เก้าอี้กับลักษณะงาน ในการเลือกเก้าอี้ให้ พิจารณาที่ลักษณะของงานเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นให้พิจารณาลักษณะของ แต่ละบุคคลและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาร่วมกับความเหมาะสม กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น โต๊ะ แป้นพิมพ์จอคอมพิวเตอร์ ที่วางพักเท้า ลักษณะของงานสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ งานกึ่งนั่งกึ่งยืน และ งานนั่งโต๊ะ งานกึ่งนั่งกึ่งยืนในความหมายคืองานที่ผู้ทำงาน ต้องนั่งและยืนบ่อย การลุกยืนเพื่อยกของหรือใช้แรงในการตอกชิ้นงานหรือการประกอบชิ้นงาน ซึ่งพบได้บ่อยในโรงงานอุตสาหกรรม งานแคชเชียร์ ซึ่งเก้าอี้ควรมีลักษณะและการปรับดังนี้ 1.เบาะนั่งควรเอียงมาด้านหน้าเพื่อกันการลดการ กดของขอบหน้าของเบาะกับด้านหลังของสะโพก และส่งเสริมให้ลุกขึ้นลงได้ง่าย 2.ระดับ ความสูง ขึ้นอยู่กับความสูงของผู้ใช้ความ สูงของโต๊ะ และชนิดของงาน โดยถ้าเป็นงานหยาบ ความสูงของโต๊ะจะประมาณระดับของข้อศอกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย และถ้าเป็นงานละเอียด จะมีความจำเป็นของการใช้สายตากับงานมาก ความสูงของโต๊ะควรสูงมากขึ้นกว่าระดับข้อศอกเพื่อให้งานใกล้สายตามากขึ้น ดังนั้นความสูงของเก้าอี้ควรสูงพอที่ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานกับโต๊ะและชนิด ของงานได้สะดวก 3.ความลึกของเบาะที่นั่งไม่จำเป็นต้องลึกมาก เพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถลุกขึ้นยืนหรือลงนั่งได้สะดวกลักษณะงานนั่งโต๊ะ งานคอมพิวเตอร์ หรืองานเขียน งานในลักษณะนี้ผู้ใช้จะใช้เวลาส่วนมากกับการนั่ง ซึ่งจากงานวิจัย เป็นที่ทราบกันว่า แรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังขณะนั่งจะสูงกว่าขณะยืน ดังนั้น การนั่งนานๆ ในท่าทางหรือบนเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม อาจมีผลต่อการปวดหลังสืบเนื่องจากหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือกล้ามเนื้อหลังที่ทำงานหรือถูกยืดเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น เก้าอี้ที่ดีควรมีลักษณะและการปรับดังนี้ 1.ปรับระดับความสูงได้ ในขณะนั่งเบาะนั่งจะอยู่ ที่ระดับข้อพับเข่า โดยเมื่อนั่งเท้าจะวางราบกับพื้น และเบาะนั่งจะไม่กดต่อหลังเข่า 2.หากโต๊ะที่นั่งสูง สามารถปรับให้เก้าอี้สูงตามได้ แต่ต้องหาที่พักหรือที่รองเท้าเพื่อยกระดับเท้าให้สูงขึ้น 3.เบาะ นั่งอาจปรับให้เอียงไปด้านหน้าได้เล็กน้อย เนื่องจากเบาะที่เอียงไปทางด้านหน้าส่งเสริมให้หลังส่วนล่าง มีความโค้งเว้าคล้ายกับหลังที่อยู่ในท่ายืนและลดแรงกด ของหมอนรองกระดูกสันหลัง หากเบาะนั่งสามารถเอียง ไปด้านหลังได้ถ้ามีที่วางเท้าที่สูงขึ้น เพื่อกันการกดทับบริเวณใต้เข่า แต่เบาะนั่งที่เอียงไปด้านหลังจะส่งเสริมให้ มีการพิงพนักพิง ซึ่งมีผลต่อแรงกดหมอนรองกระดูกสันหลังเช่นกัน ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนขอแนะนำว่าผู้ใช้หลายๆ คนที่นั่งเอาจริงเอาจังกับการทำงานอาจละเลยการนั่งพิง ก็ขอให้ปรับเบาะเอียงมาด้านหน้าไว้ก่อนแต่อาจไม่ชินเนื่องจากน้ำหนักจะตกลง ที่เท้ามากขึ้น 4.เบาะนั่งควรมีขนาดใหญ่โดยที่เมื่อนั่งเต็มก้นแล้วหลังพิงกับพนักพิงพอดี และเข่าสามารถงอได้และขยับขาไปมาได้อย่างสะดวก 5.เก้าอี้ ควรมีที่พักแขนที่มีความสูงอยู่ที่ตำแหน่งที่ เมื่อนั่งแบบสบายๆ ศอกของผู้ใช้จะไม่ถูกดันจนไหล่ต้องยก และเมื่อนั่งแบบตัวตรงศอกก็ไม่ลอยขึ้นและศอกยังมีการพยุงจากที่พักแขนอยู่ 6.เก้าอี้ ควรมีพนักพิง จากระดับหลังส่วนล่างถึงส่วนบน โดยที่หลังส่วนล่างไม่ควรมีส่วนโค้งนูนมากจนดันหลังของผู้ใช้ หรือที่ผู้ใช้บางท่านเอาหมอนใส่เพิ่มขึ้นจนทำให้เวลาพิงมีแรงกดเกิดขึ้นที่ หลังส่วนล่างอย่างเดียว หากจำเป็นที่ต้องใส่หมอนเพิ่มด้านหลังเนื่องจากเบาะนั่ง มีขนาดใหญ่และลึก ก็ให้ใส่โดยที่เมื่อนั่งพิงแล้วมีแรงกดที่หลังสม่ำเสมอไม่กดที่ใดที่หนึ่ง มากเกินไป 7.หากเก้าอี้นั้นสามารถปรับความสูงของเก้าอี้ เบาะนั่ง ที่พักแขนและพนักพิง ตลอดจนการเอียงตัวของ เบาะนั่งและพนักพิง ก็ถือได้ว่าเก้าอี้นั้นมีความสามารถในการปรับได้มากเพียงพอกับการใช้งาน อย่างไรก็ตามการปรับได้มากอาจมีผลต่อความ มั่นคงของเก้าอี้เมื่อนั่งใช้งาน 8.เพื่อ ความมั่นคงเก้าอี้ ไม่ควรมีล้อเลื่อน หากจำเป็นล้อเลื่อนควรมีประมาณ 5 ล้อ หากน้อยกว่าอาจ ทำให้เก้าอี้ล้มได้ง่าย หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านได้ลองนำเอาข้อแนะนำนี้ไปทดลองใช้ร่วมกับการปรับ จอคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้กล่าวไปบ้างแล้ว และคิดว่าท่านคงได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย |