|
ลดหลอดไส้ ลดความร้อน |
โทมัส อัลวา เอดิสัน นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นผลิตหลอดไฟฟ้าเมื่อ 128 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีของเขามนุษยชาติยังใช้งานกันอยู่ทั่วไปจวบจนปัจจุบัน หลอดไฟที่โทมัส อัลวา เอดิสันคิดค้นนั้นเราเรียกกันง่าย ๆ ว่า หลอดไส้ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า หลอดอินแคนเดสเซนต์ ส่วนหลอดไฟอื่น ๆ ที่เราพบเห็นกันอยู่ทั่วไป อีก 2 ชนิด ได้แก่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า หลอดนีออน ส่วนหลอดไฟอีกชนิดคือ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หรือรู้จักกันในชื่อ หลอดตะเกียบประหยัดไฟ หลอดชนิดนี้ถูกคิดค้นโดยวิศวกรชาวเนเธอร์แลนด์ ที่นำหลอดนีออนยาว ๆ มาคดให้โค้งงอเพื่อที่จะเสียบกับขั้วไฟได้เหมือนกับหลอดไส้ เพราะเห็นว่าหลอดไส้นั้นกินไฟ สิ้นเปลืองพลังงาน ปัจจุบันปริมาณการใช้หลอดไฟฟ้าแสงสว่างในประเทศไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 200 ล้านหลอด แบ่งเป็นหลอดนีออนมากที่สุด 155 ล้านหลอด , หลอดตะเกียบ 15 ล้านหลอด และหลอดไส้ 30 ล้านหลอด จากปริมาณการใช้หลอดไส้ 30 ล้านหลอดนี้ ทำให้เราสร้างภาระในการผลิตไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 330 ล้านหน่วยต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึงปีละ 1,000 ล้านบาท หากเราเปิดใช้หลอดไส้ 1 ชั่วโมง ต้องเสียค่าไฟฟ้าเป็นเงิน 3 บาท เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับการใช้หลอดตะเกียบที่ค่าไฟ 3 บาทเท่ากัน เราสามารถใช้งานได้นานถึง 12 ชั่วโมง ยิ่งเมื่อเทียบความคุ้มค่าแล้ว หลอดไส้มีอายุการใช้งานเพียง 1,000 ชั่วโมง ขณะที่หลอดตะเกียบมีอายุการใช้งานนานถึง 6,000 ชั่วโมง และหากเทียบการใช้พลังงานกันระหว่างหลอดไส้กับหลอดตะเกียบ หลอดไส้มีประสิทธิภาพต่ำกว่าหลอดตะเกียบถึง 5 เท่า และให้แสงสว่างเพียง 10 % เพราะไฟฟ้าที่ป้อนให้หลอดไส้จะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนกว่าร้อยละ 90 โลกร้อนมากขึ้นเพราะอะไร ? นักวิทยาศาสตร์ก็มักตอบว่า เกิดจาก ภาวะเรือนกระจก และภาวะเรือนกระจกนี้ก็เกิดจาก มนุษย์เราที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกเอาไว้ รัฐบาลหลาย ๆ ประเทศให้ความสำคัญกับปัญหานี้ เช่น ในประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลประกาศกฎหมายโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมของเขาห้ามใช้หลอดไส้ แม้ประเทศของเค้าจะไม่มีปัญหาเรื่องพลังงานเพราะมีถ่านหินจำนวนมากแต่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หรือในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกามีการประกาศใช้กฎหมายห้ามขายหลอดไส้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 แล้วลองกลับมานึกถึงบ้านเรากันบ้าง เรามีหลอดไส้ใช้งานอยู่ประมาณ 30 ล้านหลอด ความร้อนจากการเปิดใช้หลอดไส้ 1 ชั่วโมงนั้นเราสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุทำให้โลกร้อนมากถึง ? กิโลกรัม หากนำมาเทียบกับปริมาณหลอดไส้ 30 ล้านหลอดในปัจจุบันแล้วเราจะสร้างปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญในการทำให้โลกร้อนมากมายขนาดไหนกัน การเปลี่ยนจากหลอดไส้มาใช้หลอดตะเกียบไม่เพียงทำให้เราช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในความพยายามช่วยโลกเย็นลงอีกด้วย และยังช่วยประเทศของเราประหยัดงบประมาณที่ต้องเสียไปกับการซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ประเทศลาว หรือ ประเทศจีน ช่วยลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพราะการผลิตไฟฟ้านั้นต้องใช้เชื้อเพลิงอย่างน้ำมันซึ่งก็ต้องใช้เงินตราในการนำเข้าเช่นเดียวกัน ปริมาณการใช้หลอดตะเกียบในประเทศไทยนั้นมีเพียงครึ่งเดียวของหลอดไส้ เพราะหลายคนมองว่าราคาของหลอดตะเกียบนั้นแพงกว่าหลอดไส้มาก ประมาณหลอดละ 120 บาท ในขณะที่หลอดไส้ราคาอยู่ที่ 12 15 บาท แต่หากเราพิจารณาถึงความคุ้มค่าหลาย ๆ ประการแล้วหลอดตะเกียบน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและคุ้มค่ากว่าการใช้หลอดไส้ ยิ่งมีข่าวว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีโครงการร่วมกับบริษัทเอกชนที่จะผลิตหลอดตะเกียบที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และฉลากเบอร์ 5 ในราคาเพียง 50 55 บาท โดยจะเริ่มวางขายตามร้านสะดวกซื้อและห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในเดือนนี้ (สิงหาคม)แล้ว ปัจจัยเรื่องราคาก็น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ต้องลังเลใจอีกต่อไป |
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 13 ตุลาคม 2550
จำนวนผู้อ่าน : 7774 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|