สายไฟฟ้า การเลือกใช้สายไฟฟ้า
- ใช้เฉพาะสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) เท่านั้น
- สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบชำรุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือฉนวนของสาย สารป้องกันแสงแดด
ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีดำแต่อาจเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวนของสายจากแสงแดดได้ระดับหนึ่ง - เลือกใช้ชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่นสายไฟชนิดอ่อน ห้ามนำไปใช้เดินยึดติดกับผนัง
หรือลากผ่านบริเวณที่มีการกดทับสายเนื่องจากฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกระแทกจากอุปกรณ์จับ ยึดสายได้การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายที่ไม่สามารถรับแรงกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายใต้ดิน พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย
ขนาดของสายไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าละปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้
การเดินสายไฟฟ้า - เลือกว่าจ้างช่างเดินสายไฟฟ้าที่มีประสบการณ์สูงหรือช่างที่เคยผ่านการอบรมจากการไฟฟ้า
- หลีกเหลี่ยงการมีจุดต่อสายไฟฟ้าเกินความจำเป็น หากมีการต่อสายก็ต้องเลือกใช้อุปกรณ์การต่อสายที่ถูกต้อง มั่นคงแข็งแรง
- สายไฟฟ้าที่ทะลุผ่านผนังหรือออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องมีฉนวนรองรับ เพื่อป้องกันฉนวนของสายไฟฟ้าถูกบาดจนชำรุด
- สายไฟฉนวนสีดำ ใช้สำหรับสายไฟที่มีไฟ ส่วนสีเทาอ่อนหรือสีขาว ใช้สำหรับสายเส้นที่ไม่มีไฟ (สายศูนย์)
สำหรับสีเขียวหรือสีเขียวสลับเหลือง ใช้สำหรับสายดิน - อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน เช่น ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ รวมทั้งสวิตช์ปิด-เปิด ให้ต่อกับสายไฟฟ้าที่มีฉนวนสีดำ
(เส้นที่มีไฟ) เท่านั้น และห้ามต่อฟิวส์ในสายเส้นที่ไม่มีไฟ (เส้นศูนย์) ในกรณีที่ใช้เบรกเกอร์หรือสวิตช์ ในเส้นศูนย์ด้วยต้องเป็นชนิดที่ตัดไฟหรือปลดสายไฟทุกเส้นออกพร้อมกัน (2 ขั้วพร้อมกัน) - กรณีที่มีการต่อเติมเดินสายไฟบางส่วนแล้วพบว่า การเดินสายไฟเดิมทั้งบ้านใช้สีของสายๆฟสลับกันกับมาตราฐานเหมือนกัน
ทั้งหมด (เส้นที่มีไฟใช้สีขาว เส้นศูนย์ใช้สีดำ) หากไม่สามารถแก้ไขใหม่ได้ขอให้ใช้สายไฟระบบเดียวกันทั้งบ้าน แต่ต้องมีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ที่แผงสวิตช์หรือต็เมนสวิตช์สำหรับช่างไฟ และเจ้าของบ้านทราบทุกครั้งที่มีการตรวจสอบด้วย - กรณีของสายดิน ถ้าใช้สายดินเป็นเส้นเดี่ยวต้องมีฉนวนเป็นสีขาวและถ้าสายวงจรเดินในท่อโลหะต้องเดินสายดิน
ในท่อเดียวกับสายวงจรด้วยห้ามเดินนอกท่อโลหะ - สายไฟสายเดี่ยวที่เป็นฉนวนชั้นเดียวเช่น สาย THW. ไม่อนุญาตให้เดินสายโดยใช้เข็มขัดรัดสาย
- สายเมนที่มีขนาดต่ำกว่า 50 ตร.มม. ไม่ควรนำมาควบสาย
การตรวจสอบสายไฟฟ้า
- ตรวจสอบการเดินสายไฟ ว่าใช้สีถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ (ใช้ไขควงล่อไฟ) หากไม่ถูกต้องเพียงบางจุดให้แก้ไข
สลับสายใหม่ หากไม่ถูกต้องตลอดทั้งอาคารเหมือนกันหมดให้มีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ที่แผงสวิตช์หรือตู้เมนสวิตช์ด้วย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดภายหลัง - ตรวจสอบจุดต่อสาย การเข้าสาย ต้องขันให้แน่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- สังเกตอุณหภูมิของสาย โดยสัมผัสที่ผิวฉนวนของสาย ถ้ารู้สึกอุ่นหรือร้อนแสดงว่าผิดปกติ อาจเนื่องจากใช้ไฟเกินขนาดของ
สาย หรือมีจุดต่อสายต่างๆไม่แน่น เช่น ปลั๊กไฟ เต้ารับ สวิตช์ เป็นต้น - สังเกตุสีของของเปลือกสาย ถ้าสายไฟบางเส้นมีสีเปลี่ยนไป เช่น สีขาวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือฝุ่นจับมาก แสดงว่ามีอุณหภูมิสูงกว่าปกติอาจมีไฟใช้เกินขนาดสายหรือมีการต่อสายไม่แน่น
- ฉนวนของสายไฟฟ้าต้องไม่มีการแตกกรอบ ไม่มีรอยไหม้ ชำรุด ถ้าพบควรหาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุแล้วแก้ไขสาเหตุ พร้อมเปลี่ยนสายใหม่
- หมั่นตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อยโดยให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจสอบสภาพไว้ทุกครั้ง
- กรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ควรตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่
ถ้าขนาดของสายไฟไม่เพียงพอต้องเปลี่ยนใหม่ - ตรวจสอบสายไฟบริเวณที่ทะลุผ่านฝ้าเพดานหรือผนัง อาจมีรอยหนูแทะเปลือกของสายทำให้เกิดลัดวงจรและเกิดไฟไหม้ได้
เมนสวิตช์ เมนสวิตช์ หมายถึง อุปกรณ์บนแผงควบคุมการจ่ายไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ๆฟฟ้าให้เกิดความปลอดภัยสามารถสับหรือปลด ออกได้ทันที เมนสวิตช์มักจะหมายถึง อุปกรณ์สับปลดวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า(มิเตอร์) ของการไฟฟ้าเข้ามา ในบ้าน ซึ่งจะรวมถึงอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินและลัดวงจรด้วย - ขนาดปรับตั้งของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินหรือลัดวงจร เช่น ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ต้องเลือกขนาดให้สามารถตัดวงจรไฟฟ้าในขณะที่เกิดลัดวงจร หรือมีกระแสไฟฟ้าเกินก่อนที่สายไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆจะเสียหาย
- ความสามารถหรือพิกัดในการตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ของฟิวส์หรือเบรกเกอร์ต้องสูงกว่าค่ากระแสลัดวงจรของระบบไฟฟ้าที่ตำแหน่งติดตั้ง ปกติมีหน่วยเป็น kA หรือ
กิโลแอมแปร์ ค่าพิกัดกระแสลัดวงจร ( IC ) สอดคล้องกับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานด้วย
ตำแหน่งของเมนสวิตช์ต้องอยู่ห่างจากวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง เช่น ผ้า กระดาษ หรือ สารไวไฟ เช่น ทินเนอร์ผสมสี ตู้เมนสวิตช์ หากทำด้วยโลหะต้องต่อลงดิน หากไม่ใช่โลหะต้องทำด้วยสารที่ไม่ติดไฟได้ง่าย หรือทำด้วยวัตถุที่ไม่ไหม้ ลุกลาม (Flame-retarded) ตำแหน่งของเมนสวิตช์ต้องเข้าถึงได้สะดวก และมีการระบายอากาศบ้างอย่างเพียงพอ ตำแหน่งของเมนสวิตช์ควรอยู่สูงพ้นระดับที่น้ำอาจท่วมถึง และไม่อยู่ใกล้กับแนวท่อน้ำหรือท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันอันตรายในกรณีที่ท่อน้ำชำรุด ในกรณีที่เมนสวิตช์ ประกอบด้วย คัตเอาท์ (สวิตช์ใบมีด) และคาร์ทริดจ์ฟิวส์ (ฟิวส์กระปุก) ให้ต่อตรงที่ตำแหน่ง ฟิวส์ภายในคัตเอาท์ด้วยสายทองแดงที่มีขนาดเพียงพอ (ไม่เล็กกว่าสายเมน)เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นสะพานไฟ สับ-ปลดวงจรอย่างเดียว โดยให้คาร์ทริดจ์ ฟิวส์ทำหน้าที่ป้องกันกระแสเกินและกระแสลัดวงจรแทน ในขณะที่ปลดเมนสวิตช์ เพื่อการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษานั้น ให้เขียนป้ายเตือนไว้ว่า ห้ามสับไฟ ! ช่างไฟฟ้ากำลังทำงาน แขวนไว้ที่เมนสวิตช์ทุกครั้ง เครื่องตัดไฟรั่ว ควรมีปุ่มทดสอบการทำงาน และมีการกดปุ่มทดสอบการทำงาน และมีการกดปุ่มทดสอบเป็นประจำเครื่องตัดไฟรั่วที่ใช้ ป้องกันไฟดูด ควรมีความเร็วสูงโดยต้องมีขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30mAและหากใช้ตัวเดียวป้องกัน ทั้งบ้านอาจมีปัญหาเครื่องตัดบ่อยจึงควรใช้เฉพาะวงจรย่อยหรือเต้ารับพิเศษหรือใช้แยกวงจรที่มีกระแสไฟรั่ว โดยธรรมชาติออก เช่นเครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนวงจรที่มีลักษณะเป็นตัวเก็บประจุ หรือเครื่องป้องกันฟ้าผ่าที่มีการต่อลงดิน เป็นต้น ขั้วต่อสาย การเข้าสายและจุดสัมผัสต่างๆต้องหมั่นตรวจสอบขันให้แน่นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อไม่ให้เกิดความร้อน วิธีตรวจสอบอุณหภูมิของสายอย่างง่ายๆอาจใช้นิ้วสัมผัสฉนวนสายบริเวณใกล้กับจุดต่อต่างๆ ก็ได้ เมื่อมีการทำงานต่างๆของเบรกเกอร์ (สวิตช์อัตโนมัติ) หรือเครื่องตัดไฟรั่วจะต้องตรวจสอบสาเหตุทุกครั้งว่าเกิดจากอะไร เพื่อทำการแก้ไขก่อนที่จะมีการสับไฟใหม่ สาเหตุที่เป็นไปได้ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด ไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร มีการใช้ไฟเกินกำลังขนาด ของสายไฟฟ้าหรือขนาดของเบรกเกอร์บางครั้งอาจเกิดจากไฟตกหรืออาจเกิดจากเบรกเกอร์ชำรุดเอง กรณีที่เครื่องตัดไฟรั่วที่มักจะทำงานเมื่อมีฟ้าผ่านั้นเป็นเหตุการณ์ปกติในกรณีที่มีคลื่นเหนี่ยวนำจากกระแสฟ้าผ่าเล็ดลอด เข้ามาในบ้านที่มีเครื่องตัดไฟรั่วที่ไวเกินไปหรือระบบสายไฟที่เก่าเกินไป หลักดินและตำแหน่งต่อลงดินภายในอาคารหลังเดียวกัน ควรมีอยู่แห่งเดียวคือบริเวณตู้เมนสวิตช์ทางด้านไฟเข้าเท่านั้น ควรแยกวงจรสำหรับระบบไฟฟ้าชั้นล่างของอาคารออกต่างหากและให้สามารถปลดวงจรออกได้โดยสะดวกในกรณีที่มีน้ำ ท่วมขัง อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินและลัดวงจร ที่ทำหน้าที่เป็นเมนสวิตช์ ควรมีจำนวนคู่ดังนี้
ระบบไฟที่ไม่มีสายดิน เบรกเกอร์ต้องเป็นชนิดที่ตัดพร้อมกันทั้ง 2 ขั้ว หากใช้ฟิวส์อาจใช้ขั้วเดียวได้แต่ต้องอยู่ในสายไฟที่มีไฟ และต้องมีสะพานไฟหรือคัตเอาท์ 2 ขั้ว ที่สามารถปลดไฟพร้อมกันทั้ง 2 ขั้ว
ระบบไฟที่มีสายดิน เบรกเกอร์และฟิวส์สามารถใช้ชนิดที่ตัดขั้วเดียวในสายเส้นที่มีไฟได้ ยกเว้น กรณีห้องชุดของอาคารชุด สวิตช์ปิด-เปิด สวิตช์ปิด-เปิดในที่นี้ หมายถึง สวิตช์สำหรับปิด-เปิดหลอดไฟหรือโคมไฟสำหรับแสงสว่างหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ที่มีการติดตั้งสวิตช์เอง มีข้อแนะนำดังนี้ - เลือกใช้สินค้าที่มีมาตรฐาน มอก. หรือมาตรฐานสากลอื่นๆ ที่มีการรับรอง เช่น UL, VDE, KEMA, DIN เป็นต้น
- แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่กำหนดของสวิตช์ต้องไม่ต่ำกว่าค่าที่ใช้งานจริง
- การเข้าสาย/ต่อสายต้องแน่น และมั่นคงแข็งแรง
- สปริงต้องแข็งแรง ตัดต่อวงจรได้ฉับไว
- ฝาครอบไม่ร้าวหรือแตกง่าย
- ถ้าใช้งานภายนอกต้องทนแดด ทนฝนได้ด้วย
- ถ้าสัมผัสที่สวิตช์แล้วรู้สึกว่าอุ่นหรือร้อนแสดงว่า มีการต่อสายไม่แน่นหรือสวิตช์เสื่อมคุณภาพ
- หลีกเหลี่ยงการติดตั้งสวิตช์ในที่ชื้นแฉะ และห้ามสัมผัส หรือใช้สวิตช์ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น
- ติดตั้งสวิตช์ตัดวงจรเฉพาะกับสายเส้นที่มีไฟ (ฉนวนสีดำ) เท่านั้น
เต้าเสียบและเต้ารับ หลักในการเลือกซื้อเต้าเสียบและเต้ารับ เต้าเสียบและเต้ารับที่ดีต้องปลอดภัย ควรมีลักษณะดังนี้ คือ - มีการป้องกันนิ้วมือไม่ให้สัมผัสขาปลั๊กในขณะเสียบหรือถอดปลั๊ก เช่น การทำให้เต้ารับเป็นหลุมลึกหรือการหุ้มฉนวนทีโคนขาปลั๊ก หรือทำเต้าเสียบ (ปลั๊ก) ให้มีขนาดใหญ่เมื่อมีการกุมมือจับเต้าเสียบแล้วไม่มีโอกาศจับขาปลั๊กส่วนที่มีไฟ - มีการป้องกันเด็กใช้นิ้วหรือวัสดุแหย่รูเต้ารับ เช่น มีฝาครอบหรือบานพับเปิด-ปิดรูของเต้ารับ ซึ่งบานพับจะเปิดตอนใช้ปลั๊กเสียบเท่านั้น - มีมาตรฐานสากลรับรอง ละผ่านการทดสอบตามมาตรฐานนั้นๆ เช่น UL, VDE, DIN, KEMA เป็นต้น - ขนาดของกระแสและแรงดันไฟฟ้าสอดคล้องกับการใช้งานจริง เช่นทดลองเสียบปลั๊กแล้วดึงออก 5-10 ครั้ง ถ้ายังคงฝืดและแน่นแสดงว่าใช้งานได้ อันตรายของการใช้ปลั๊กแบบคู่ขนาน (2-3 ขา) - ปลั๊กขาแบนนั้นมาตรฐานทั่วโลกกำหนดให้ใช้ไฟไม่เกิน 125 โวลต์จึงไม่เหมาะกับประเทศไทยที่ใช้ระบบไฟ 220 โวลต์ และใช้แรงดันทดสอบที่สูงกว่า - ปลั๊กขาแบนที่จับที่เล็ก มักเกิดอุบัติเหตุนิ้วมือสัมผัสขาปลั๊ก ซึ่งเป็นอุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย - เต้าเสียบและเต้ารับไม่มีการป้องกันนิ้วมือสัมผัส ขาปลั๊กในขณะที่เสียบหรือถอดปลั๊ก ซึ่งอันตรายในขณะที่สัมผัสไฟ 220 โวลต์ จะรุนแรงกว่าสัมผัสแรงดัน 110 โวลต์เกือบเท่าตัว - เต้ารับสำหรับปลั๊กขาแบนเมื่อใช้เต้ารับมาใช้กับเต้าเสียบ 220 โวลต์ที่เป็นขากลมจำเป็นต้องดัดแปลงให้เต้ารับเสียบขากลมได้ด้วย ทำให้รูของเต้ารับกว้างขึ้น เนื่องจากระยะห่างของขาทั้ง 2 ชนิดไม่เท่ากัน มักจะมีปัญหาไม่ปลอดภัยเสียบไม่แน่นและ อาจเกิดอัคคีภัยได้ง่าย ข้อแนะนำหากจะต่อปลั๊กที่เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1 ให้มีสายดินด้วยตัวเอง
- ก่อนอื่นจะต้องตรวจสอบก่อนว่า ตัวถังโลหะต้องไม่ต่อกับสายศูนย์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า มิฉะนั้นจะทำไม่ได้ ยกเว้นจะปลดให้แยกจากกันและมีระดับฉนวนที่ทดสอบแล้วว่าเพียงพอ - สำหรับเครื่องไฟฟ้าที่มีสายดินมาจากผู้ผลิต ไม่ปลอดภัยที่จะทำเองควรปรึกษาผู้ผลิต หรือช่างที่ชำนาญที่มีเครื่องมือทดสอบเป็นการเฉพาะ เช่นเครื่องมือทดสอบฉนวนของสายไฟและเส้นศูนย์เมื่อเทียบกับตัวถังโลหะ (เส้นศูนย์ห้ามต่อกับสายดินที่เครื่องใช้ไฟฟ้า) ทดสอบความต่อเนื่องและคงทนของการต่อสายดินที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรไหลในสายดิน เป็นต้น ข้อแนะนำการติดตั้งและใช้งานเต้าเสียบเต้ารับ (เพิ่มเติม)
- ตำแหน่งของการติดตั้งเต้ารับควรอยู่สูงให้พ้นมือเด็กหรือระดับน้ำที่อาจท่วมถึง - เวลาถอดปลั๊กให้ใช้มือจับที่ตัวปลั๊ก อย่าดึงที่สายไฟ และอย่าใช้มือแตะถูกขาปลั๊ก - ให้หลีกเลี่ยงและระมัดระวังการใช้เต้ารับที่เสียบปลั๊กได้หลายตัวเพราะอาจทำให้มีการใช้ไฟฟ้าเกินขนาดของเต้ารับ และสายไฟฟ้าทำให้เกิดไฟไหม้ได้ - ก่อนซื้อเต้ารับควรตรวจสอบโดยการใช้ปลั๊ก (ตัวผู้) ขากลมเสียบเข้าและดึงออกหลายๆครั้ง เต้ารับที่มีคุณภาพดีจะแน่นและดึงออกยาก - หมั่นตรวจสอบจุดเชื่อมต่อการเข้าสายให้แน่นอยู่เสมอ - เต้ารับที่ใช้งานภายนอกอาคารควรทนแดด ป้องกันน้ำฝนได้ และหากเป็นสายไฟ/เต้ารับที่ลากไปใช้งานไกลๆ ต้องผ่านวงจรของเครื่องตัดไฟรั่วด้วย - ตลับต่อสายที่ประกอบไปด้วยสายพร้อมปลั๊กและมีเต้ารับหลายตัว พร้อมทั้งมีลักษณะของ มอก. เลขที่ 11-2531 นั้น มิได้หมายความว่าเต้ารับได้มาตรฐาน เนื่องจากมาตรฐาน มอก.11 เป็นมาตรฐานเฉพาะสายไฟเท่านั้น มิใช้มาตรฐานของ เต้ารับแต่อย่างใด สำหรับขนาดของสายไฟที่ใช้นี้ต้องไม่ต่ำกว่า 10 ตร.มม - ไม่ควรซื้อตลับสายไฟที่ใช้เต้ารับ 3 รู แต่ใช้สายไฟ 2 สายและเต้าเสียบที่ไม่มีสายดินเพราะไม่มีประโยชน์ใดๆ ด้านความปลอดภัยเนื่องจากไม่มีสายดิน |