ชื่อพื้นเมือง มะคังขาว มอกน้ำข้าว มะข้าว มะคัง ลุบปุ๊ก ลุมพุก กระลำพุก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamiladia uliginosa (Retz.) Triveng & Sastre
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
นิเวศวิทยา และการกระจายพันธุ์
ในประเทศ พบขึ้นกระจายตามป่าเบญจพรรณบริเวณใกล้น้ำที่ความสูง 100-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในต่างประเทศ พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม ลักษณะ ทั่วไป ต้นไม้ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มสูง 5-10 เมตร ผลัดใบ ตามต้นมีหนามแหลมยาว กิ่งยาวเป็นรยางค์และมักจะมีหนามออกตรงข้ามเป็นคู่ ๆ เปลือกนอกสีน้ำตาลแดง หรือสีดำคล้ำ เป็นปมขรุขระทั่วไป เปลือกในสีส้มอมเหลือง ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่สลับทิศทางและอยู่ชิดกัน่ตามบริเวณปลายกิ่ง เนื้อใบบาง เกลี้ยง มีหูใบ ใบรูปไข่กลับปลายมน โคนใบสอบเข้า เส้นแขนงใบโค้งจดปลายเส้นถัดไปสานสกันเป็นร่างแห แตกออกแบบเรียงสลับ ข้างละ 5-8 เส้น ก้านใบสั้น 0.5 มม. ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ เมื่อบานมีขนาด 3-4.5 ซม. ก้านดอกยาว 1.5-3 ซม. กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม กลีบรองกลีบดอกสีเขียวรูปถ้วย เกสรผู้ติดกับกลีบดอก 5 อัน เกสรเมียอยู่กลางดอก ผล ทรงกลม ผิวเรียบ ที่ปลายยังคงมีกลีบรองดอกติดอยู่ขนาดกว้าง 2.5 ซม. ยาว 6 ซม. เมื่อแก่สุกเป็นสีเหลือง ก้านผลยาว 0.6-1 ซม. เมล็ดสีเขียวใส ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล ออกดอก ก.ค.-ส.ค. ผลแก่ ก.ย.-ต.ค. การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด
การใช้ประโยชน์ ด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ทำด้ามเครื่องมือต่าง ๆ ทำกระสวย ใช้สำหรับกลึง และแกะสลักได้ดี ด้านสมุนไพร สรรพคุณ ราก ใช้รักษาโรคบิด ผล ใช้รักษาโรคบิด แก่นไม้ ต้มรวมกับมะคังแดง บำรุงกำลัง ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ สารเคมี olean-12-en-28-oic acid,( -L-arabinopyranosyl(1-3)-)-( -D-galactopyranosyl (1-6))-( -D-galactopyranosyl (1-3))-3-( -hydroxy : methyl ester; olean-12-en-28-oic acid, ( -arabinopyranosyl (1-3))-( -D-galactopyranosyl(1-4))-( -D-glucuronopynosyl (1-3)) -3-(-hydroxy: ; olean-12-en-28-oic acid, 3-( -hydroxy; methylester)) ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ไม่มีรายงานการวิจัย
|