|
หนี้ค่าส่วนกลางคอนโดฯ |
ปัจจุบันการพักอาศัยในคอนโดมิเนียมกำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะในเมือง ทำให้ต้องมีการก่อสร้างอาคารสูงคอนโดฯ ขึ้นมารองรับความต้องการ ผลที่ตามมาคือมีหลากหลายปัญหา อันสืบเนื่องมาจากชุมชนขนาดใหญ่ที่มีหลายร้อยครอบครัวเข้ามาพักอาศัยภายในอาคารหลังเดียวกัน
จากแนวคิดที่ว่า ผู้อยู่อาศัยในคอนโดฯ เดียวกันต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ร่วมกัน ตามสัดส่วนของการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางนั้น ซึ่งแต่เดิมเจ้าของโครงการจะเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเกิดขึ้นสถานะของผู้ซื้อก็จะเปลี่ยนเป็นเจ้าของร่วม ตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ ทันที
สิทธิหน้าที่ต่าง ๆ ของเจ้าของร่วมจึงเกิดขึ้น ตามมาตรา 18 พ.ร.บ.อาคารชุดนั้น กำหนดเรื่องของค่าส่วนกลาง (ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการอาคารชุด) ไว้ว่าเจ้าของร่วมทุกคนมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค้างไม่ได้ ถ้าค้างชำระขึ้นมาจะมีผลให้ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้น ๆ ให้แก่บุคคลอื่นต่อไปได้ การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจะต้องมีหนังสือยืนยันปลอดภาระหนี้ค่าส่วนกลาง ซึ่งออกโดยผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมาประกอบเสมอ
ส่วนการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายส่วนกลางนั้น นิติบุคคลอาคารชุดจะเป็นผู้กำหนดโดยการออกข้อบังคับ (ซึ่งจะต้องเป็นการตกลงร่วมระหว่างเจ้าของร่วม หรือสมาชิกในคอนโดฯ นั้น ๆ) และข้อบังคับนั้นต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติของ พ.ร.บ.อาคารชุดฯ ด้วยนะครับ
ปัญหาหนี้ค่าส่วนกลางไม่ได้จำกัดวงแค่มีการค้างชำระเท่านั้น เนื่องจากการพักอาศัยในคอนโดฯ ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมเมืองไทย และมีการออกฎหมายมารองรับหลายฉบับ แต่การบังคับใช้ยังสับสนอยู่บ้าง
การเรียกเก็บค่าปรับเมื่อมีการค้างชำระเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2551 ใช้คำว่า เงินเพิ่ม นั้นมีการกำหนดเพดานที่จะเรียกเก็บไว้อย่างชัดเจน เป็นต้น
ปัญหาเรื่องของผู้จัดการและนิติบุคคลอาคารชุดนั้นตาม พ.ร.บ.อาคารชุด กำหนดให้เมื่อมีการแต่งตั้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว จะต้องดำเนินการจัดให้มีการประชุมสามัญ หรือวิสามัญครั้งแรกภายใน 6 เดือน เพื่อรับรองผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด (รับรองข้อบังคับ และแต่งตั้งคณะกรรมการของอาคารชุด)
ส่วนกรณีมีการขายทอดตลาดห้องชุดที่มีการค้างชำระค่าส่วนกลางนั้น ปัจจุบันนิติบุคคลอาคารชุดจะแจ้งข้อมูลรายชื่อและรายการค้างชำระไปยังสำนักงานที่ดิน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด และถือว่านิติบุคคลอาคารชุดมีสถานะเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่ง แต่เป็นเจ้าหนี้ประเภท เจ้าหนี้เหนือเจ้าหนี้จำนอง หมายความว่าเมื่อมีการขายทอดตลาดห้องชุด แม้ว่าห้องชุดนั้นจะติดจำนองอยู่ก็ตาม เงินที่ได้จากการขายจะนำมาเฉลี่ยหนี้ แต่ทางนิติบุคคลอาคารชุดนั้นจะได้รับการชำระเป็นรายแรก ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ รวมถึงก่อนเจ้าหนี้จำนองด้วยนะครับ.
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 18 กุมภาพันธ์ 2556
จำนวนผู้อ่าน : 3417 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|