|
เซงตะโลง มะม่วงดีของพม่า |
เมื่อพูดถึงความเก่าแก่ของการปลูกมะม่วงในโลกแล้ว อินเดีย นับเป็นประเทศที่มีประวัติความเป็นมาในการปลูกมะม่วงมานานกว่า 4,000 ปี ปัจจุบันมีข้อมูลทางวิชาการที่เขียนโดย คุณสุรชา สิทธิชัย ในงานประชุมมะม่วงโลกที่ประเทศบราซิล รายงานว่าปัจจุบันอินเดียยังเป็นประเทศที่มีพื้นที่ปลูกมะม่วงมากที่สุดในโลกคือมากกว่า 8 ล้านไร่ ให้ผลผลิตแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 11 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของผลผลิตมะม่วงทั่วโลก สำหรับสายพันธุ์มะม่วงของประเทศอินเดียที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในขณะนี้คือพันธุ์ อัลฟอนโซ คนญี่ปุ่นนิยมบริโภคมะม่วงอินเดียสายพันธุ์นี้กันมากในรูปแบบของน้ำมะม่วงเนื่องจากมีกลิ่นหอมพิเศษ สำหรับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาการปลูกมะม่วงมาอย่างต่อเนื่องทั้งเรื่องสายพันธุ์และการจัดการ ดูแลรักษา จากที่ปลูกและผลิตขายบริโภคกันในประเทศ คนไทยส่วนใหญ่ในอดีตมักจะคุ้นเคยบริโภคมะม่วงกินดิบ อาทิ เขียวเสวย แรด ฟ้าลั่น เจ้าคุณทิพย์ ฯลฯ ในกลุ่มมะม่วงกินสุกจะรู้จักเฉพาะพันธุ์อกร่อง มาถึงทุกวันนี้มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ของไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกโดยน้ำดอกไม้สีทองที่มีการส่งออกไปยังหลายประเทศโดยเฉพาะที่ญี่ปุ่น นอกจากประเทศไทยแล้วพม่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีพื้นที่ปลูกมะม่วงมากพอสมควร ผู้เขียนได้มีโอกาสไปประเทศพม่าเมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่ ผลผลิตมะม่วงของพม่าเริ่มออกสู่ตลาดพอดีซึ่ง ตรงกับมะม่วงปีในบ้านเรา ถ้าใครได้ไปเที่ยวยังประเทศพม่าจะได้ เห็นความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนพม่าและผลไม้ที่มักจะพบเห็นอยู่มากคือ กล้วยและมะพร้าว เพราะเป็นผลไม้ที่คนพม่านิยมซื้อมาบูชาเทพ และกล้วยที่คนพม่านิยมบริโภคมากที่สุดคือกล้วยหักมุก (กล้วยหักมุก คนพม่าเรียกว่า พีจาง) สำหรับมะม่วงพม่ามีหลายสายพันธุ์คล้ายกับมะม่วงไทย อย่างเช่น มะม่วงพันธุ์หยิ่งกแว ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า อกแยก มีลักษณะรูปทรงผลคล้ายมะม่วงอกร่องแต่รสชาติสู้ไม่ได้ ในขณะเดียวกันพม่ามีพันธุ์มะม่วงที่มีชื่อเสียงและรสชาติดีอยู่สายพันธุ์หนึ่งที่มีชื่อว่าพันธุ์ เซงตะโลง ในช่วงที่ประเทศอินเดียปกครองประเทศพม่าจะเรียกมะม่วงสายพันธุ์นี้ว่า เซนทาโล ผู้เขียนได้ทดลองรับประทานมะม่วงพันธุ์เซงตะโลง จัดเป็นมะม่วงกินสุกที่รสชาติอร่อยพอใช้ได้ ผลไม่ใหญ่นักขนาดเท่ากับมะม่วงอกร่องและมีเนื้อละเอียดรสชาติใกล้เคียงมะม่วงแก้วผสมมะม่วงอกร่อง และเป็นมะม่วงที่มีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากในแถบเมืองมัณฑะเลย์ การผลิตและการตลาดของมะม่วงในประเทศพม่าส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ยังไม่มีการผลิตเพื่อการส่งออกและเทคโนโลยีในการผลิตมะม่วงนอกฤดูยังตามหลังประเทศไทย. |
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 16 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1720 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|