|
ใช้ยาอย่างไรจึงจะเรียกว่า คุ้มค่า |
ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น และเมื่อจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย สิ่งสำคัญที่จะทำให้ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยที่เกิดอันตรายน้อยที่สุด คือเราจะต้องรู้วิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง
ยาไม่เหมือนสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่เมื่อต้องการความคุ้มค่าจากสินค้านั้นก็เพียงแต่บริโภคให้หมดหรือใช้บ่อยๆ แต่ ซึ่งหลายท่านคงมีข้อสงสัยว่าแล้วจะทำอย่างไรจึงจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา คำตอบง่ายๆ สั้น ๆนั่นคือการใช้ยาให้ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร แต่คงไม่ได้ง่ายแค่นั้นหากแต่ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่คุณควรทราบ เช่น 1. ยากินหลังอาหาร ยาที่แนะนำให้กินหลังอาหารนั้นควรกินหลังอาหารประมาณ 15 - 30 นาที และยาบางตัวหากกินขณะตอนท้องว่างอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยาแก้ปวดข้อบางตัว เช่น แอสไพริน ไดโคฟีแนค จึงแนะนำให้กินหลังอาหารทันที 2. ยากินยาก่อนอาหาร
ยาที่แนะนำให้กินก่อนอาหาร ควรกินก่อนอาหารประมาณ 30 นาที แต่หากกินอาหารไปแล้วให้กินยาหลังกินอาหารไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง เพราะยาบางตัวหากกินหลังอาหารจะทำให้ยามีการดูดซึมได้ลดน้อยลง และอาจทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร
กรณีกินอาหารไม่เป็นเวลาจะกินยาอย่างไร กรณีที่กินอาหารไม่เป็นเวลานั้นไม่ใช่อุปสรรคในการกินยามากเท่าไหร่ วิธีจัดการง่ายๆ ให้ทำดังนี้ หากคุณต้องกินยาวันละครั้งก็ให้กินยาทุก 24 ชั่วโมงแทน หากคุณต้องกินยาวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก็ให้กินทุก 12 ชั่วโมง หากคุณต้องกินยาวันละ 3 ครั้งก็ให้กินยาทุก 8 ชั่วโมงแทน สรุปสั้นๆ คือแค่เอาจำนวนมื้อที่จะต้องกินยาในแต่ละวันไปหาร 24 ชั่วโมง เพื่อให้ทราบว่าจะต้องกินยาทุกกี่ชั่วโมงนั่นเอง แต่ถ้าเป็นยาที่ต้องกินหลังอาหารจะยุ่งยากขึ้นอีกเล็กน้อยคือ คุณจะต้องหาอะไรกินรองท้องก่อนกินยาทุกครั้ง และหากเป็นยาที่ต้องกินก่อนอาหารก็ต้องกินช่วงที่ท้องว่างคือ ก่อนอาหาร 30 นาทีหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง
ถ้าอาการเจ็บป่วยหายไปแล้วจะสามารถหยุดยาได้เลยหรือไม่ คำตอบนั้นขึ้นกับยาที่ใช้ สำหรับยาที่ใช้รักษาตามอาการ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ และยาบรรเทาอาการปวดคุณสามารถหยุดยาได้หลังจากอาการหายไป แต่สำหรับยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกกันทั่วไปว่ายาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อจะต้องกินจนกระทั่งยาหมดไม่ควรหยุดยาแม้ว่าอาการดีขึ้นเพราะเชื้อโรคอาจยังไม่ตาย และอาจทำให้เชื้อโรคดื้อยาซึ่งหมายถึงคุณอาจจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่แรงขึ้นจึงจะรักษาโรคให้หายได้ และสำหรับยาที่ใช้กับโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจบางประเภท ซึ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หายแต่คุณต้องกินยาควบคุมการดำเนินของโรคเอาไว้เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนคนปกติทั่วไป คุณต้องกินยาอย่างต่อเนื่องภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเองแม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บป่วย
การเคี้ยวยาจะช่วยทำให้ยาออกฤทธิ์ดีขึ้นหรือไม่ ไม่ใช่ยาทุกชนิดที่การเคี้ยวจะทำให้ยาออกฤทธิ์ดีขึ้น เพราะยาแต่ละประเภทถูกออกแบบให้มีวิธีการปลดปล่อยตัวยาที่แตกต่างกัน ยาบางชนิดต้องเคี้ยวก่อนกลืน เพื่อช่วยให้การกระจายตัวของยาดีขึ้น เช่น ยาลดกรดชนิดเม็ด ยาขับลมบางชนิด ยาบางชนิดห้ามเคี้ยว เช่น ยาออกฤทธิ์เนิ่นนาน ยาเม็ดเคลือบบางอย่าง เพราะรูปแบบของยาทำมาเพื่อให้ค่อยๆ ปลดปล่อยตัวยา หรือให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ หากเคี้ยวจะทำให้ไม่ได้ผลการรักษาตามที่ต้องการ และอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
ข้อควรระวังในระหว่างใช้ยา - ไม่ควรนำยาที่คุณใช้ให้ผู้อื่นใช้ หรือไม่ควรใช้ยาของผู้อื่นแม้ว่าจะมีอาการเจ็บป่วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากยาหลายๆ ชนิดอาจถูกเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอาการรวมทั้งสภาพร่างกายเฉพาะของแต่ละคน หากคุณนำมาใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเกิดผลข้างเคียงหรือพิษจากยาได้
- หากคุณต้องใช้ยาอื่นๆ หรือมีความเจ็บป่วยเพิ่มเติมในระหว่างที่มีการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกรก่อนทุกครั้ง เพราะการใช้ยาหลายๆ ชนิดร่วมกันอาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาแต่ละชนิดที่ใช้ ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคลดลง และอาจเกิดผลข้างเคียงหรือพิษของยาเพิ่มขึ้นได้
- กินยาหรือใช้ยาตามที่กำหนด ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง
- ไม่ควรเก็บยาหลายชนิดรวมไว้ในภาชนะเดียวกัน เพราะคุณอาจเกิดความสับสนเวลากิน
- ควรอ่านฉลากยาให้เข้าใจทุกครั้งก่อนใช้ยา
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดอีกมากมายเกี่ยวกับการใช้ยา เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีในการรักษาก้าวหน้ามากขึ้น บริษัทผู้ผลิตยามีการผลิตยารูปแบบใหม่ๆ ออกมามากมาย ซึ่งทำให้มีวิธีการบริหารยาหรือวิธีการใช้ยารูปแบบใหม่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นกรณีที่คุณไม่ทราบวิธีใช้ยาหรือไม่เคยใช้ยานั้นมาก่อนเลย ควรปรึกษาและข้อแนะนำการใช้จากแพทย์หรือเภสัชกรผู้สั่งจ่ายยา เพื่อให้การใช้ยาในแต่ละครั้งเกิดรับประโยชน์สูงสุด
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 23 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1366 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|