|
เรื่องของภาระจำยอม |
ภาระจำยอม เป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่ง และเป็นการตัดทอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น อันทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น (ภารยทรัพย์) ต้องยอมรับภาระบางอย่าง ซึ่งจะกระทบกระเทือนกรรมสิทธิ์ เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ (สามยทรัพย์) เช่นภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเท้า ทางเดินรถยนต์ หรือทางน้ำ ทางระบายน้ำ หรือยอมให้ชายคา หรือหน้าต่างของบุคคลอื่นลุกล้ำเข้ามาในที่ดินของตน รวมถึงภาระจำยอมในเรื่องของสาธารณูปโภคอื่น ๆ เช่นไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์เป็นต้น
สิทธิและหน้าที่ของเจ้าของภารยทรัพย์มีดังนี้คือ 1) ต้องไม่
ประกอบการใด ๆ เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมนั้นลดลงไป 2) เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ หรือในสามยทรัพย์อันเป็นการเพิ่มภาระแก่ ภารยทรัพย์ 3) เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อรักษา และใช้ภาระจำยอมและต้องให้ภารยทรัพย์เสียหายน้อยที่สุด 4) ถ้าความต้องการ
ของเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ ที่จะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์5) เจ้าของภารยทรัพย์อาจจะขอย้ายไปส่วนอื่นก็ได้ แต่การย้ายนั้นต้องไม่ทำให้ความสะดวกแห่งสามยทรัพย์ลดน้อยลงไป 6) ถ้ามีการแบ่งภารยทรัพย์ ภาระจำยอมก็คงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกออกไป แต่ถ้าส่วนใดไม่ใช้ หรือใช้ไม่ได้ เจ้าของส่วนอาจเรียก หรือขอให้พ้นจากภาระจำยอมได้ 7) เมื่อสามยทรัพย์ได้จำหน่ายออกไปภาระจำยอมย่อมติดไปด้วย เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ภาระจำยอมเป็นบทบัญญัติที่ไม่มีการจำกัดระยะเวลาเหมือนทรัพยสิทธิประเภทอื่น ดังนั้นการทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดภาระจำยอมต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ให้ชัดเจน เช่นขนาดความกว้างความยาว การให้ยานพาหนะผ่านได้หรือไม่ หรือการกำหนดว่าให้หมดภาระจำยอม เมื่อมีการโอนสามยทรัพย์ให้บุคคลอื่น
นอกจากนี้ภาระจำยอมอาจเกิดโดยทางนิติกรรม และโดยอายุความทางนิติกรรมจะทำได้โดยการตกลงกันระหว่างเจ้าของที่ดินแปลงที่จะจดเป็นภาระจำยอม และแปลงที่จะได้ประโยชน์จากภาระจำยอม โดยต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนภาระจำยอมที่เกิดจากอายุความ จะเกิดจากการที่ที่ดินแปลงหนึ่งได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอีกแปลงหนึ่งโดยสงบ เปิดเผย และมีเจตนาเพื่อใช้ประโยชน์ของภาระจำยอม ติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ก็จะได้ภาระจำยอมโดยอายุความเช่นกัน
ส่วนเรื่องการสิ้นไปแห่งภาระจำยอม มีดังนี้ 1) ถ้าภารยทรัพย์ หรือสามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดเท่ากับภาระจำยอมจะสิ้นไปโดยอัตโนมัติ 2) เมื่อภารยทรัพย์ หรือสามยทรัพย์ ตกเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เจ้าของสามารถขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมได้ 3) ภาระจำยอมไม่ได้ใช้ 10 ปี ติดต่อกันภาระจำยอมย่อมหมดสิ้นไป 4) ภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ 5) เมื่อภาระจำยอมนั้น ยังประโยชน์ให้แก่สามยทรัพย์นั้น น้อยมากเจ้าของภารยทรัพย์ขอให้พ้นจากภาระจำยอมทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน.
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 18 กุมภาพันธ์ 2556
จำนวนผู้อ่าน : 3464 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|