|
ภัยจากการดูโทรทัศน์มากเกินไป |
โลกแม้ก้าวไปสู่สังคมสารสนเทศหรืออินเตอร์เน็ต แต่โทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนทุกเพศทุกวัย และด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมที่กระจายไปคู่กับทีวี ยิ่งทำให้ "วัฒนธรรมทีวี" กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชาวโลกไปโดยปริยาย
ปัจจุบันเด็กทั่วโลกต่างเกิด เติบโต และตกอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมทีวีที่ถือเป็นสิ่งแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้ของเด็ก นั่นคือเด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลากับการดูโทรทัศน์โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ประมาณ 3-5 ชั่วโมงต่อวัน และอิทธิพลจากการดูทีวีนี้เองได้นำไปสู่ผลกระทบต่อเด็กทั้งด้านบวก และลบ ซึ่ง น.ส.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีข้อมูลจากการวิจัยของบางประเทศ ได้ชี้ให้เห็นความเสี่ยง และปัญหาอันเกิดจากผลกระทบของสื่อทีวีในหลายๆ เรื่อง อาทิ
-เรื่องเพศ ประเด็น "เปลือยโป๊ โชว์เซ็กซ์" เป็นเนื้อหาที่เด็กต้องเสี่ยงเจออยู่บ่อยครั้ง งานวิจัยจำนวนมากได้ชี้ให้เห็นว่า อิทธิพลของทีวีมีผลต่อการบ่มเพาะค่านิยม และพฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลจากการศึกษาในสหรัฐชี้ว่า วัยรุ่นที่มีความถี่ในการรับสื่อเรื่องเพศสูงในระดับ 90% มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มที่มีความถี่ในการรับสื่อเรื่องเพศต่ำในระดับเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 ถึงสองเท่าตัว ทั้งการรับสื่อที่ยั่วยุทางเพศบ่อยๆ ยังจะส่งผลให้วัยรุ่นพัฒนาความเชื่อ และบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมผิดๆ เกี่ยวกับการแสดงออกทางเพศ -เรื่องความรุนแรง หรือ "โหด มันส์ เหี้ยม" ดูจะเป็นความบันเทิงประจำวันที่อยู่ใกล้ตัวเด็กส่งผลความสัมพันธ์สูงต่อการมีทัศนคติที่ก้าวร้าวต่อผู้อื่นหรือต่อต้านสังคม การเพิกเฉยหรือยอมรับการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา และการเครียดหรือหวาดวิตกต่อการถูกทำร้าย
-เรื่องสุขภาพ ทั้ง "อ้วน-ผอม" เป็นอีกความเสี่ยงที่สอดแทรกมากับโฆษณา การดูโทรทัศน์มากเกินไปยังนำไปสู่การบริโภคเกินความจำเป็น ในสหรัฐพบว่า โดยเฉลี่ยเด็กอเมริกันดูโฆษณามากกว่า 20,000 ชิ้น/ปี 60% เป็นโฆษณาอาหารเสริม ลูกอม อาหารที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต
-เสี่ยงต่อสมองฝ่อ ความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดประการหนึ่งคือผลกระทบของทีวีที่มีต่อ "พัฒนาการทางสมองของเด็ก" เป็นความเสี่ยงที่มักถูกมองข้าม ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมองและพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะกับเด็กเล็กมีผลต่อการเจริญเติบโตพัฒนาการของสมอง กระบวนการเรียนรู้
ขณะที่เด็กที่ไม่ได้ติดโทรทัศน์จะใช้เวลาเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว และพัฒนาทักษะทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เด็กที่ติดโทรทัศน์มากเกินไปกลับจะเป็นเด็กที่มีอารมณ์แปรปรวน ขี้โมโห ค่อนข้างเครียดง่าย
ส่วนประเทศไทย ดูเหมือนเด็กๆ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่มาจากทีวีไม่ต่างจากนานาประเทศ ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เมื่อปี 2546 ระบุว่าเด็กดูโทรทัศน์มากถึงวันละ 3-5 ชั่วโมง คนส่วนใหญ่เห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดูโทรทัศน์ ได้แก่ มีการกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบในเรื่องเซ็กซ์ และความรุนแรง ชีวิตถูกบ่มเพาะด้วยความฟุ่มเฟือย โดยโฆษณาทีวีจะเป็นตัวกระตุ้นการใช้จ่าย
แม้ความรู้เกี่ยวกับอิทธิพล และผลกระทบของทีวีที่มีต่อเด็กๆ ได้ชี้ให้เห็นความเสี่ยงและ "ภัยเงียบ" ของทีวีที่มาในหลายลักษณะ กระนั้นท่ามกลางความเสี่ยงที่เด็กต้องเผชิญ การปิดทีวีในยุคที่เด็กถูกโอบล้อมด้วยวัฒนธรรมทีวีคงมิใช่เรื่องง่าย ที่สำคัญแม้ทีวีจะอาจเป็นสื่อที่ซ่อนภัยร้าย แต่อีกทางหนึ่งหากปฏิวัติวัฒนธรรมทีวีเสียใหม่ให้สร้างสรรค์ ก็สามารถสร้างคุณประโยชน์ต่อการเรียนรู้เด็กได้ไม่น้อย
อยู่ที่ว่า ให้ความสำคัญจะปกป้องเด็กๆ จากทีวีด้วยมาตรการหลายรูปแบบ ทั้งในแง่การมีนโยบายเกี่ยวกับการดูแลกำกับสื่อโทรทัศน์หรือทีวีสำหรับเด็กๆ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกามีกฏหมายของรัฐบาลกลางว่าด้วยการสื่อสารแห่งชาติ ค.ศ.1996 ได้ระบุเอาไว้ว่าหลังจากกฎหมายฉบับนี้มีผลครบสองปีแล้ว ให้มีการผลิตเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า V-chip เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของพ่อแม่ในการควบคุมว่า จะตัดรายการโทรทัศน์ใดจากการเข้าถึงของเด็กๆ
ในสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา ต่างมีระบบ Rating ใช้กำหนดมาตรฐานเนื้อหารายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก บวกมาตรการอื่นๆ ในการดูแล
ในบ้านเรา นับว่ามีกระแสเคลื่อนไหวที่หลายฝ่ายหันมาใส่ใจเรื่องสื่อทีวีเพื่อเด็กๆ เรียกร้องให้รัฐเข้ามาจัดการ ทำให้โทรทัศน์เป็นสื่อการศึกษาที่ดี สร้างสรรค์ การผลักดันให้มี "นโยบายสื่อเพื่อเด็ก" ตั้งแต่จัดผังเวลาให้กับรายการเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริม และรณรงค์ครอบครัว ชุมชน หรือผู้ชมมีการจัดตั้งองค์กรเข้ามาดูแลรายการโทรทัศน์ มีสิทธิมีเสียงที่จะเสนอ หรือประเมินคุณภาพรายการ โดยเฉพาะสื่อเพื่อเด็กในมิติวัฒนธรรม การเคลื่อนไหวและรวมพลังของทุกฝ่าย อาจเป็นวิธีที่สำคัญจะทำให้ลูกหลานได้บริโภคสื่อดีๆ ได้มากขึ้น และลดความเสี่ยงกับสิ่งไม่พึงประสงค์ที่มาพร้อมกับรายการทีวีที่เด็กดู
พลังนี้จะมีมากหรือเข้มแข็งเพียงใด ก็คงต้องหันกลับมาถามพวกเราที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคนในวันนี้ว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่การสร้างวัฒนธรรมทีวียุคใหม่ที่ไม่ครอบงำเด็กอย่างที่ผ่านมา หากแต่เป็นวัฒนธรรมการสื่อสาร ศึกษาและเรียนรู้ เพื่ออนาคตเด็กและอนาคตสังคมไทย
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 24 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 3890 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|