คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 27/12/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

ถั่วเน่า ภูมิปัญญาของคนไทยเมืองเหนือ

“ถั่วเน่า” เป็นอาหารที่ชาวบ้านทางภาคเหนือตอนบนของไทยนิยมรับประทานในครัวเรือนและทำเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายตามท้องตลาด ถั่วเน่าจัดเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสำคัญชนิดหนึ่งและเป็นการถนอมอาหารให้มีอายุการเก็บยาวนานขึ้น “ถั่วเน่า” เป็นอาหารหมักจากถั่วเหลือง มีลักษณะคล้ายนัตโต (Natto) ของประเทศญี่ปุ่น ใช้เป็นเครื่องปรุงรสแทนกะปิ ส่วนใหญ่ใช้เติมในซุปผัก หรือนำมาห่อในใบตอง นึ่งหรือปิ้งพอสุกรับประทานกับข้าวเหนียวและถั่วเน่ายังใช้ในอาหารมังสวิรัติ เพื่อเพิ่มรสชาติอาหารให้กลมกล่อมยิ่งขึ้น

                  มีตำนานเล่าขานกันว่าในสมัยก่อนถั่วเน่าเป็นของบรรณาการอันมีค่า ซึ่งพญาละคอน (เจ้าเมืองลำปาง) นำถั่วเน่าถวายเป็นบรรณาการแก่พญาแม่กุแห่งเมืองนพบุรีเชียงใหม่ เมืองละครจึงรอดพ้นจากการโจมตีจากทัพเชียงใหม่ ถั่วเน่าเป็นวัฒนธรรมทางด้านอาหารของกลุ่มคนไท ได้แก่ ไทใหญ่ เขิน โยน ยอง ประเทศเพื่อนบ้านของไทยคือประเทศพม่ามีกลุ่มคนไทอาศัยอยู่จึงมีถั่วเน่าเป็นอาหารพื้นบ้านเหมือนประเทศไทยแต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยถั่วเน่าของพม่ามีลักษณะเป็นแผ่นใส่พริกป่นเพิ่มรสชาติเผ็ดร้อนให้ผลิตภัณฑ์ ภาษาพม่าเรียกถั่วเน่าว่า “แบโบ๊ะ” ส่วนชาวไทใหญ่เรียกถั่วเน่าว่า “ถั่วเน่าขั้ว” ออกเสียงว่า “โถ่เน่าโข้” ไทใหญ่นำถั่วเน่าไปประกอบเป็นอาหารแทบทุกชนิด เช่น การผัดถั่วเน่ากับเนื้อไก่หรือเนื้อหมู

                   ถั่วเน่ามีวิธีการทำไม่ยุ่งยาก เริ่มจากคัดเลือกเมล็ดถั่วเหลือง แยกสิ่งสกปรกและเมล็ดถั่วที่เสียออก ล้างน้ำทำความสะอาด แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปต้มจนเมล็ดถั่วเหลืองอ่อนนุ่มประมาณ 6 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็นผสมกับเครื่องปรุงรสที่บดแล้วซึ่งประกอบด้วย เกลือแกง พริกแห้ง และหอมแดง จากนั้นนำไปบรรจุลงในตะกร้าที่รองด้วยใบตองเหียง (ภาษาเหนือเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งใบมีขนาดใหญ่และท้องใบมีขน) เพื่อไม่ให้เมล็ดถั่วเกาะติดตะกร้า ใส่เมล็ดถั่วเหลืองลงไปประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของตะกร้าปิดด้วยใบตองหียงให้มิดชิด ใช้ไม้ไผ่ปิดขวางปากตะกร้าให้แน่น นำตะกร้าวางไว้ในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเป็นเวลา 3 – 4 วัน ถั่วเหลืองเมื่อหมักได้ที่จะมีลักษณะเป็นฝ้าสีขาวรอบเมล็ดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง และมีกลิ่นค่อนข้างฉุน ถ้าถั่วมีฝ้าสีดำให้ตักส่วนนั้นทิ้งไป ถั่วหมักที่ยังไม่มีลักษณะดังกล่าวให้หมักต่อไป โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวต้องใช้เวลาหมักมากขึ้น หลังจากปฏิกิริยาการหมักสมบูรณ์ได้ถั่วเน่าที่มีกลิ่นและรสชาติดีแล้ว สามารถเก็บแบบแช่เยือกแข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส ได้เป็นระยะเวลา 12 เดือน ถึง 18 เดือน ส่วนการทำถั่วเน่าแผ่นเป็นการลดปริมาณน้ำให้น้องลงช่วยยืดอายุการเก็บได้ระดับหนึ่ง

                   ถั่วเน่าที่ได้ชาวบ้านจะนำมาตำในครกให้ละเอียด แล้วทำให้เป็นแผ่นบางๆ หนา 2 – 3 มิลลิเมตร ขนาดกว้างประมาณ 3 – 4 นิ้ว ซึ่งทำให้เป็นแผ่นบางได้โดยใช้ใบผาแป้ง (ใบไม้ชนิดหนึ่ง ขนาดฝ่ามือและมีขน) จำนวนสองใบมาประกบกันบีบให้ถั่วเป็นแผ่นบางกลมตามต้องการ นำไปตากแดดให้แห้ง จะได้แผ่นถั่วที่แข็งมีสีน้ำตาลค่อนข้างดำ แล้วบรรจุใส่ภาชนะสะอาดเก็บไว้ได้นาน ชาวบ้านนิยมนำถั่วเน่าแผ่นมาปิ้งหรือทอดน้ำมันจนเหลืองมีกลิ่นหอม ถ้าชอบรสเค็มให้เติมเกลือลงไป หรือนำถัวเน่าย่างไฟให้ร้อนพอสุกและผสมรวมกับน้ำพริกหนุ่มหรือ พริกแกง ทำให้รสชาติอาหารดีขึ้น อาหารเหนืออีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานกันโดยการนำถั่วเน่าผัดกับไข่โรยด้วยพริกและหัวหอมซอย นอกจากการทำถั่วเน่าแผ่นแล้ว ยังทำถั่วเน่าห่อได้ด้วย โดยนำมาห่อด้วยใบตองกล้วยนำไปนึ่ง หรือทำเป็นแท่งเล็กยาวคล้ายขนมจากนำไปปิ้งไฟให้แห้ง ถั่วเน่าที่ได้จะมีกลิ่นหอมและมีอายุการเก็บหลายวัน แต่ไม่นานเท่าชนิดแผ่น

                   การผลิตถั่วเน่าเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจนถึงปัจจุบัน วิธีการทำถั่วเน่ายังไม่ได้เขียนเป็นตำราไว้สอนลูกหลานในโรงเรียนหรือผู้ที่สนใจ แต่วิธีการทำถั่วเน่า เป็นเทคนิคที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องหลายชั่วอายุคนและนับวันจะสูญหายไปเนื่องจากกระแสบริโภคนิยม ถั่วเน่าจึงเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ควรอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่กับท้องถิ่นสืบไปเพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 26 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1469 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ที่มาของคำว่า กระดาษ (ดู 5365 ครั้ง)
คุณพอใจกับงานที่ทำอยู่แค่ไหน ? (ดู 4595 ครั้ง)
7 ไอเดีย แต่งห้องทํางาน (ดู 4917 ครั้ง)
ตำหนิแบบไหน ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า (ดู 4955 ครั้ง)
กระดาษ (ดู 4573 ครั้ง)
วิธีทำความสะอาดเครื่องต้มกาแฟ (ดู 4518 ครั้ง)
ประวัติของปากกาลูกลื่น (ดู 4635 ครั้ง)
ประวัติและการผลิต ดินสอ (ดู 6794 ครั้ง)
ประวัติความเป็นมาของ ยางลบ (ดู 5077 ครั้ง)
เครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4856 ครั้ง)
จัดฮวงจุ้ย บนโต๊ะทำงาน (ดู 5016 ครั้ง)
เครื่องใช้สำนักงาน (ดู 4703 ครั้ง)
ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 5272 ครั้ง)
หมึกปากกาทำจากอะไร (ดู 4898 ครั้ง)
7 เคล็ดลับจัดโต๊ะทำงานแบบมืออาชีพ (ดู 5276 ครั้ง)
การปรับโต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ (ดู 4650 ครั้ง)
เมื่อลูกแม็กซ์หลุดเข้าไปในเครื่องส่งแฟกซ์ (ดู 4314 ครั้ง)
โต๊ะทำงานบอกนิสัย (ดู 4456 ครั้ง)
13 วิธีแก้วิกฤติโลกร้อนที่ออฟฟิค (ดู 4309 ครั้ง)
ราศีกับโต๊ะทำงาน (ดู 4436 ครั้ง)
ตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เป็นมงคล (ดู 4740 ครั้ง)
รู้ธาตุออฟฟิศ พิชิตปัญหา (ดู 4502 ครั้ง)
เทคนิคพิชิตโรคของสาวทำงาน (ดู 4405 ครั้ง)
การจัดแบบห้องทำงานสำนักงาน (ดู 4663 ครั้ง)
.การจัดฮวงจุ้ยที่ดีสำหรับสำนักงาน (ดู 4406 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved