คุณพิศิษฐ์ โรจนวณิช ผู้ช่วยอุปนายกฝ่ายวิชาการ ของ สมาคมสถาปนิกสยาม ฯ เคยเขียน บทความเรื่องนี้ เอาไว้ชัดเจนมาก ท่านกล่าวไว้ในหัวข้อ "ภูมิหลังน้ำท่วมกับประเทศไทย" ผมจึงขอลอกบทความ ที่ท่านเขียน มาให้อ่านกันดังต่อไปนี้
การที่เราจะแก้ไขในวิกฤติการณ์ในปัจจุบันใด ๆ ที่เป็นการเผชิญหน้ากัน ระหว่างมนุษย์ กับสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ รวมทั้งการเกิดน้ำท่วม จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องสร้างความเข้าใจ ต่อวิกฤติการณ์นั้น จากพื้นฐาน ทางภูมิประเทศ และภูมิอากาศเสียก่อน เขื่อน ทำนบ ฝาย ต่าง ๆ เพื่อป้องกันน้ำท่วม เป็นสิ่งที่มนุษย์ สร้างขึ้น บนพื้นฐานดังกล่าว ซึ่งจะมีผล ในการควบคุมธรรมชาติของน้ำ อย่างไรก็ดี สภาพของภูมิหลัง ยังเป็นสิ่งที่คอยกำกับ ภาพรวมของปรากฎการณ์ ทางธรรมชาติ อยู่ตลอดเวลา หากพลังธรรมชาติ ไม่ได้เป็นไป ในแนวทาง ที่มนุษย์นำร่องเอาไว้ ความเสียหายต่อถิ่นฐาน บ้านช่องของมนุษย์ ย่อมจะเกิดขึ้น อย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้
หากพิจารณาดูพื้นฐานของภูมิประเทศและภูมิอากาศของประเทศไทยอย่างพิเคราะห์ แล้วจะพบว่า น้ำท่วม กับประเทศไทย เป็นของคู่กัน จากข้อมูลน้ำท่วมในปี 2538 นี้ 65 จังหวัดจาก 75 จังหวัด มีปัญหาน้ำท่วม กล่าวโดยสรุป คือเกือบทั้งประเทศ ทั้งนี้เกิดจาก ประเด็นพื้นฐานคือ ลักษณะการตั้ง ถิ่นฐานบ้านช่อง บนพื้นราบลุ่ม ที่เหมาะสม ต่อการเกษตร ในขณะที่ลักษณะภูมิอากาศ ของประเทศไทย มีฝนตกชุกทั่วประเทศ
ยกตัวอย่าง ภาคกลางซึ่งเป็นแบบอย่างของการตั้งถิ่นฐานในสมัยปัจจุบัน ที่ทุกภาค ดำเนินการ ตามภูมิศาสตร์ ของภาคกลาง มีลักษณะที่เด่นชัด แตกต่างกับภาคอื่น ในประการที่มี เครือข่ายของแม่น้ำ ลำคลอง อยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในบริเวณ กรุงเทพมหานคร ภูมิประเทศในสมัยก่อน เป็นที่ลุ่มต่ำ ที่เรียกในพงศาวดารว่า เป็น "ทะเลตม" จนพื้นที่แทบจะใช้ทำอะไรไม่ได้
นอกจากแม่น้ำลำคลองอันมีอยู่มากมาย เรายังเห็นว่า มีสระทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ที่คนขุดขึ้น กระจายอยู่ ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นสิ่งสืบเนื่องจาก การขุดคู และยกร่อง เพื่อเอาชนะธรรมชาติ จนสามารถใช้ที่ดิน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วย่อมจะใช้
ประโยชน์อะไรไม่ได้เพื่อการทำสวนผลไม้และสวนผัก ในภาคกลาง โดยเฉพา ะในท้องที่จังหวัดธนบุรี และนนทบุรี โดยยอมเสียเนื้อที่ ประมาณครึ่งหนึ่ง ไปในการขุดท้องร่อง เพื่อเอาดินขึ้นมายกร่องให้สูง พอแก่การเป็นแปลงเพาะปลูกได้ ทั้งยังใช้น้ำในคูนั้นเองรดพืชผักได้อย่างเหลือเฟือ
ระบบการขุดคูและยกร่องในภาคเกษตรนี้ ได้ถูกนำมาปรับใช้ในการสร้างบ้านแปลงเมืองในศตวรรษที่ 19 เมื่อที่ดิน ในกรุงเทพ ยังหาซื้อได้ในราคาต่ำ โดยการขุดสระขึ้น ในบริเวณที่จะปลูกบ้าน และใช้ดินที่ขุดขึ้นมานั้น ถมที่ดินส่วนที่เหลือ ให้สูงเกินกว่าระดับน้ำท่วมประจำปี หรือประจำคาบเวลา ในฤดูน้ำหลาก สระอันเกิดจากความจำเป็นนี้ ได้กลายเป็นสระประดับบริเวณ ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ทั้งภายนอกและภายในกรุงเทพฯ รวมถึงเขตปริมณฑล ได้แก่บริเวณพระที่นั่ง และพระตำหนักต่าง ๆ ในพระราชวังดุสิต เช่น พระที่นั่งวิมานเมฆ พระตำหนักจิตรลดา สวนสุนันทา ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีพระราชวังบางปะอิน สถาบันแห่งเทคโนโลยีแห่งเอเซีย วชิราวุธวิทยาลับ สวนลุมพินี สวนดุสิต โรงงานยาสูบ (ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์) และวัดปทุมวนาราม กับวังเพชรบูรณ์ ล้วนแล้วแต่ มีสระอันสวยงาม แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า บริเวณสระที่เอ่ยนามบางราย มีอันเป็นไป เพราะถูกถม เพื่อโครงการก่อสร้าง นับได้ว่าเป็น การประสบความล้มเหลว ในการที่จะปรับวางผังเมืองให้สอดคล้อง และเหมาะสม แก่สภาพแวดล้อม อันเต็มไปด้วยแม่น้ำ
ย้อนหลังกลับไปถึงต้นรัชการที่ 4 ปัลเลกัวซ์ได้บันทึกไว้ในทำนองเดียวกันว่า "
.ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า ในโลกนี้ ยังจะมีประเทศใดบ้าง ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ยิ่งไปกว่าประเทศสยามหรือหาไม่
."
ความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวนี้ มีมูลเหตุมาจากที่ตั้งอันเป็นคุณของสยามประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณ รับอิทธิพล จากภูมิอากาศ ของทะเลจีนใต้ โดยจะมีการก่อตัว ของหย่อมความกดอากาศต่ำ (Low pressure cell) ขึ้น แล้วเคลื่อนตัว มาทางตะวันตก พัฒนาสู่ความกดอากาศที่แรงขึ้น เป็นดีเปรสชั่น (Depression) ต่อจากนั้น จึงพัฒนาขึ้น เป็นพายุโซนร้อน (Tropical Storm) ในขณะที่เคลื่อนตัวขึ้น ทำความเสียหายให้แก่ ประเทศเวียตนาม แล้วกลับอ่อนกำลังลง เป็นดีเปรสชั่น นำฝนเข้าสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคกลาง ทะยอยกันเข้ามา เป็นระยะ ๆ จึงทำให้สามารถ เก็บกักน้ำ ไว้ เป็นประโยชน์ เกื้อกูลต่อการเกษตร โดยเฉพาะคือการทำนาข้าว และแผ่ขยาย กลายเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ ของประเทศสืบมาจนบัดนี้
สาเหตุของความเสี่ยงและความเสียหายจากน้ำท่วม ของมวลอาคารบ้านเรือน หากสรุปแก่นจริงแล้ว น่าสรุปได้ไม่ยากว่า
- - เกิดจากการก่อสร้างในบริเวณที่เกิดจากน้ำท่วม
- - น้ำท่วมต้องเกิด เป็นเหตุการณ์ที่ห้ามไม่ได้ แต่ความเสียหายสามารถลดลงได้ โดยการลด ความเสี่ยง ของพื้นที่ สร้างทำนบ กำแพง ทำการปิดล้อม การถมพื้นที่ การยกระดับพื้น และหลีกเลี่ยงการก่อสร้าง ในบริเวณความเสี่ยงสูง
การวางผังเพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วม หมายถึงการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กว้าง มักจะเกิดขึ้น มาจาก ความจำเป็น ทางชลประทาน และหรือ เพื่อการตั้งถิ่นฐาน ของมนุษย์ จะสามารถกระทำได้ ในพื้นที่ กว้างขวางขึ้น เพราะประชากร เพิ่มมากขึ้น ผลก็คือ ก่อให้เกิดความผันแปร ของธรรมชาติ น้ำท่วม ก็อาจ จะเกิดขึ้นได้ โดยมีความถี่ลดลง แต่ความรุนแรงสูงขึ้น เพราะพลังน้ำ ที่สามารถเอาชนะ ระบบชลประทาน ของมนุษย์ ต้องมีมหาศาล จึงจะทำเช่นนั้นได้
การพัฒนาในเขตความเสี่ยงสูงมีค่าใช้จ่าย การพัฒนาในระยะหลัง ๆ จะเป็นการใช้พื้นที่ที่ถูกต้อง เพราะ การพัฒนาที่ดิน และก่อสร้างอาคารที่ สอดคล้องกับความเสี่ยง ของน้ำท่วม เป็นสิ่งที่ดี นำไปสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น
|