|
ประเภทของเครื่องถมไทย |
ประเภทของเครื่องถมไทย โดย นางละม่อม โอชกะ และ นายมนตรี จันทพันธ์
เครื่องถมเป็นศิลปหัตถกรรมประเภทประณีตศิลป์ เครื่องถมมีอยู่ ๓ แบบ คือ ถมเงิน(หรือถมดำ) ถมทอง และถมตะทอง
ถมเงินหรือถมดำ ถมดำเป็นถมที่เก่าแก่ที่สุดตามความนิยมถมที่ดีต้องมีสีดำสนิท ไม่มี "ตามด" (ตามดคือ จุดขาวบนสีดำ) ถมเป็นกรรมวิธีในการผสมของโลหะสามอย่างเข้าด้วยกัน คือ เงิน ตะกั่ว และทองแดง นำมาป่นจนเป็นผงละเอียดเพื่อโรยลงบนพื้นแผ่นเงินที่ขูดร่อง หรือตอกเป็นลวดลายไว้แล้ว การที่จะให้ผงถมเกาะแน่นอยู่ที่การเหยียบพื้น(คือการแกะหรือตอกร่องลงบนเนื้อเงินที่เป็นพื้นของลายที่ตอก) ถ้าเหยียบพื้นให้มีรอยขรุขระมากเท่าใด ผงถมก็เกาะได้มากเท่านั้น การถมพื้นนั้นเริ่มด้วยการโปรยผงถม ลงในช่องพื้นที่สลักหรือตอกลายเหยียบพื้น เมื่อเต็มพื้นแล้ว นำไปอบจนผงถมละลายทั่วหุ่นหลังจากนั้นจึงขัดให้เนื้อสม่ำเสมอกันจนเห็นลายเด่นชัดบนพื้นสีดำ ต้องอาศัยความชำนาญในการเขียนและการแลลาย การแลลาย หมายถึง การต้องแลเป็นเส้นเล็กๆ ตามลวดลายที่สลักดุนเพื่อให้เกิดความวาว ดูแล้วเหมือนเคลื่อนไหวได้ ถมเมืองนครผลิตและสลักด้วยมือ นครศรีธรรมราชยังได้ชื่อว่ามีฝีมือในการทำถมดำ ถมทอง
ถมทองก็คือถมดำนั่นเอง แต่แตกต่างที่ลวดลาย คือลายสีเงินได้เปลี่ยนเป็นสีทอง ช่างถมจะเปียกหรือละลายทองคำให้เหลวเป็นน้ำ โดยใส่ทองแท่งลงในปรอท ปรอทจะละลายทองแท่งให้เป็นน้ำ ช่างถมจะชุบน้ำทองผสมปรอทด้วยพู่กันเขียนทับลงบนลวดลายสีเงิน การเขียนน้ำทองละลายปรอทนี้ จะต้องใช้ความประณีตเป็นอย่างมาก ต้องเขียนทับลงบนเส้นเงินเท่านั้น เมื่อเขียนเสร็จแล้วจะใช้ความร้อนไล่ปรอทออกจากทอง ทองก็จะติดแน่นอยู่บนพื้นที่เขียนน้ำทองนั้น ถมทองมีความงามตรงที่เป็นสีทอง ลวดลายกระจ่างเด่นชัด ทองที่ทาทับก็จะมีความคงทนนับร้อยปี ถมตะทอง
ถมตะทอง เป็นศัพท์ของช่างถม หมายถึง วิธีการระบายทองคำละลายปรอทหรือแต้มทองเป็นแห่งๆ เฉพาะที่ มิใช่ระบายจนเต็มเนื้อที่อย่างเดียวกับการทำถมทอง โดยเอาทองคำแท้ๆ ใส่ลงในปรอท ทองละลายอยู่ในน้ำปรอท เมื่อเอาน้ำปรอทที่มีทองคำละลายปนอยู่ไปแต้มตามแห่งที่ต้องการให้เป็นสีทองนั้น ในขั้นแรกปรอทจะยังคงอยู่ เมื่อไล่ด้วยความร้อนปรอทจะหนีทองก็จะติดแน่นอยู่บนตำแหน่งหรือลายที่แต้มทองนั้น การแต้มทองหรือระบายทองในที่บางแห่งของถมดำ เป็นการเน้นจุดเด่น หรือต้องการแสดงอวดภาพหรือลายเด่นๆ ฉะนั้นเครื่องถมตะทองจึงเป็นของที่หายากกว่าถมเงินหรือถมทองในสมัยกรุงศรี อยุธยามีความนิยมในถมตะทองมากกว่าถมทอง ถมปัด มีเครื่องใช้สอยอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ถมปัด" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ให้คำนิยามไว้ว่า "ภาชนะทองแดงที่เคลือบน้ำยาประสมด้วยลูกปัดป่นให้เป็นผง ให้เป็นสีและลวดลายต่างๆ "ส่วนคำว่า "ปัด" ที่เป็นนาม ให้คำนิยามว่า "เม็ดแก้วมีรูกลางสำหรับร้อยเป็นเครื่องประดับต่างๆ ที่เรียกว่า "ลูกปัด" ดังนั้นแม้จะมีคำว่า ถม อยู่ด้วย ถมปัดก็ไม่ใช่เครื่องถมดังที่กล่าวถึงมาแล้วข้างต้นนี้ เพราะเหตุว่า รูปพรรณถมปัดเป็นโลหะทองแดง และน้ำยาเคลือบประสมด้วยแก้ว ถมปัดนี้ยังไม่ทราบว่าเคยมี ณ ที่ใด ในประเทศไทยเครื่องลงยาของไทยใช้น้ำยาผสมด้วยแก้ว แต่โลหะก็เป็นเงินหรือทองคำ และหาได้เรียกกันว่า ถมปัด ไม่ ในประเทศญี่ปุ่นมีเครื่องใช้สอยชนิดหนึ่งเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่น ชิปโป(Shippo) ทำด้วยทองแดงหรือโลหะอื่นเคลือบน้ำยาประสมด้วยแก้ว ทางยุโรปก็มีเรียกว่าคลัวซอนเน (Cloisonne) ทั้งนี้ก็ตรงกันกับถมปัด เข้าใจว่าโลหะลงยาชนิดนี้ในประเทศไทยคงมีขึ้นหลังเครื่องถม เมื่อเห็นลงยามีวิธีการทำคล้ายถม ก็เลยใช้คำว่าถม และเพราะ เหตุที่เคลือบด้วยแก้วสีไม่ดำ จึงเอาคำว่า "ปัด" ซึ่งหมายถึงเม็ดแก้วสีต่างๆ ประกอบเข้าไปไว้ด้วยให้เป็นที่เข้าใจว่าเป็นชนิดที่ทำวิธีถมด้วยแก้วสี
กรรมวิธีการทำเครื่องถมไทยในปัจจุบัน เครื่องถมเป็นงานช่างศิลปหัตถกรรมในปัจจุบัน มีกรรมวิธีทำสองวิธี คือ ๑. วิธีทำแบบโบราณ ทำด้วยมือล้วน ๒. วิธีทำแบบสมัยใหม่ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ช่วย |
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 26 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1556 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|