันไม่สามารถเจาะทะลุเชื่อมต่อไปยังถนนสายอื่น ๆ ได้ ใครก็ไม่อยากจะรับมาบริหารให้เสียงบประมาณ จะจัดตั้งนิติบุคคลก็ไม่ได้ จึงต้องจำใจอยู่ในฐานะคาราคาซังช่วย ๆ กันจ่ายค่ายามค่าไฟไป
นี่อาจเป็นสิ่งที่กรมที่ดินซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องพิจารณาว่า โครงการหมู่บ้านจัดสรรของไทยพร้อมหรือยังที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคล เพราะเกือบ 10 ปีที่ผ่านมาเรียกหาความสำเร็จแทบไม่ได้ อย่างนี้จัดตั้งเป็นแบบชุมชนท้องถิ่นที่มีผู้ใหญ่บ้านและกำนันคอยดูแลทุกข์สุขของคนในชุมชนยังจะดีเสียกว่า.
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 8 มีนาคม 2556
จำนวนผู้อ่าน : 4808 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|