คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 22/12/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

สารตะกั่วในสีทาอาคาร

decorating idea design เมื่อปี พ.ศ.  2552 ได้มีการรณรงค์ในระดับสากลเพื่อให้ทั่วโลกควบคุมการใช้ตะกั่วในสีตกแต่งและสีทาอาคาร ส่งผลให้ที่ประชุมระหว่างประเทศเรื่องการจัดการสารเคมี ครั้งที่ 2 มีมติร่วมกันให้บรรจุเรื่องตะกั่วในสีเป็นนโยบายเร่งด่วนในยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีระหว่างประเทศ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ยุทธศาสตร์ไซคัม”

และยังมีมติให้นานาประเทศสร้างความร่วมมือระดับโลกเพื่อช่วยกันสร้างความตระหนักเรื่องผลกระทบของตะกั่วในสีที่มีต่อสุขภาพของคนและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น

ให้มีการพัฒนาโครงการป้องกันอันตรายจากตะกั่วในสีโดยหามาตรการหรือสร้างความรู้เพื่อป้องกันสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งยังสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ กำหนดกฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องออกมาบังคับใช้

สำหรับประเทศไทย มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสีเคลือบกึ่งเงา มอก.1005-2533 กำหนดปริมาณตะกั่วให้มีได้ไม่เกินร้อยละ 0.06 หรือ 600 ppm, สีเคลือบด้าน มอก.1406-2540 กำหนดปริมาณตะกั่วให้มีได้ไม่เกินร้อยละ 0.06 หรือ 600 ppm และสีเคลือบเงาอะคริลิกเรซิน มอก.2241-2548 กำหนดปริมาณตะกั่วให้มีได้ไม่เกินร้อยละ 0.01 หรือ 100 ppm แต่มาตรฐานเหล่านี้ก็เป็นเพียงมาตรฐานแบบสมัครใจเท่านั้น

จากการศึกษาวิจัยขององค์กรพัฒนาเอกชนในอินเดียแห่งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2552  ซึ่งได้ทำการเก็บตัวอย่างสีตกแต่งหรือสีทาอาคารที่จำหน่ายในประเทศกำลังพัฒนา 10 ประเทศไปวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่ว พบว่าสีทาอาคารประเภทสีน้ำมันจากประเทศไทยร้อยละ 47 มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานของไทย

และเพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ปริมาณตะกั่วในสีทาอาคารที่ขายทั่วไปในประเทศไทยให้ครอบคลุมมากขึ้น ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศได้ทำการเก็บตัวอย่างสีทาอาคารเพื่อตรวจวัดในปี พ.ศ.  2553 อีกครั้ง

สรุปผลได้ว่า ตัวอย่างสี 31 ตัวอย่างตรวจพบตะกั่วเจือปน 30 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 96.8 โดยมีตัวอย่างสีที่มีตะกั่วเกินค่ามาตรฐาน 26 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 83.9

การศึกษาดังกล่าวมุ่งศึกษาสีน้ำมันที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย โดยทำการเก็บตัวอย่างสีสั่งผสมไปวิเคราะห์ 6 ตัวอย่าง และสีเบอร์ 25 ตัวอย่าง
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มสีสั่งผสมมีสารตะกั่วเจือปนต่ำกว่ามาตรฐาน 5 ตัวอย่าง และมี 1 ตัวอย่างที่ตรวจไม่พบสารตะกั่ว ขณะที่สีเบอร์ตรวจพบว่ามีสารตะกั่วเจือปนสูงกว่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 16,076 ppm

สีที่พบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนในปริมาณสูงเป็นสีเบอร์ที่มีราคาขายเฉลี่ย 143 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นสีที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาดระดับกลางและล่าง ที่เน้นในเรื่องการแข่งขันด้านราคามากกว่าคุณภาพ

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า “ผลการศึกษาวิจัยบ่งชี้ว่า มาตรฐานสมัครใจยังไม่เพียงพอต่อการควบคุมปริมาณสารตะกั่วในสีทาอาคาร รัฐต้องเร่งกำหนดมาตรฐานปริมาณสารตะกั่วในสีทาอาคารให้เป็นมาตรฐานบังคับ และต้องกำหนดให้สีทาอาคารเป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมที่ต้องติดฉลากบอกปริมาณตะกั่วที่เจือปนในสี เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบจากตะกั่วในสี และเลือกใช้สีทาอาคารที่ปลอดภัยจากสารตะกั่ว”

ด้านนายกสมาคมผู้ผลิตสีไทย ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  เพชรรัตน์ เอกแสงกุล กล่าวยืนยันในงานเสวนาวิชาการเรื่อง “ตะกั่วในสีทาอาคาร : ภัยที่ป้องกันได้” ว่า สมาชิกของสมาคม ไม่คัดค้านการเลิกใช้สารตะกั่วผสมในสีทาอาคาร แต่ภาครัฐควรจะมีมาตรการป้องกัน การนำเข้าสีที่มีสารตะกั่วอย่างมีประสิทธิภาพ มิใช่คิดแต่จะห้ามผู้ผลิตภายในประเทศเท่านั้น

“อุตสาหกรรมสี เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับฉลากเขียวมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น  ๆ คือมีมากถึง 119 รายการ เราคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก หากจะมีการยกเลิกการใช้สารตะกั่วในสีทาอาคารเราเองก็ไม่คัดค้าน จริง ๆ แล้วตอนนี้ในท้องตลาดก็มีสีที่เป็นออร์แกนิกขาย ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ได้หากกังวลเรื่องการปนเปื้อนสารตะกั่ว แต่สีออร์แกนิกจะมีราคาสูงกว่าสีทั่ว ๆ ไป เพราะผงสีที่เป็นออร์แกนิกราคาแพงกว่า และต้องใช้ในปริมาณที่มากกว่าผงสีที่มีสารตะกั่วผสม โดยเฉพาะสีเหลืองกับสีส้มที่มีความสามารถในการปิดพื้นผิวต่ำ การที่จะออกมาตรการยกเลิกการใช้สารตะกั่ว รัฐจะต้องหามาตรการมารองรับ เพราะสีทาบ้านถือเป็นสินค้าควบคุม การจะขึ้นราคาได้ต้องได้รับอนุญาตจากกรมการค้าภายใน” เพชรรัตน์  กล่าวสรุป.


 

บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 18 กุมภาพันธ์ 2556
จำนวนผู้อ่าน : 3751 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ซื้อคอนโดมือสองก็ต้องละเอียด (ดู 11566 ครั้ง)
การจัดเก็บค่าส่วนกลางยังเป็นปัญหาเรื้อรัง (ดู 10182 ครั้ง)
ขั้นตอนจดทะเบียนนิติบุคคล (ดู 11279 ครั้ง)
ประกันภัยบ้านต้องทำอะไรบ้าง (ดู 11545 ครั้ง)
คอนโดริมน้ำกำลังเป็นที่นิยม (ดู 10516 ครั้ง)
ใครดีใครร้ายในปีมะเส็ง 56 (ดู 10669 ครั้ง)
ฮวงจุ้ย ทิศหัวเตียงหรือหัวนอน (ดู 13672 ครั้ง)
ข้อดีของการซื้อบ้านจัดสรร (ดู 12225 ครั้ง)
จะซื้อบ้านจัดสรรฟังทางนี้ (ดู 4719 ครั้ง)
เมื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรถึงทางตัน (ดู 4840 ครั้ง)
บ้านไม้สไตล์พรีแฟบ (ดู 5475 ครั้ง)
เลือกบ้านสำเร็จรูปแบบไหนดี (ดู 4901 ครั้ง)
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร (ดู 5048 ครั้ง)
รู้ทันก่อนซื้อประกันภัยบ้าน (ดู 4629 ครั้ง)
จัดตั้งนิติบุคคลฯแล้วจะเป็นอย่างไร (ดู 4334 ครั้ง)
ตรวจสอบเบื้องต้นง่ายๆ หลังแผ่นดินไหว (ดู 4077 ครั้ง)
กฏหมายว่าด้วยรั้วบ้าน (ดู 5133 ครั้ง)
ขั้นตอนจัดตั้งนิติบุคคล บ้านจัดสรร (ดู 5269 ครั้ง)
เตรียมเสนอขยายสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ดู 4150 ครั้ง)
เทรนด์ การซื้อขายบ้านมือสอง (ดู 4481 ครั้ง)
หน้าที่ของผู้ซื้อฯกับนิติบุคคลฯ (ดู 4787 ครั้ง)
สิทธิของเจ้าของห้องชุด (ดู 4702 ครั้ง)
บทบาทเจ้าของร่วมอาคารชุด (ดู 4264 ครั้ง)
ทำไมต้องจ่ายค่าส่วนกลาง (ดู 4997 ครั้ง)
ห้องไม่เรียบร้อย อย่ารับโอน (ดู 4971 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved