กระเบื้องเกลซพอร์ซเลน (Glazed Porcelain) คืออะไร ต่างจากกระเบื้องแกรนิต (Granito) อย่างไร? มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้ ลำดับ คุณสมบัติ กระเบื้องเกลซพอร์ซเลน (Glazed Porcelain) กระเบื้องแกรนิต (Granito) 1 2 3 การเคลือบสี เปอร์เซ็นการดูดซึมน้ำ (% WA) การทนต่อการขัดสี เคลือบสี WA ≤ 0.5 % PEI Class 3 5 *A ไม่เคลือบสี WA ≤ 0.1 % < 140 mm3 *B หมายเหตุ จากตารางด้านบนจะเห็นว่า กระเบื้องเกลซพอร์ซเลน กับ กระเบื้องแกรนิต ต่างกันอยู่ 3 จุด คือ 1. กระเบื้องเกลซพอร์ซเลนมีผิวเคลือบ ส่วนกระเบื้องแกรนิตไม่มีผิวเคลือบ 2. การดูดซึมน้ำของกระเบื้องเกลซพอร์ซเลน ≤ 0.5% ส่วนกระเบื้องแกรนิต ≤ 0.1% 3. การทดสอบความคงทนของการใช้งานของผิวเคลือบ กระเบื้องเกลซพอร์ซเลน ทดสอบโดยใช้ค่าการขัดสีของผิวเคลือบ PEI (การทดสอบความต้านทานต่อการขัดสีของผิวเคลือบกระเบื้อง Surface Abrasion, อ่านรายละเอียดการทดสอบ A) กระเบื้องแกรนิต ทดสอบความคงทนต่อการใช้งานของผิวกระเบื้อง โดยการขัดเนื้อกระเบื้องเพื่อหาปริมาตร การหลุดหายของเนื้อกระเบื้องโดยมีมาตรฐานควบคุม (การทดสอบความต้านทานต่อการขัดสีของกระเบื้องไม่เคลือบ Resistance to Deep Abrasion อ่านรายละเอียดการทดสอบ B) สำหรับการทดสอบทั้ง 2 วิธี ให้อ่านจากรายละเอียดดังนี้ A. ค่า PEI (ย่อมาจาก Porcelains Enamel Institute) ได้จากการทดสอบความต้านทานต่อการขัดสีของผิวเคลือบกระเบื้อง (Surface Abrasion) โดยการนำลูกเหล็กกลมขนาดต่างๆ รวมกันใส่เข้าเครื่อง Abrasion ผสมผงอลูมินาและขัดขูดบนผิวเคลือบไปเรื่อยๆ โดยตั้งจำนวนรอบการขัดสีไปตั้งแต่ 150, 300, 600 ... จนถึงสูงสุด 21,000 รอบ เมื่อเครื่องหมุนครบแต่ละครั้ง ให้หยุดเครื่องและสังเกตดูรอยสึกของสีเคลือบ และกำหนดค่าต่างๆ ดังนี้ ชั้นที่ 0 - กระเบื้องเคลือบสีในชั้นนี้ไม่แนะนำให้ใช้สำหรับปูพื้น ชั้นที่ 1 - ใช้ในพื้นที่ซึ่งมีการสัญจรโดยสวมรองเท้าพื้นนิ่มหรือด้วยเท้าเปล่า โดยไม่มีฝุ่นผงขัดสี ตัวอย่าง เช่น ห้องน้ำและห้องนอนในที่พักอาศัยซึ่งไม่ได้มีทางเข้าโดยตรงจากภายนอก ชั้นที่ 2 - ใช้ในพื้นที่ซึ่งมีการสัญจรโดยสวมรองเท้าพื้นนิ่มหรือรองเท้าปกติและมีฝุ่นผงขัดสีบ้างจำนวนน้อยเป็นครั้งคราว เช่น ห้องต่าง ๆที่ใช้พักอาศัยภายในบ้าน ยกเว้น ห้องครัว โถงทางเข้า และห้องอื่นที่อาจมีการสัญจรมาก ทั้งนี้ไม่รวมรองเท้าประเภทพิเศษ เช่น รองเท้าบู๊ตที่ตอกตะปูไว้ที่ส้นรองเท้า ชั้นที่ 3 - ใช้ในพื้นที่ซึ่งมีการสัญจรบ่อยด้วยรองเท้าปกติและมีฝุ่นผงขัดสีไม่มาก เช่น ห้องครัวภายในบ้านพัก ห้องโถง ระเบียงทางเดิน ระเบียงบ้าน และลานบ้าน ทั้งนี้ไม่รวมถึงรองเท้าประเภทพิเศษ เช่น รองเท้าบู๊ตที่ตอกตะปูไว้ที่ส้นรองเท้า ชั้นที่ 4 - ใช้ในพื้นที่ที่มีการสัญจรเป็นปกติซึ่งมีฝุ่นผงขัดสีจำนวนหนึ่ง ทำให้สภาพค่อนข้างรุนแรงกว่าชั้นที่ 3 ตัวอย่างเช่น ทางเดิน ห้องครัวเชิงพาณิชย์ (ร้านอาหาร) โรงแรม ห้องแสดงนิทรรศการและห้องขายสินค้า เป็นต้น ชั้นที่ 5 - ใช้ในพื้นที่ที่มีการสัญจรพลุกพล่านเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน มีปริมาณฝุ่นขัดสีจำนวนหนึ่ง เป็นสภาพการใช้งานที่รุนแรงที่สุด ซึ่งกระเบื้องปูพื้นชนิดเคลือบสีจะรองรับไดั ตัวอย่าง เช่น พื้นที่สาธารณะ อาทิ ศูนย์การค้า ห้องโถงสนามบิน ห้องโถงโรงแรม ทางเดินสาธารณะและการใช้งานในพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นต้น B. การทดสอบความต้านทานต่อการขัดสีของกระเบื้องไม่เคลือบ (Resistance to Deep Abrasion) เพื่อทดสอบความทนทานต่อการขัดสีของกระเบื้องไม่เคลือบ ใช้ผงอลูมินาโรยผ่านหน้ากระเบื้องแล้วให้แผ่นจานเหล็กขัด โดยกำหนดอัตราส่วนของผงอลูมินา 100 g / 100 รอบ เมื่อหมุนครบ 150 รอบ นำกระเบื้องออกมาวัดรอยแนวอันเกิดจากการสึกกร่อน และคำนวณหาปริมาตร (V) ของหน้ากระเบื้องที่หายไป เนื่องจากกระเบื้องแกรนิตไม่สามารถใช้วิธีทดสอบความต้านทานต่อการขัดสีของผิวเคลือบได้ เพราะเมื่อขัดไปแล้วเราไม่สามารถสังเกตรอยสึกที่เกิดขึ้นบนผิวหน้าได้ชัดเจน จึงต้องใช้วิธีนี้ในการทดสอบแทน |