|
สร้างมาตรฐาน สินค้าเกษตรอินทรีย์ ดึงตลาดโลก |
ปีนี้ กระทรวงเกษตรฯ เร่งขับเคลื่อนพัฒนาเกษตรอินทรีย์ตามแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2551-2554) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความมั่นคงทางอาหาร ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรอินทรีย์ และพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญในระดับภูมิภาค เมทนี สุคนธรักษ์ ผอ.สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า ปีนี้กระทรวงเกษตรฯ มีเป้าหมายให้เกษตรกรขยายพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 200,000 ไร่ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้มีความหลากหลายโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพส่งออก เช่น ข้าวอินทรีย์ ชาอินทรีย์ พืชผัก สมุนไพร ผลไม้เมืองร้อน และกุ้งอินทรีย์ เป็นต้น ขณะเดียวกันยังมีแผนส่งเสริมให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ระบบการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้สินค้าที่ผ่านการรับรองและเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและประเทศคู่ค้า พร้อมเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูปและการตลาด เพื่อให้ได้สินค้าที่มีปริมาณและคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งมีกำลังซื้อสูง อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการสร้างจุดแข็งให้กับสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย มกอช.ได้กำหนด มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ครอบคลุมทั้ง สินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับเกษตรกรและการตรวจรับรอง โดย กระทรวงเกษตรฯ ได้ประกาศใช้มาตรฐานแล้ว 3 เรื่อง คือ 1.มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เล่ม 1 : การผลิต การแปรรูป แสดงฉลาก และจำหน่ายเกษตรอินทรีย์ 2.มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เล่ม 2 : ปศุสัตว์อินทรีย์ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับด้านฟาร์มปศุสัตว์ใช้คู่กับมาตรฐานเล่ม 1 และ 3.มาตรฐานระบบการผลิตเฉพาะสินค้า ได้แก่ การเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์ ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวได้อ้างอิงถึงมาตรฐาน Codex และมาตรฐานของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ส่วนระบบการตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์นั้น มกอช. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรอง ระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมบูรณาการพัฒนาระบบการรับรองในรูปแบบเครือข่าย โดย มกอช. ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body:AB) ให้การรับรองระบบงาน (Accredit) แก่หน่วยรับรอง (Certification Body :CB) ที่ตรวจสอบรับรองมาตรฐานในด้านสินค้าเกษตรและอาหาร ขณะเดียวกันยังได้จัดระบบองค์กรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และในการดำเนินการเพื่อให้มาตรฐานและระบบการรับรองของไทยเป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรป ....ขณะนี้ประเทศไทยได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ขอสมัครขึ้นทะเบียนเป็นประเทศในบัญชีประเทศที่ 3 (Third Country list) ของ EU แล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการเพื่อให้ EU ยอมรับมาตรฐานและระบบรับรองของไทย อาจใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี เนื่องจากต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด เงื่อนไขและกฎระเบียบของ EU เพื่อให้มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยมีความทัดเทียมและสอดคล้องกับข้อบังคับของ EU ด้วย ในอนาคตหากไทยเข้าอยู่ในบัญชีประเทศที่ 3 ได้ คาดว่าไทยจะสามารถส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปยังตลาดกลุ่มยุโรปได้คล่องตัวมากขึ้น โดยใช้ระบบการตรวจรับรองของไทยเอง
ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อการบริโภคทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก นอกจากจะช่วยลดมลพิษและรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตและการจำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีภาพลักษณ์ที่ดีเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยเสริมเสถียรภาพการส่งออกสินค้าเกษตรไทยให้โดดเด่นในตลาดโลก.
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 16 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1431 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|