คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 27/12/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

ประเภทของวัสดุการแพทย์

วัสดุการแพทย์อาจแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภทหลัก ดังนี้
 
           โลหะทางการแพทย์
           โลหะถือได้ว่าเป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่องานทางด้านการแพทย์ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ก่อนที่จะมีพัฒนาการทางด้านวัสดุการแพทย์อย่างจริงจัง โลหะมักเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่นำมาใช้ในการรักษา หรือประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์ด้านการแพทย์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโลหะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงและมีความเหนียว ซึ่งน่าจะปลอดภัย ไม่แตกหักเสียหายในการใช้งาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ว่าโลหะทุกประเภทสามารถนำมาใช้งานทางการแพทย์ได้ เนื่องจากปัญหาสำคัญของการใช้โลหะทางการแพทย์ ได้แก่ ปัญหาการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อมภายในร่างกาย ซึ่งถือได้ว่ารุนแรงมาก ดังนั้นโลหะที่สามารถนำมาใช้งานได้นั้น ต้องทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดีด้วย
            ปัจจุบันโลหะที่นำมาใช้งานในทางการแพทย์แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ โลหะมีค่า และโลหะทั่วไป โลหะมีค่า ได้แก่ โลหะในกลุ่มของทองคำ เงิน และแพลทินัม ส่วนโลหะทั่วไป ได้แก่ อะมัลกัม หรือโลหะผสมปรอท เหล็กกล้าไม่เป็นสนิม โลหะผสมของโคบอลต์ไทเทเนียมบริสุทธิ์ และโลหะผสมของไทเทเนียม ซึ่งโลหะแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน และนำไปใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกันตามจุดประสงค์ โลหะมีค่ามักนำไปใช้งานทางด้านทันตกรรม เนื่องจากมีราคาแพง ในขณะที่โลหะทั่วไป มีความแข็งแรงมากกว่า และมีราคาต่ำกว่า ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายกว่า ไม่ว่าจะเป็นด้านทันตกรรม ออร์โทพีดิกส์ ศัลยกรรมต่างๆ และมักใช้งานในลักษณะที่เป็นวัตถุดิบในด้านการผลิตอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ

ตัวอย่างการใช้งานของโลหะทางการแพทย์
    งาน/อวัยวะที่ใช้     ประเภท/ชนิดของโลหะ
ทันตกรรมทองคำ เงิน แพลทินัม อะมัลกัน ไทเทเนียม
หัวใจและส่วนของหัวใจเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม
ข้อต่อ
เหล็กกล้าไม่เป็นสนิม โลหะผสมของโคบอลต์
โลหะผสมของไทเทเนียม


          พอลิเมอร์ทางการแพทย์
             พอลิเมอร์หรือพลาสติกเป็นวัสดุที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือ เป็นวัสดุที่ประกอบขึ้นด้วยโซ่โมเลกุลขนาดยาว ที่มีหน่วยหรือโครงสร้างทางเคมีซ้ำๆ กันเป็นองค์ประกอบ หากเปรียบเทียบกัน ก็จะมีลักษณะเหมือนกับเส้นบะหมี่ที่ขดรวมและพันทับกันไปมา พอลิเมอร์พบได้ทั้งในธรรมชาติ เช่น แป้ง ยางธรรมชาติ เซลลูโลส และพอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิเอสเทอร์
            สำหรับงานทางด้านการแพทย์สามารถนำมาใช้งานได้ทั้งพอลิเมอร์ธรรมชาติ และพอลิเมอร์สังเคราะห์  ซึ่งมีทั้งประเภทที่ไม่ย่อยสลาย และย่อยสลายได้เมื่อใช้งานในร่างกาย ทั้งนี้พอลิเมอร์มีข้อดีคือ มีความเหนียว มีน้ำหนักเบา สามารถขึ้นรูปได้ง่าย ราคาถูก และไม่เกิดการกัดกร่อนเหมือนกับโลหะ แต่อย่างไรก็ตาม พอลิเมอร์มีความแข็งแรงน้อยกว่าโลหะ ทำให้ไม่สามารถใช้งานในลักษณะที่ต้องมีการรับแรงสูงมากนัก

ตัวอย่างการใช้งานของพอลิเมอร์ทางการแพทย์
  งาน/อวัยวะที่ใช้     ประเภท/ชนิดของพอลิเมอร์
หูและส่วนของหูอะคริลิก พอลิเอทิลีน ซิลิโคน พีวีซี
ตาอะคริลิก ไฮโดรเจล
จมูกซิลิโคน พอลิเอทีลีน เทฟลอน
ทันตกรรมพอลิเอทิลีนน้ำหนักโมเลกุลสูงยวดยิ่ง อีพอกซี
ใบหน้าอะคริลิก พีวีซี พอลิยูริเทน
หัวใจและส่วนของหัวใจพอลิเอสเทอร์ ซิลิโคน พีวีซี
เส้นเลือดพีวีซี พอลิเอสเทอร์ เทฟลอน
ข้อต่อ
ซิลิโคน พอลิเอทิลีนน้ำหนักโมเลกุลสูงยวดยิ่ง
อะคริลิก ไนลอน พอลิยูริเทน

ไฮดรอกซีแอปาไทต์
ตาไฮดรอกซีแอปาไทต์ แก้ว
ทันตกรรมพอร์ซแลน ไฮดรอกซีแอปาไทต์
ใบหน้าไฮดรอกซีแอปาไทต์
หัวใจและส่วนของหัวใจคาร์บอน
ข้อต่อไฮดรอกซีแอปาไทต์ อะลูมินา เซอร์โคเนีย

          คอมโพสิตทางการแพทย์
             คำว่า คอมโพสิต หมายถึง สิ่งที่มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ๒ ส่วนขึ้นไป โดยทั่วไปแล้วในทางวิศวกรรมหรือวัสดุศาสตร์ เราใช้คำว่า คอมโพสิต กับวัสดุที่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่แตกต่างกันในระดับมหภาค และมีสมบัติที่เป็นผลมาจากสมบัติของแต่ละองค์ประกอบมารวมกัน คอมโพสิตมีหลากหลายประเภทด้วยกัน เราสามารถเลือกใช้วัสดุประเภทต่างๆ เข้ามาประกอบร่วมกันเป็นคอมโพสิตชนิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกรวมกับเซรามิก โลหะกับโลหะ  พลาสติกกับโลหะ ตัวอย่างที่เห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ พลาสติกเสริมแรงด้วยใยแก้ว ที่ใช้ผลิตเป็นหลังคารถบรรทุก และอ่างอาบน้ำ
            ในทางการแพทย์เนื้อเยื่อของมนุษย์ เช่น กระดูก เอ็นยึด ผิวหนัง ก็อาจถือได้ว่าเป็นคอมโพสิตประเภทหนึ่ง เนื่องจากประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งในระดับโมเลกุล และระดับโครงสร้างจุลภาค ดังนั้นการใช้งานของคอมโพสิตในทางการแพทย์ก็อาศัยเหตุผลที่ว่าวัสดุชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียวยังมีสมบัติที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เพียงพอต่อการใช้งานตามต้องการ จึงต้องมีการนำเอาวัสดุหลายประเภทมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อนำเอาข้อดีของวัสดุแต่ละประเภทมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตัวอย่างของคอมโพสิตทางการแพทย์ ได้แก่ วัสดุอุดฟัน หรือวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน ซึ่งประกอบไปด้วยพลาสติกประเภท  BIS-GMA ผสมรวมกับผงซิลิกา เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้งานแทนอะมัลกัม เนื่องจากมีสีสันที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากกว่า นอกจากนี้ก็ยังมีข้อเทียมบางประเภทที่ผลิตจากพลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใยคาร์บอน เนื่องจากสามารถปรับให้มีค่าสมบัติทางกลที่ใกล้เคียงกับกระดูกธรรมชาติได้มากกว่าข้อเทียมจากโลหะ

ตัวอย่างการใช้งานของคอมโพสิตทางการแพทย์
 งาน/อวัยวะที่ใช้                      ประเภท/ชนิดของคอมโพสิต
หูและส่วนของหูไฮดรอกซีแอปาไทต์/พลาสติก
ทันตกรรมBIS-GMA/ผงซิลิกา
ใบหหน้าไฮดรอซีแอปาไทต์/พลาสติก
หัวใจและส่วนของหัวใจคาร์บอน/คาร์บอน
ข้อต่อ

เส้นใยคาร์บอน/พลาสติก  เซรามิก/พลาสติก  เซรามิกเคลือบผิวบนโลหะต่างๆ

ตารางสรุปการเปรียบเทียบวัสดุการแพทย์ประเภทต่างๆ
   วัสดุ         จุดเด่น           จุดด้อย                ตัวอย่าง
โลหะ


แข็งแรงและเหนียว


อาจเกิดการกัดกร่อนได้
น้ำหนักสูง
ข้อเทียม แผ่นและสกูรดามกระดูก
รากฟันเทียม

พอลิเมอร์

มีความเหนียว
ขึ้นรูปได้ง่าย

ความแข็งแรงต่ำ
สมบัติอาจเสื่อมถอยตามระยะเวลา
ไหมเย็บแผล หลอดเลือดเทียม ดั้งจมูกเทียม เต้านมเทียม ข้อเทียม

เซรามิก


มีความเฉื่อย เข้ากับร่างกายได้ดี
ทนต่อการสึกหรอดี
เปราะ
ขึ้นรูปยาก

ครอบฟัน ฟันเทียม ข้อเทียม


คอมโพสิต

แข็งแรง
เปลี่ยนแปลงสมบัติได้ตามต้องการ
ขึ้นรูปยาก


ลิ้นหัวใจเทียม ข้อเทียม



บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 20 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1883 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ที่มาของคำว่า กระดาษ (ดู 5365 ครั้ง)
คุณพอใจกับงานที่ทำอยู่แค่ไหน ? (ดู 4595 ครั้ง)
7 ไอเดีย แต่งห้องทํางาน (ดู 4917 ครั้ง)
ตำหนิแบบไหน ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า (ดู 4955 ครั้ง)
กระดาษ (ดู 4573 ครั้ง)
วิธีทำความสะอาดเครื่องต้มกาแฟ (ดู 4518 ครั้ง)
ประวัติของปากกาลูกลื่น (ดู 4635 ครั้ง)
ประวัติและการผลิต ดินสอ (ดู 6794 ครั้ง)
ประวัติความเป็นมาของ ยางลบ (ดู 5077 ครั้ง)
เครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4856 ครั้ง)
จัดฮวงจุ้ย บนโต๊ะทำงาน (ดู 5016 ครั้ง)
เครื่องใช้สำนักงาน (ดู 4703 ครั้ง)
ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 5272 ครั้ง)
หมึกปากกาทำจากอะไร (ดู 4898 ครั้ง)
7 เคล็ดลับจัดโต๊ะทำงานแบบมืออาชีพ (ดู 5276 ครั้ง)
การปรับโต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ (ดู 4650 ครั้ง)
เมื่อลูกแม็กซ์หลุดเข้าไปในเครื่องส่งแฟกซ์ (ดู 4314 ครั้ง)
โต๊ะทำงานบอกนิสัย (ดู 4456 ครั้ง)
13 วิธีแก้วิกฤติโลกร้อนที่ออฟฟิค (ดู 4309 ครั้ง)
ราศีกับโต๊ะทำงาน (ดู 4436 ครั้ง)
ตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เป็นมงคล (ดู 4740 ครั้ง)
รู้ธาตุออฟฟิศ พิชิตปัญหา (ดู 4502 ครั้ง)
เทคนิคพิชิตโรคของสาวทำงาน (ดู 4405 ครั้ง)
การจัดแบบห้องทำงานสำนักงาน (ดู 4663 ครั้ง)
.การจัดฮวงจุ้ยที่ดีสำหรับสำนักงาน (ดู 4406 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved