|
เฟิน...ไม้งามอมตะ |
เฟิน...ไม้งามอมตะ
กระแต ไต่ไม้..กีบม้าลม..กูดดอย..เขากวางใบตั้ง...ข้าหลวงหลังลาย...ชายผ้าสีดา... ผักแว่น...ย่านลิเภา...นาคราช...เรค คราวน์...สลีปปิ้ง บิวตี้...ชื่อคุ้นหูเหล่านี้ ถ้าไม่ใช่นักเลงต้นไม้อาจไม่ทราบว่าแท้ที่จริงแล้วทั้งหมดเป็นพันธุ์ไม้ "ชนิด" เดียวกัน ความงามที่หลากหลาย
เฟิน เป็นไม้ดึกดำบรรพ์ เป็นพืชบกชนิดแรกที่วิวัฒนาการมาจากสาหร่ายน้ำเค็มในยุคต้น ๆ เฟินเป็นไม้ไม่มีดอก ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงจัดให้เฟินเป็น พืชชั้นต่ำ เช่นเดียวกับสาหร่าย หรือตะไคร่น้ำ แต่เฟินเป็นพืชที่มีพัฒนาการสูงพอใช้ เนื่องจากมีทั้งลำต้น ใบและราก ตลอดจนท่อน้ำ ท่ออาหาร
เฟิน มีมากมายหลายร้อยชนิดทั้งพันธุ์ที่ใหญ่ขนาดคนเดินลอดใต้ต้นได้ จนถึงขนาดที่ต้องเพ่งมอง ขนาดของใบก็มีตั้งแต่ใบใหญ่เป็นเมตรจนถึงเล็กกว่าปลายนิ้วก้อย
แต่ สิ่งที่มีเหมือนกันแทบทุกชนิด คือความงามของใบที่สร้างเสน่ห์ให้แก่เฟิน ซึ่งมีความหลากหลายในรูปแบบ โดยเฉพาะ เฟินก้านดำ ซึ่งมีความละเอียด พลิ้วไหว สร้างความประทับใจให้แก่ผู้พบเห็น สร้างบรรยากาศแห่งความชุมชื้นและลดความแข็งกระด้างขององค์ประกอบอื่น ๆ ในสวน
ปัจจัย ที่ทำให้เฟินเจริญเติบโตมีสุขภาพดี ก็คงเป็นเรื่องอุณหภูมิที่พอเหมาะ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับถิ่นกำเนินของเฟิน สำหรับเฟินในประเทศไทยจัดเป็นเฟินเขตกึ่งร้อน ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในอุณหภูมิช่วง 19-27 องศาเซสเซียส ในเวลากลางวัน และ 15-23 องศาเซลเซียส ในเวลากลางคืน
แสงสว่าง สำหรับ เฟิน ต้องการแสงรำไรประมาณ 40 % หรือแสงที่กรองแล้วผ่านระแนง หรือซาเรน (ตาข่ายพลาสติกถัก) หรืออยู่ใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ เพราะแสงแดดมีอิทธิพลต่อความชื้น การคายน้ำ การระเหยของน้ำจากใบ
ความชื้น มีผลต่อการเติบโตของเฟินมาก เพราะเฟินเป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการความชื้นสูง สำหรับการปลูกเฟินในกระถางและนำมาไว้ในอาคารควรมีจานรองและมีกรวดก้นจานรอง ใส่น้ำพอปริ่มก้อนกรวด แล้ววางกระถางบนกรวด ก็จะช่วยให้ความชื้นแก่เฟินได้ การรดน้ำ ควรรด 2 ครั้งต่อวัน ยกเว้นหน้าหนาวและหน้าฝน ซึ่งสามารถเว้นระยะการให้น้ำได้
ทั้ง นี้ ต้องระวังอย่าให้เฟินแช่น้ำโดยตรง ดินปลูกเฟินควรเป็นดินโปร่งที่เก็บความชื้นได้ดี มีการระบายน้ำที่ดี สามารถเก็บอาหารของพืชไว้แล้วค่อย ๆ สลายให้อาหารมาเลี้ยงต้นเฟินในสัดส่วนที่พอเหมาะ ประโยชน์ของเฟินในแง่ของไม้ประดับ ใช้ได้ทั้งลงดินแต่งสวน เกาะต้นไม้ และเป็นไม้กระถางภายใน
อาหารและสมุนไพร ชาวชนบทหลายจังหวัดใช้ผักกูด ซึ่งเป็นเฟินชนิดหนึ่งเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กูดเกี๊ยะ เป็นเฟินขึ้นอยู่บนเขา มีหน่ออ่อนและยอดอวบสีเขียว เป็นสินค้าที่ต้องการของประเทศญี่ปุ่น กูดดอย ก็เป็นเฟินที่นิยมนำมารับประทานเช่นกัน
ใบ เฟินแห้งก็นำมาย้อม กัดสี ใช้เป็นวัสดุตกแต่ง จัดแจกัน อัดเป็นรูปภาพแต่งฝาผนังได้ ย่านลิเภา ก็เป็นเฟินชนิดหนึ่งที่มีก้านแข็ง นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระเป๋าถือ กำไลข้อมือ กล่องบุหรี่ ความงามของย่านลิเภา เมื่อยิ่งนานวันก็จะยิ่งเปลี่ยนสีเป็นสีดำมัน ทำให้งดงามมากขึ้น ขณะนี้มีการส่งเสริมให้ปลูกอย่างกว้างขวางทางภาคใต้ ส่วนผสมสำหรับปลูกเลี้ยงเฟิน | เฟินชนิดปลูกในกระถาง ดินร่วนหรือดินตะกอน 1 ส่วน ทรายหยาบ (ทรายก่อสร้าง) 1 ส่วน อินทรียวัตถุ 4 ส่วน (ใบไม้ผุที่สลายตัวแล้ว) | เฟินชนิดไม้อากาศ เช่น ชายผ้าสีดา เฟินข้าหลวง กระแตไต่ไม้ ต้องการเครื่องปลูกที่ร่วน ควรใช้ส่วนผสมกาบมะพร้าว/รากชายผ้าสีดา 3 ส่วน หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ (2-4 ซม.) |
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 15 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1786 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|