|
ตรวจสอบเบื้องต้นง่ายๆ หลังแผ่นดินไหว |
ตอนนี้เกิดอาเพศอะไรไม่ทราบได้ มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเกิดหลายแห่ง จึงขอกระซิบบอกวิธีการตรวจสอบความเสียหาย (และความเสี่ยง) ดังนี้นะครับยามเมื่อเกิดภัยทางธรรมชาติ อาคารเราสั่นสะเทือน และอาจมีอาการเอนเอียงขณะเกิดเหตุ เมื่อเหตุการณ์หยุด บางสิ่งของอาคารเราอาจจะเกิดปัญหาไปแล้ว การตรวจสอบอาคารหลังแผ่นดินไหวว่าจะมีปัญหาหรือไม่ สรุปความง่าย ๆ สำหรับช่างธรรมดา ๆ สักคนหนึ่ง อาจจะเริ่มต้นเป็น 4 ข้อดังนี้นะครับ
1. ตรวจสอบดิ่ง-ฉากของอาคาร ว่าอาคารของเรานั้นยังดิ่งและฉาก (และระนาบ) ดีอยู่หรือไม่ ตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นทางสายตา หรือว่าจะเป็นลูกดิ่งหรือว่าจะเป็นลูกแก้ว (เอาลูกแก้วโยนลงที่พื้นห้อง แล้วดูว่าพื้นห้องนั้นเอียงไปทางเดียวกันหรือไม่ หากเป็นห้องน้ำ ลูกแก้วจะวิ่งไปทางเดียวกัน และไปหยุดที่ท่อระบายน้ำ แต่หากเป็นห้องปกติ ลูกแก้วจะกระจายไปทุกทิศทาง เพราะพื้นได้ระนาบเดียวกัน) หากทุกอย่างปกติ ก็ผ่านข้อ 1 ไปได้ครับ 2. ตรวจสอบสภาวะรอยร้าว ตรวจสอบให้หมดไม่ว่าจะเป็นส่วนของโครงสร้างหรือส่วนสถาปัตยกรรม เน้นการตรวจสอบรอยใหม่ ๆ นะครับ (รอยเก่าที่เป็นจนตะไคร่ขึ้นอาจจะไม่จำเป็นครับ) โดยเฉพาะรอยร้าวในลักษณะ เฉียง ๆ ครับ
ไม่ว่าจะเป็นรอยเฉียง ๆ ที่ผนังจากผนังล่างซ้ายไปมุมบนขวา หรือจะเป็นรอยเฉียง ๆ ที่บริเวณรอยต่อของมุมเสาและคานที่มาบรรจบกัน (รอยร้าวลักษณะนี้จะอันตราย เพราะเป็นอาการบอกเหตุว่า โครงสร้างของคานและเสากำลังจะแยกหลุดจากกัน) หากไม่มีรอยพวกนี้ก็ถือว่าผ่านข้อที่ 2 ไปได้ครับ
3. ตรวจสอบงานระบบ โดยเฉพาะทางแนว ดิ่ง เปิดช่องท่อของอาคารดูว่าท่อต่าง ๆ นั้นเอียงหรือไม่ อุปกรณ์การยึดเกาะทั้งหลายสมบูรณ์อยู่หรือมีท่อแตกหรือเอียงหรือไม่ มีคราบน้ำใหม่ ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ (หากมีคราบน้ำ ก็อาจแสดงว่าจุดข้อต่อหรือท่อมีปัญหา ในขณะที่เกิดความสั่นสะเทือนและขณะที่ตึกอาจจะเอียงไปมาขณะเกิดแผ่นดินไหว)
ระบบลิฟต์ก็เป็นจุดหนึ่งที่ต้องตรวจสอบการทำงาน หากติดขัดก็อาจแสดงว่าปล่องลิฟต์อาจจะเอียง (ตามตัวตึก) หรืออุปกรณ์บางอย่างของระบบนั้นเป็นปัญหาลองเปิดน้ำ เปิดไฟ เปิดแอร์ดูสักพักว่า ทุกอย่างทำงานเป็นปกติหรือไม่ เพราะระบบเหล่านี้จะเป็นตัวบอกเหตุของความเสียหายของโครงสร้างอาคารในภาพรวมได้ 4. ตรวจสอบหน้าต่างและระบบผนังกระจกว่ากระจกต่าง ๆ นั้นยังติดสนิทดีหรือไม่ ลองเอามือผลักดูเบา ๆ หากชั้นไม่สูงมากก็อาจจะเอาน้ำฉีดทดสอบดูได้ครับ หากทุกอย่างปกติก็แสดงว่าการสั่นไหวที่เกิดขึ้นนั้นไม่มากมายนัก ก็ถือว่าข้อสุดท้ายผ่านครับของแถม.... กฎหมายที่กำหนดพื้นที่ภัยพิบัติจากธรรมชาติตอนนี้เมืองไทยมีภัยพิบัติเกิดขึ้นเนือง ๆ ทั้งจากพวกโกงชาติขายแผ่นดิน และจากธรรมชาติ...ซึ่งในส่วนภัยธรรมชาตินั้น ได้มีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวกล่าวถึงภัยพิบัติหลาย ๆ อย่าง...อีกทั้งแบ่งชนิดของภัยออกตามพื้นที่ของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ (ซึ่งแต่ละบริเวณอาจมีภัยต่างที่มากัน) คือ บริเวณเฝ้าระวัง คืออาจเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ 7 จังหวัดภาคใต้ เพราะบริเวณนี้จะมีผลกระทบจากรอยเลื่อนของเปลือกโลกในทะเลอันดามัน แล้วทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยเลื่อนที่เป็นแนวดิ่ง) จังหวัดทั้ง 7 ที่ต้องเฝ้าระวังก็คือ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา สุราษฎร์ธานีบริเวณจะมีผลแผ่นดินไหว 5 จังหวัด คือบริเวณที่เป็นดินเกิดใหม่และเป็นโคลน เนื่องจากแผ่นดินไหวอาจจะเกิดไกลออกไปก็จริง แต่พอความสั่นสะเทือนมาพบกับดินโคลนที่ไม่แข็ง ก็จะทำให้เกิดคลื่นขยับตัวได้ (เหมือนกับการเคาะแก้วน้ำ ตัวแก้วน้ำอาจจะไม่มีการสั่นไหว แต่คลื่นที่เคาะจะไปทำให้น้ำที่อยู่ในแก้วนั้นเกิดระลอกคลื่นได้) 5 จังหวัด ที่อาจมีปรากฏการณ์นี้ก็คือ : กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และ สมุทรสาคร
บริเวณเกิดแผ่นดินไหวจริง บริเวณรอยเลื่อนอันดามัน ที่จะทำให้เกิดผลโดยตรงกับจังหวัดทางภาคตะวันตกและภาคเหนือบางส่วน ซึ่งมีปรากฏการณ์แผ่นดินไหวมาตั้งแต่โบราณแล้ว มีการกำหนดไว้จำนวน 10 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
กฎหมายการก่อสร้างมีการกำหนดว่า บริเวณที่มีโอกาสสั่นสะเทือนเพราะแผ่นดินไหว ผู้ออกแบบจะต้องเพิ่มความแข็งแรงของอาคารเป็นกรณีพิเศษ กำหนดหนักไว้ที่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง และอาคารชุมนุมชน เป็นต้น ส่วนกฎหมายที่กำหนดเรื่องการเตรียมการของอาคารที่อาจเกิดภัยสึนามิได้นั้น ก็มีหลายประเด็น เช่น - ห้ามทำห้องใต้ดิน บางพื้นที่จะต้องมีใต้ถุนโล่งสูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 0.80 ม. - ปรับความสูงอาคารริมทะเลเป็นไม่เกิน 7 เมตร (เดิม 6 เมตร) - กำหนดให้ต้องก่อสร้างอาคารห่างจากแนวชายฝั่งทะเลไม่น้อยกว่า 30 เมตร (เดิม 20 เมตร) - กำหนดให้สามารถทำสระว่ายน้ำซึ่งสูงจากพื้นดินไม่เกิน 1 เมตรได้ในบางบริเวณ. |
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 8 มีนาคม 2556
จำนวนผู้อ่าน : 4059 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|