วัยไหนเหมาะกับการดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้จะพาไปดูกันนะค๊ะ ไปกันเลยค่ะ ช่วงอายุ 18-23 ปี คุณคือ ใกล้จะบอกลาความเป็นเด็ก ไปเป็นหญิงสาวเต็มตัวแล้วล่ะ ถ้าเปรียบเป็นรถก็เป็นรถป้ายแดงที่สภาพเครื่องยังผ่านช่วงรันอินไปไม่นานเท่าไร ความสึกหรอยังไม่มีให้เห็น สุขภาพร่างกายอยู่ในช่วงที่แข็งแรงที่สุด แต่สิ่งที่น่าให้ความสนใจคือสุขภาพจิตใจ ที่ต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ที่ไม่ใช่เรื่องของเด็กๆอีกต่อไปแล้ว มีความรับผิดชอบมากขึ้น เริ่มเข้าสู่ชีวิตทำงาน เริ่มมีความรัก และเริ่มมีเซ็กซ์!!!!
โรคยอดฮิต โรคกลัวอ้วน โรคบูลิเมีย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(STD) ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่โรคเริม เชื้อราในช่องคลอด ไปจนถึงไวรัสตับอักเสบชนิดซี บี และเอชไอวี HIV และตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ดูแลตัวเอง - ตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป สังเกตตัวเองให้ดีถ้ามีการเปลี่ยนแปลง - ตรวจตา ตรวจฟัน - ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำหรับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย - ตรวจ Pap Smear ไม่เร็วเกินไปแน่สำหรับการตรวจมะเร็งปากมดลูก เพราะถ้าคุณมีเซ็กซ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (ก่อนอายุ 18) หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีประวัติเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือสูบบุหรี่ ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเซ็กซ์ ช่วงอายุ 24-29 ปี คุณคือ หญิงสาวที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น ชีวิตไม่ได้มีแค่เพื่อนและคนรักอีกแล้ว แต่ยังมีหน้าทีการงาน การวางแผนชีวิตในอนาคตเข้ามาให้ขบคิดอีกด้วย ร่างกายที่แข็งแรงอาจจะอ่อนล้าลง ความสดใสในชีวิตอาจจะลดน้อยลงเมื่อมีความเครียดมากขึ้น มีเวลาดูแลตัวเองน้อยลง โรคยอดฮิต โรคเครียด โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคไมเกรน ดูแลตัวเอง - ตรวจสุขภาพทั่วไป ปีละ 1 ครั้ง เริ่มจับตาดูระดับไขมันในเลือด น้ำหนักตัว น้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงกว่ามาตรฐาน - ตรวจตา ตรวจฟัน - ตรวจภายใน ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจมะเร็งปากมดลูก ถ้าคุณเป็นคนมีเซ็กซ์สม่ำเสมอหรือเริ่มมีเซ็กซ์แล้ว ซึ่งความถี่ในการตรวจขึ้นอยู่กับพฤติกรรมเสี่ยงของแต่ละคน - ตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง เวลาอาบน้ำหรือก่อนนอน - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ทำสมาธิ เพื่อไม่ให้เกิดอาการเครียดเกินไป ปรึกษาหมอทันทีเมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติ ช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป คุณคือ ชีวิตเริ่มเป็นจริงเป็นจัง คิดวางรางฐานในชีวิต ต้องการความมั่นคงทั้งชีวิตการงานและชีวิตครอบครัวมากขึ้น ความคาดหวังในชีวิตจะสูงขึ้น ร่างกายก็เหมือนรถยนต์ที่วิ่งมาได้ครึ่งทางแล้ว เริ่มเหนื่อยล้าง่ายขึ้น ความเครียดในชีวิตก็มากขึ้น ขณะเดียวกันการเผาผลาญพลังงานของร่างกายก็เริ่มจะลดลง ต้องระวังโรคที่เกี่ยวกับความอ้วนอีกด้วย โรคยอดฮิต โรคเครียด โรคซึมเศร้า โรคอ้วน โรคความดันโลหิต โรคไขมันในเลือด ดูแลตัวเอง - ตรวจสุขภาพทั่วไป ปีละ 1 ครั้ง ดูค่าต่างๆว่ามีอะไรผิดปกติเกินกว่ามาตรฐานหรือไม่ ถึงไม่เคยมีเซ็กซ์มาก่อนก็ควรเริ่มตรวจภายใน ตรวจ Pap Smear - ตรวจเต้านมด้วยตัวเองเดือนละครั้ง เวลาอาบน้ำหรือก่อนนอน ทำสมาธิตั้งตามหวังในสิ่งที่เป็นไปได้ หากิจกรรมคลายเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพทั่วไป - ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณดัชนีมวลกาย - ตรวจวัดความดันเลือด - ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดระดับไขมันในเลือด -ซักประวัติส่วนตัว ประวัติสภาวะแวดล้อม เพื่อดูความเสี่ยงกับโรคต่างๆ - รับคำแนะนำเรื่องโรคอ้วน ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประวัติส่วนตัวและประวัติครอบครัวจำเป็นแค่ไหน? คำแนะนำการดูแลสุขภาพส่วนมากมักจะบอกว่า ควรบันทึกหรือจำไว้ด้วยว่าเราเคยเจ็บป่วยอะไรมาบ้าง และได้รับการรักษาอย่างไร กินยาอะไร แพ้ยาหรือเปล่า รวมไปถึงคนในครอบครัว ญาติพี่น้องเคยป่วยเป็นอะไรบ้าง เพื่อจะช่วยให้หมอวิเคราะห์โรคของเราได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น เช่น - ถ้าคุณเกิดปวดเจ็บท้องน้อยด้านขวาและเคยผ่าตัดไส้ติ่งมาแล้ว ก็เป็นไปได้ว่าคุณคงมีความผิดปกติกับปีกมดลูก รังไข่หรืออื่นๆที่ไม่ใช่ไส้ติ่งถ้าคุณมีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน เป็นมะเร็งเต้านม ก็เป็นไปได้วาคุณมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นด้วย - ถ้าคุณแพ้อาหารทะเล แพ้อาหารจำพวกแป้ง คุณหมอก็จะระวังในการให้ยาที่ไม่มีส่วนผสมที่คุณจะแพ้ได้ ตรวจโรคอื่นเพิ่มเติม เวลาที่ไปอ่านตารางตรวจสุขภาพของแต่ละโรงพยาบาล เราจะเห็นรายการตรวจโรคอื่นๆเต็มไปหมด ควรเลือกตรวจดูตามความเสี่ยงและความเหมาะสมของแต่ละคนดีกว่า เช่น ตรวจหาไวรัสตับอักเสบชนิด บีและซี และเชื้อ HIV - ถ้าคุณเป็นคนเปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเซ็กซ์โดยไม่ได้ป้องกัน เคยรับเลือดจากคนอื่น ตรวจหาเชื้อมะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งตับ - ถ้าคุณมีคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ตรวจมะเร็งเต้านม - ถ้าคุณมีแม่หรือพี่สาว คนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม คุณสูบบุหรี่ มีก้อนเนื้อหรือความผิดปกติที่เต้านม ตรวจมะเร็งปากมดลูก - ถ้าคุณเริ่มมีเซ็กซ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์บ่อย สูบบุหรี่ ตรวจหาภูมิป้องกันหัดเยอรมัน - เมื่อคุณคิดจะตั้งครรภ์ในเร็ววันนี้ |