|
ข้อคิดเพื่อการอยู่อาศัยในอาคารชุดอย่างยั่งยืน |
ปัจจุบันจากการขยายตัวของเศรษฐกิจและความต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองจึงเกิดอาคารชุดพักอาศัยรวมเกิดขึ้นมากมายในเขตเมืองต่าง ๆ ซึ่งการอยู่อาศัยร่วมกันหลากหลายครอบครัวในอาคารเดียว กันนั้น ย่อมต้องการกติกาสังคมร่วมกันเพื่อประโยชน์สุขของคนหมู่มาก ซึ่งการกำหนดกติกาต่าง ๆ นั้น มีข้อปฏิบัติที่ควรคำนึงถึง เป็นข้อแรก ๆ ก็น่าจะมีดังต่อไปนี้ 1. Sense of Belonging คือ เจ้าของร่วมต้องมีความรักและหวงแหนทรัพย์ของอาคารชุด เพราะทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมด เช่น สันทนาการต่าง ๆ พื้นที่จอดรถ อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ประตู ลิฟต์ เป็นต้น ไม่ได้เป็นของบุคคลใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นทรัพย์ของเจ้าของร่วมทุกคน ดังนั้นผู้อาศัยในชุมชนต่างควรใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างระมัดระวัง รักษา เสมือนเป็นสมบัติของท่านเอง เพื่ออรรถประโยชน์การใช้งานให้ยาวนานที่สุด เพราะหากต้องมีการซ่อมบำรุงก่อนกำหนดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นั้น ก็จะกลับไปเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ซึ่งก็จะไปกระทบค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เพิ่มขึ้น และเป็นผลกระทบโดยตรงกับเจ้าของร่วมทุกท่านอย่างแน่นอน 2. Participate คือ เจ้าของร่วมควรเข้าร่วมกิจกรรมของอาคารชุดต่าง ๆ ซึ่งหลายกิจกรรมจะเป็นผลประโยชน์โดยตรงกับเจ้าของร่วมเอง โดยเฉพาะการเข้าประชุมใหญ่อาคารชุดซึ่งจะมีการจัดปีละหนึ่งครั้ง ซึ่งจะต้องมีเจ้าของร่วมหรือเจ้าของห้องชุดมาประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนของห้องชุดทั้งหมด (หากการประชุมใหญ่ครั้งแรกดังกล่าวไม่ครบองค์ประชุมก็สามารถเรียกประชุมใหม่ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน และการประชุมครั้งหลังนี้ไม่จำเป็นต้องครบองค์ประชุม) โดยการประชุมใหญ่อาคารชุดนี้ จะเป็นการกำหนดทิศทางในการบริหารอาคารชุด และรับรู้สถานะต่าง ๆ ของนิติบุคคลอาคารชุด และจะมีการลงคะแนนเสียงเพื่อกิจการต่าง ๆ ภายในนิติบุคคลอาคารชุด เช่น การรับรองบัญชีการเงินค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ, การกำหนดการใช้สาธารณูปโภค, แต่งตั้งผู้จัดการชุมชน เป็นต้น โดยถ้าเจ้าของร่วมไม่เข้าร่วมการประชุมนี้ ก็เหมือนการนอนหลับทับสิทธิของตัวท่านเอง 3. Vote การคัดเลือกคณะกรรมการอาคารชุด ซึ่งจะเข้ามาเป็นตัวแทนของเจ้าของร่วมทุกท่านในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ในการบริหารอาคาร โดยควรคำนึงถึงคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น การไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนในการบริหาร, การมีจิตอาสาและจิตสำนึกที่ดี, เสียสละ, การมีวุฒิภาวะ, เป็นที่ยอมรับในสังคม เพราะการทำงานต่าง ๆ นี้ เสมือนต้องอาศัยความอดทน และการเข้าใจผู้อื่น เพราะการบริหารชุมชนซึ่งมาจากหลากหลายพื้นฐานทางครอบครัว ย่อมมีแนวความคิดที่ไม่เหมือนกันบ้าง และกรรมการอาคารชุดอาจไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายอาคารก็ได้ โดยคณะกรรมการอาคารชุดนี้จะไม่ใช่ผู้เข้าไปดำเนินการในกิจการต่าง ๆ ของอาคารชุดเองโดยตรง หากแต่เป็นผู้กำหนดนโยบายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของชุมชน ซึ่งก็คือผู้จัดการชุมชนไปดำเนินการปฏิบัติ ตามมติของที่ประชุมต่าง ๆ 4. Share การใช้สิทธิต่าง ๆ ของตนเอง และเจ้าของร่วมท่านอื่นอย่างยุติธรรม ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เนื่องจากการอยู่อาศัยร่วมกันที่มีการใช้ทรัพยากรส่วนกลางร่วมกันย่อมมีข้อจำกัดในการใช้บ้าง อาจไม่สะดวกสบายเสมือนเป็นสมบัติส่วนตัว หากแต่เรามีความเข้าใจกันและกัน และรู้จักให้อภัย ก็จะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ หากผู้อาศัยในชุมชนเข้าใจและปฏิบัติตามแนวคิดต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะทำให้ปัญหาในการอยู่ร่วมกันในนิติบุคคลอาคารชุดนั้นน้อยลงไปมาก และหากเกิดปัญหาก็พร้อมใจกันแก้ไขให้ผ่านไปได้ด้วยดี. |
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 18 กุมภาพันธ์ 2556
จำนวนผู้อ่าน : 3238 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|