|
การสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ |
การสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอนเริ่มต้นจากการปลูกผลึกซิลิคอนก่อน โดยนำซิลิคอนที่ถลุงแล้วมาเป็นวัตถุดิบ เพื่อหลอมละลายเป็นของเหลวที่อุณหภูมิ ๑๔๐๐° c แล้วจึงดึงผลึกจากของเหลว โดยการลดอุณหภูมิอย่างช้าๆจนได้แท่งซิลิคอนซึ่งเป็นของแข็งแล้วจึงนำมาตัดเป็นแว่นๆ
เมื่อได้แว่นผลึกซิลิคอนแล้ว จึงนำมาแพร่ซึมด้วยสารเจือปนชนิดต่างๆ เพื่อสร้างหัวต่อพีเอ็นภายในเตาแพร่ซึมที่มีอุณหภูมิสูงประมาณ ๙๐๐° - ๑๐๐๐° c ก่อนที่จะนำไปทำชั้นต้านการสะท้อนแสงด้วยเตาออกซิเดชั่นที่มีอุณหภูมิสูงเช่นเดียวกัน ขั้นตอนสุดท้ายจึงได้แก่การทำขั้วไฟฟ้าสองด้านด้วยการฉาบไอโลหะภายใต้สุญญากาศ
เมื่อสร้างเซลล์แสงอาทิตย์เสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องนำไปทดสอบประสิทธิภาพด้วยแสงอาทิตย์เทียม และวัดหาลักษณะสมบัติทางไฟฟ้าต่อไป
นอกจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากผลึกซิลิคอนแล้ว เรายังสามารถประดิษฐ์สร้างเซลล์แสงอาทิตย์จากอะมอร์ฟัสซิลิคอน ซึ่งมีลักษณะเป็นฟิล์มบางได้อีกด้วย อะมอร์ฟัสซิลิคอนจะเตรียมได้จากการแยกสลายก๊าซไซเลน (Silane Gas : SiH4) ให้เป็นอะมอร์ฟัสซิลิคอน แล้วฉาบบนฐานแก้ว หรือสเตนเลสสตีล ทำให้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้โปร่งแสงหรือโค้งงอได้ จึงมีการประยุกต์ที่แตกต่างไปจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากผลึกซิลิคอน
อุปกรณ์ที่ใช้แยกสลายก๊าซไซเลนนี้ ได้แก่เครื่อง Plasma CVD (Chemical Vapor Deposition) โดยผ่านก๊าซไซเลนเข้าไปในครอบแก้วที่มีขั้วไฟฟ้าสำหรับความถี่สูง ไฟฟ้าความถี่สูง (3MHz) จะทำให้ก๊าซแยกสลายเกิดสภาพเป็นพลาสมาขึ้นอะตอมของซิลิคอนที่เป็นผลิตผลจากการแยกสลายก๊าซไซเลนจะตกลงบนฐานแก้ว หรือสเตนเลสสตีลที่วางอยู่ภายในครอบแก้วนั้นเกิดเป็นฟิล์มบางของอะมอร์ฟัสซิลิคอนที่หนาเพียงไม่เกิน ๑ ไมครอน (๑ ใน ๑,๐๐๐ ของมิลลิเมตร)
ในขณะที่แยกสลายก๊าซไซเลนนั้น จะมีการผสมก๊าซฟอสฟีน และก๊าซไดโบเรนเข้าไปด้วยเพื่อเป็นสารเจือปน จึงสามารถสร้างหัวต่อพีเอ็น หรือ พี - ไอ - เอ็น ได้เช่นเดียวกับผลึกซิลิคอนเพื่อใช้เป็นโครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ ส่วนขั้วไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอนนี้ มักใช้ขั้วไฟฟ้าโปร่งแสงที่ทำจาก ITO (Indium Tin Oxide) จึงทำให้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้ดูเรียบง่าย
ส่วนเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดแกลเลียมอาร์เซไนด์นั้น เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงและราคาแพง เนื่องจากวัดสุแกลเลียมอาร์เซไนด์ มีราคาแพงและใช้เครื่องมือในการสร้างที่สลับซับซ้อน ได้แก่เตาปลูกชั้นผลึกจากสถานะของเหลว (LPE : Liquid Phase Epitaxy) และเครื่องปลูกชั้นผลึกด้วยลำโมเลกุล (MBE : Molecular Beam Epitaxy) ซึ่งใช้ในการปลูกชั้นผลึกที่เป็นหัวต่อพีเอ็นเช่นเดียวกับเทคนิคอื่นๆ
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 24 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 4690 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|