นักวิทยาศาสตร์องค์การนาซ่า USA ได้ทำการทดลองปรับคุณภาพอากาศในยานอวกาศ พบว่าต้นไม้ทำหน้าที่ฟอกอากาศได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะคุณสมบัติในการขจัดมลภาวะจากสารเคมีพิษที่อยู่ในอากาศ ต้นไม้ต่างชนิด ก็จะดูดสารพิษที่ต่างกันด้วย ถึงเวลาแล้วที่ขอนำเสนอ 31 ไม้ประดับที่สามารถใช้ในการดูดสารพิษได้ หมากเหลือง (Yellow Palm) หมากเหลือง เป็นไม้ประดับภายในอาคารตระก๔ลปาล์ม ที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากรูปฟอร์มที่สวยงาม และมีความทนต่อสภาพแวดล้อมในอาคารได้ หมากเหลือง สามารถคายความชื้นให้อากาศได้มาก จะคายน้ำทุกๆ 1 ลิตรในทุกๆ 24 ชม. พร้อมกับดูดสารพิษในอากาศได้มากเช่นกัน ที่เรียกว่าหมากเหลือง เพราะใบมีสีเขียวอมเหลือง อัตราการคายความชื้น อัตราการดูดสารพิษ จั๋ง (Lady Palm) จั๋ง เป็นพืชตระกูลปาล์มอีนิดที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั้งในและนอกอาคาร ลักษณะเป็นพุ่มกอ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันแยกเป็นแฉกๆเ ติบโตช้า เลี้ยงง่ายทนแล้งได้ดี สามารถทนขาดน้ำได้หลายวัน และต้องการแสงแดดปานกลาง อัตราการคายความชื้น อัตราการดูดสารพิษ ปาล์มไผ่ ( Bamboo Palm) ปาล์มไผ่ เป็นพืชตระกูลปาล์มที่มีหน่อแตกเป็นกอ ลำต้นมีขนาดเล็กมีข้อปล้องสีเขียวเห็นได้ชัดเจนคล้ายต้นทั้งลำต้นและใบ ปาล์มไผ่เจริญเติบโตช้า ไม่ต้องการแสงแดดมากปลูกได้ในที่แดดรำไรเพียงครึ่งวัน แต่ต้องการน้ำพอสมควร ถ้าปลูกในอาคาร ควรรดน้ำสัปดาห์ละครั้ง ปาล์มไผ่นี้มีความสามารถในการคายความชื้นสูง และดูดสารพิษจำพวกเบนซิน ไตรคลอไรเอททาริน ฟอร์มาดิไฮด์ ได้ดี อัตราการคายความชื้น อัตราการดูดสารพิษ ยางอินเดีย (Rubber Plan) ยางอินเดีย เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ถ้าปลูกลงดินกลางแจ้งสามารถสูงได้กว่า 30 เมตร ยางอินเดียชอบแสงแดดจัดกลางแจ้ง แต่ก็สามารถเติบโตได้ในสภาพแสงน้อยเช่นภายในอาคาร มีลักษณะเด่นที่ใบหนา ค่อนข้างมนและมีคุณสมบัติในการดูดสารพิษได้เป็นอย่างดี การดูแลรักษาภายในอาคารให้น้ำเพียงสัปดาห์ละครั้ง ไม่ชอบดินแฉะ หมั่นเช็ดใบให้เป็นมันวาว เพื่อประสิทธิภาพในการดูดสารพิษ อัตราการคายความชื้น อัตราการดูดสารพิษ ไอวี่ (Ivy) ไอวี่ เป็นไม้เถาเลื้อยคลุมดินประดับ นิยมปลูกในกระถางภายในอาคาร ไอวี่ชอบแดดกึ่งแดด-กึ่งร่ม น้ำปานกลาง ควรรดน้ำทุกวันหากอยู่ภายนอกอาคาร แต่ภายในอาคาร 2 วันครั้ง และหมั่นฉีดละอองน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่ใบเมื่ออากาศแห้ง ไอวี่เด่นตรงที่ สามารถดูดสารพิษจำพวกเบนซีนได้ถึง 90% และคายความชื้นให้ได้สูง อัตราการคายความชื้น อัตราการดูดสารพิษ สิบสองปันนา (Dwarf date Palm) สิบสองปันนา ไม้ตระกูลปาล์มอีกแล้วครับท่าน ที่เด่นด้วยมีลำต้นเดียว ไม่เป็นกอเป็นพุ่มเหมือนต้นอื่นๆที่ผ่านมา สูงไม่เกิน 2 เมตร สิบสองปันนา เป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดดจัดตลอดวัน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แต่ก็ยังเติบโตได้ดีในที่แสงแดดน้อย จึงใช้เป็นไม้ประดับในอาคารได้ สิบสองปันนานี้ มีความสามารถในการดูดสารพิษชนิดไซรีนได้ดี และคายความชื้นได้ดี อัตราการคายความชื้น อัตราการดูดสารพิษ ไทรใบเล็ก ( Ficus Alii) ไทรใบเล็ก เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับยางอินเดียว ต่างกันที่ลักษณะของใบที่เรียวเล็กปลายแหลม ขอบใบเรียบและใบเป็นมันเงา ไทรใบเล็กชอบแดดจัด หากปลูกในอาคารให้วางในตำแหน่งที่แสงแดดส่องถึงจะเติบโตได้ดี ไม่ต้องการน้ำมาก ไม่ชอบน้ำขัง รดน้ำเพียงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเพียงพอ อัตราการคายความชื้น อัตราการดูดสารพิษ บอสตันเฟิร์น ( Boston Fern) บอสตันเฟิร์น เป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ ที่ใบแข็งยาว ก้านใบแข็งและโค้งออก ชอบแสงรำไรกึ่งแดดกึ่งร่ม และต้องการความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าขาดน้ำใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและร่วงอย่างรวดเร็ว ต้องรดน้ำวันเว้นวันหากปลูกในอาคาร และพ่นด้วยละอองน้ำเพิ่มความชุมชื่นแก่ใบ สามารถในการดูดสารพิษฟอร์มัลดิไฮด์ได้ดี อัตราการคายความชื้น อัตราการดูดสารพิษ เดหลี ( Peace Lily) เดหลี เป็นไม้ประดับที่นิยมจัดแจ่งสวนของบ้าน โดยเฉพาะสวนแบบบาหลี หรือสวนป่า เดหลีเด่นด้วยใบเขียวเข้มมีความมัน และดอกที่ออกตลอดปีสีขาวสวยงาม แต่ไม่มีกลิ่น ชอบแดดรำไรเพียงครึ่งวัน ชอบน้ำปานกลาง รดน้ำวันเว้นวันถ้าปลูกในอาคาร และหมั่นให้ความชุ่มชื้นโดยการฉีดละอองน้ำที่ใบ เดหลียังเด่นในการดูดสารพิษจำพวกแอลกอฮอล์ อาซีโตน ไตรคลอไร เอทธิรีน เบนซีนและ ฟอร์มัลดิไฮด์ได้ดีอีกด้วย
อัตราการคายความชื้น อัตราการดูดสารพิษ วาสนาอธิษฐาน (Cornstalk Plant) วาสนาอธิษฐาน เป็นไม้ประดับที่นิยมนำมาปลูกภายในอาคาร เพราะรูปทรงต้นที่ตัดแต่งได้ง่าย เพราะลำต้นตรง และใบใหญ่มีพาดสีเหลืองกลางใบ ตัดกับเขียวเข้ม ใบจึงดูสวยงาม ต้องรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ แต่อย่าให้แฉะ สามารถเติบโตได้ดีแม้ที่ที่แสงแดดน้อย และยังเด่นที่สามารถดูดสารพิษฟอร์มัลดิไฮด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อัตราการคายความชื้น อัตราการดูดสารพิษ |