คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 27/12/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

9 คาถาคุมสติ (แตก) เมื่อตกงาน

เรื่องชวนสติแตกที่สุดของชาวไทย (และชาวโลก) ในเวลานี้ ก็คือการตกงาน คนไทยหลายคน (ที่สูงวัยหน่อย) มีภูมิต้านทานจากเมื่อครั้งต้มยำกุ้ง แต่เอาเข้าจริงเรื่องตกงานก็ไม่เข้าใครออกใคร ...

ตอนนี้มองไปทางไหนก็มีแต่คนตกระกำลำบาก ยุคข้าวยากหมากแพง ปัญหาบ้านเมืองไม่สงบ ปัญหาเศรษฐกิจซับซ้อน ยิ่งยุคนี้ค่านิยมคนในสังคมส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องเงินเป็นหลัก ยุคสังคมทุนนิยมแบบนี้ ใครอยู่แบบไม่มีเงินก็ลำบาก ปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า การตกงานตามมา หลายคนตอนนี้นอนเอามือก่ายหน้าผากแล้ว คิดมากจนจะกลายเป็นโรควิตกกังวล หรือกลายเป็นโรคซึมเศร้าไปเลยก็มี

 

เงินกำหนดความสุข (ไม่) ได้

นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลมนารมย์ให้ความเห็นว่า ความกังวลของคนที่ตกงานนั้น หากให้อธิบายก็คือคนที่ยอมให้ “เงิน” มาเป็นตัวกำหนดความสุขความทุกข์ อารมณ์ความรู้สึกที่บั่นทอนอธิบายได้ดังนี้

1.ความรู้สึกกังวล กังวลว่าจะไม่สามารถหาเงินมาใช้ในการดำเนินชีวิต ใครที่เป็นหนี้อยู่ก็วิตกว่าจะต้องถูกยึดทรัพย์สินบางอย่าง (ที่อาจจะเป็นสิ่งที่รักและหวงแหน) หรืออาจจะไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องอันเป็นที่รัก ดังจะเห็นว่ามีการขายลูกเพื่อใช้หนี้ ก็นำมาซึ่งความทุกข์ระทมใจกันทุกฝ่าย รวมถึงความกังวลว่าจะไม่สามารถใช้หนี้ได้ ยิ่งทุกวันนี้มีเจ้าหนี้โหดๆ ประเภทขูดเลือดขูดเนื้อ แถมขู่ทำร้ายด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ความทุกข์ทวีคูณ

2.ความรู้สึกอับอาย อับอายที่จะต้องเสียหน้าที่การงาน ตกงาน มองว่าตัวเราไม่เก่ง ไม่มีความสามารถ เป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอก น่าสมเพช ทั้งๆ ที่ภาวะเศรษฐกิจรอบนี้เป็นเหมือนกันทั้งโลก การปลดคนงานออกเป็นความจำเป็นของนายจ้าง และเป็นไปตามกระแสเศรษฐกิจ

 


พวกไม่กลุ้มเพราะตกงาน
นพ.กัมปนาท กล่าวว่า คนมักถามจิตแพทย์ว่า การตกงานจะมีเรื่องสุขภาพจิตเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ คำตอบคือเกี่ยวข้องแน่นอน เพราะเรื่องเงินเรื่องหนี้ เรื่องเหล่านี้หนีความกังวลในความสัมพันธ์และความรู้สึกไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ก็พบว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่รู้สึกเฉยๆ และไม่เดือดเนื้อร้อนใจอะไรจากการตกงาน ลองศึกษาดูว่าคนพวกนี้เป็นใครและมีวิธีคิดอย่างไร รวมทั้งผลลัพธ์

1.คนที่ตกงานหรือเปลี่ยนงานเป็นประจำจนเคยชิน เจอสถานการณ์แบบนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา ที่ไม่เห็นว่าจะต้องเครียดให้เหนื่อยใจไปเปล่าๆ

2.มีความกังวลอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นคนที่ต้องรับผิดชอบหลายอย่าง เช่น ครอบครัว ญาติพี่น้อง เมื่อไม่มีงานก็ไม่มีเงิน ถ้าทุนเดิมมีน้อยก็อาจจะเครียดมากกว่า แต่ก็ยังสามารถที่จะแยกแยะอารมณ์กับเรื่องภาระหน้าที่ของตนเอง คือ ต้องหางานใหม่ให้ได้ หรือคิดขยับขยายทำอย่างอื่น และก็บอกตัวเองเสมอว่าจะต้องค่อยๆ ทำงานหาเงินไป ป่วยการที่จะไปทุกข์ใจ เพราะทุกข์ไป เงินก็ไม่งอกเงยขึ้นมาให้ฟรีๆ อาจจะยิ่งทำให้หมดแรงในการหาเงิน ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

3.อีกประเภทคือเป็นพวกทองไม่รู้ร้อน คือ ไม่คิดว่าจะต้องรับผิดชอบอะไร เกาะคนอื่นกิน เช่น พ่อแม่ หรือคู่สมรส พวกนี้ในที่สุดมักนำปัญหามาให้คนที่อยู่ด้วย

9 คาถารับมือการตกงาน       

คนทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นมีปะปนอยู่ในสังคม แต่ถ้าคุณไม่เข้ากลุ่มใดเลย ต่อไปนี้คือคำแนะนำที่พึงกระทำ นพ.กัมปนาท กล่าวว่า อาจมีหลายคนไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ แต่อันดับแรกขอให้มุ่งประเด็นที่ใจของตนเอง ขอให้อยู่อย่างใจสงบและอิสระจากการผูกมัดจากเรื่องภายนอก คิดเสียว่าทุกอย่างที่เป็นเงื่อนไขที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเพียงเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราก็แล้วกัน ดังนั้น เราจะรับมือกับการตกงานให้ดีที่สุด

1.) เริ่มต้นจากการมองโลกในแง่ดีให้มากเข้าไว้ คิดเสียว่าการที่เราตกงาน ก็เพื่อให้ตนเองได้พักผ่อน เพราะบางคนทำงานหนักจนแทบไม่ได้พักเลย ได้เงินมาแต่ไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองเลยจะมีประโยชน์อะไร ที่มีเงินแต่อยู่ในสุขภาพที่ย่ำแย่ในที่สุดก็จะไม่มีโอกาสได้ใช้เงินอยู่ดี

2.) อย่าเป็นคนรักษาหน้ามากนัก บางคนมองว่าการตกงาน เป็นการบอกว่าเราด้อย ไม่มีความสามารถ ทนไม่ได้กับการที่ต้องตกงาน ก็เลยไม่กล้าลงทุนทำอะไรอย่างอื่นอีก หรือคิดรวยทางลัด หาเงินจากแหล่งการพนัน เสี่ยงโชค ยอมขายตัวขายศักดิ์ศรีแลกเงิน อย่างนี้ทำให้สถานการณ์เลวร้าย

3.) มองว่าการตกงานก็เพื่อฝึกทบทวนความสามารถตนเองใหม่ ว่าควรจะได้มีการพัฒนามากขึ้นจนได้อยู่ในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงน้อย รวมทั้งได้ฝึกการบริหารจัดการเรื่องเงินเรื่องทองให้ได้ ถ้าทำได้หรือฝ่าฟันไปได้ก็จะเป็นคนที่มีประสบการณ์และแกร่งขึ้น

4.) เผื่อใจไว้สำหรับการไม่มีเงิน หากจำเป็นต้องใช้เงิน ก็อาจจะต้องยอมสละอะไรบางอย่าง (ที่เคยยึดติด) เช่น อาจจะต้องยอมขายหรือเสียอะไรบางอย่างบ้าง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินให้ได้ อย่าเป็นคนที่ใช้ชีวิตแบบยึดติดกับวัตถุมากเกินไป เพราะเงินทองเป็นของนอกกายไม่ตายก็หาใหม่ได้ อย่าไปปักใจอยู่กับคุณค่าของวัตถุมากเกินไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว คุณค่าที่เกิดขึ้นเกิดจากใจของเราเองต่างหากที่ไปสร้างเงื่อนไขทางความคิด จัดลำดับความสำคัญในชีวิตดีๆ ว่าจะทำอย่างไรให้พอดำรงชีวิตอยู่ได้ แม้จะต้องสูญเสียวัตถุสิ่งของที่รักไปบ้าง

5.) ส่วนใครที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรให้ขายชดใช้หนี้ ก็อย่าลืมทรัพย์สินทางปัญญา ต้องพยายามหาทางนำออกมาใช้ให้มากที่สุด เพราะเชื่อว่าไม่มีทรัพย์ใดจะมีค่ามากไปกว่าปัญญาของเราเอง ยิ่งไปกว่านั้นการได้คิดได้ร่วมแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินใดๆ เพราะประสบการณ์ที่ได้ จะทำให้ทั้งแข็งทั้งแกร่ง ไม่สามารถหาซื้อได้ด้วยเงินทองหรือของมีค่า

6.) พยายามคิดหาทางเลือกอื่นๆ ไว้ เมื่อตกงาน อย่าเพิ่งคิดสั้นๆ และมองว่าตนเองไม่มีทางเลือก อย่าลืมว่าปัญหามักจะมีทางออกสำหรับผู้ที่ฝึกคิดเสมอ

7.) พึงคิดไว้เสมอว่าหากวันนั้นมาถึง “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” สำคัญที่สุด อย่าไปหวังว่าใครจะมาช่วยเราถ้าเรายังไม่เริ่มต้นที่จะคิดช่วยเหลือตนเอง

8.) ฝึกให้ตนเองมุ่งมั่นในการหางานใหม่ไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ต้องคิดเรื่องการตกงานให้อยู่ในสมองมากนัก คิดเพียงการมีความรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง เมื่อนั้นคุณจะรู้สึกว่าภูมิใจที่เราเป็นคนที่มีความรับผิดชอบที่ดี อย่าลืมชมตัวเองบ่อยๆ ก็แล้วกัน

9.) สำหรับคนที่ค่อนข้างเครียดเรื่องตกงาน ให้ลองสำรวจตนเองว่าเป็นคนวิตกกังวลเกินไปหรือไม่ ความวิตกกังวลนั้นส่งผลต่อชีวิตอย่าง ทำให้ขยันขึ้น หรือทำให้หมดเรี่ยวหมดแรงในการต่อสู้กับปัญหากันแน่ ถ้าเป็นประเด็นหลังอาจต้องมารับการบำบัดทางด้านสุขภาพจิต เพราะหากปล่อยไว้ ชีวิตจะค่อยๆ หมดพลังในที่สุด

คำแนะนำส่งท้าย นพ.กัมปนาท กล่าวว่า ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ในช่วงนี้ก็อย่าเพิ่งเปลี่ยนงานหรือโลภมากขออัพเกรดตัวเองเร็วนัก สำคัญคืออย่าเลือกงาน แต่ขอให้รับผิดชอบในหน้าที่ ณ เวลาที่เป็นอยู่ตอนนี้ให้ดีที่สุด รวมทั้งอย่าหาความสุขที่มากเกินพอดี ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เล่นการพนัน หรือหาทางออกด้วยยาเสพติด

“ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน อย่าลืมว่าความพยายามและความอดทนอยู่ที่ไหน ปัญหาทางใจก็จะไม่อยู่ที่นั่นอีกต่อไป จัดการกับปัญหา (ทางใจ) ของคุณให้ได้ เพื่อการมีสุขภาพจิตที่ดีแม้ภาวะเศรษฐกิจจะแย่ก็ตาม” นพ.กัมปนาท กล่าว

บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 23 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1415 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ที่มาของคำว่า กระดาษ (ดู 5365 ครั้ง)
คุณพอใจกับงานที่ทำอยู่แค่ไหน ? (ดู 4595 ครั้ง)
7 ไอเดีย แต่งห้องทํางาน (ดู 4917 ครั้ง)
ตำหนิแบบไหน ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า (ดู 4955 ครั้ง)
กระดาษ (ดู 4573 ครั้ง)
วิธีทำความสะอาดเครื่องต้มกาแฟ (ดู 4518 ครั้ง)
ประวัติของปากกาลูกลื่น (ดู 4635 ครั้ง)
ประวัติและการผลิต ดินสอ (ดู 6794 ครั้ง)
ประวัติความเป็นมาของ ยางลบ (ดู 5077 ครั้ง)
เครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4856 ครั้ง)
จัดฮวงจุ้ย บนโต๊ะทำงาน (ดู 5016 ครั้ง)
เครื่องใช้สำนักงาน (ดู 4703 ครั้ง)
ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 5272 ครั้ง)
หมึกปากกาทำจากอะไร (ดู 4898 ครั้ง)
7 เคล็ดลับจัดโต๊ะทำงานแบบมืออาชีพ (ดู 5276 ครั้ง)
การปรับโต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ (ดู 4650 ครั้ง)
เมื่อลูกแม็กซ์หลุดเข้าไปในเครื่องส่งแฟกซ์ (ดู 4314 ครั้ง)
โต๊ะทำงานบอกนิสัย (ดู 4456 ครั้ง)
13 วิธีแก้วิกฤติโลกร้อนที่ออฟฟิค (ดู 4309 ครั้ง)
ราศีกับโต๊ะทำงาน (ดู 4436 ครั้ง)
ตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เป็นมงคล (ดู 4740 ครั้ง)
รู้ธาตุออฟฟิศ พิชิตปัญหา (ดู 4502 ครั้ง)
เทคนิคพิชิตโรคของสาวทำงาน (ดู 4405 ครั้ง)
การจัดแบบห้องทำงานสำนักงาน (ดู 4663 ครั้ง)
.การจัดฮวงจุ้ยที่ดีสำหรับสำนักงาน (ดู 4406 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved