คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 27/12/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเฉพาะโรค

 อาการไม่ลุกเดินและอาการหกล้ม 
          ผู้ป่วยสูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ญาตินำมาพบแพทย์ด้วยอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการหกล้ม ไม่ลุกเดิน ซึม พูดจาสับสน ไม่รับประทานอาหาร หรืออุจจาระปัสสาวะราด ในอดีต มักคิดว่าอาการต่างๆดังกล่าวเกิดจาก "โรคชรา" หรือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขให้กลับคืนได้ ทำให้ไม่มีการสืบค้นเพื่อหาพยาธิสภาพต้นตอที่แท้จริง จึงควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อประเมินความเจ็บป่วยซึ่งอาจแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ หากผู้ป่วยสูงอายุมีอาการไม่ลุกเดินอยู่นานเกินไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาอีกมากมาย จนกระทั่งถึงแก่ชีวิตในที่สุด ได้แก่ 
          - การเกิดแผลกดทับที่บริเวณผิวหนังเหนือปุ่มกระดูกที่ต่างๆ เช่น บริเวณก้นกบ ข้อสะโพก ซึ่งมักมีการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา 
          - กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฝ่อลีบ 
          - ข้อฝืด แข็ง เคลื่อนไหวไม่สะดวก หรือมีอาการปวดตามมา 
          - โรคติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปอดอักเสบจากการสำลัก 
          - ความดันโลหิตลดลงเมื่อมีการเปลี่ยนท่าขณะลุกนั่งหรือยืน ทำให้มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด 
          - มีการอุดตันของเส้นเลือดดำที่ขา ทำให้ขาบวมหรือก้อนเลือดที่อุดตันหลุดลอยไปที่ปอดทำให้มีอาการหอบเหนื่อย 
          - ท้องผูก มีอาการปวดท้อง และอาจทำให้มีอุจจาระราดได้ 
          - อาการซึมสับสนยิ่งขึ้น 

          แนวทางการป้องกันการหกล้ม อาจทำได้ดังต่อไปนี้ 
          - ติดตั้งหลอดไฟบริเวณมุมมืดที่เดินผ่านบ่อยๆ โดยปุ่มสวิตช์อยู่ใกล้มือเอื้อม 
          - มีอุปกรณ์เครื่องเรือนบริเวณที่อยู่เท่าที่จำเป็น และต้องแข็งแรงมั่นคงอยู่สูงจากพื้น มองเห็นได้ง่าย ไม่ย้ายที่บ่อยๆ 
          - เตียงนอน เก้าอี้ และโถส้วมมีความสูงพอเหมาะ ไม่สูงหรือเตี้ยเกินไป 
          - ทางเดินและบันไดควรมีราวจับตลอด และมีระยะขั้นบันไดที่สม่ำเสมอ 
          - พื้นห้องควรสม่ำเสมอและเป็นวัสดุที่ไม่ลื่น โดยเฉพาะในห้องน้ำ บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างห้องควรอยู่ในระดับเดียวกันไม่ควร มีธรณีประตู สิ่งของเกะกะ เช่น พรมเช็ดเท้า 
          - หลีกเลี่ยงการที่จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ในบริเวณที่อยู่อาศัย

          ภาวะกระดูกพรุน 
          ภาวะกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อกระดูก ทำให้มีความหนาแน่นลดลง รวมทั้งโครงสร้างที่เปราะหักได้ง่าย ซึ่งปกติมวลเนื้อกระดูกของร่างกายมนุษย์จะมีความหนาแน่นสูงสุดอยู่่ในช่วงวัยหนุ่มสาวจนถึงอายุประมาณ ๓๐ ปี จากนั้นจะมีปัจจัยต่างๆที่ทำให้มวลเนื้อกระดูกลดลง ได้แก่ อายุเพิ่มมากขึ้น การหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโทรเจนที่ลดลง โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมทั้งการได้รับยาบางชนิดที่ทำให้กระดูกบางลง และการที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานานๆ 

          การป้องกัน 
          - ออกกำลังกายเป็นกิจวัตรโดยเฉพาะ กลางแจ้งช่วงที่มีแดดอ่อน เช่น เวลาเช้าหรือเย็น 
          - เมื่อมีการเจ็บป่วยไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อนไหว ส่วนต่างๆของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย
          - รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง นมพร่องไขมันเนย ผักผลไม้ เต้าหู้ 
          - งดการดื่มสุรา กาแฟ รวมทั้งงดการสูบบุหรี่ อาหารเค็ม หรืออาหารที่มีเกลือฟอสเฟตสูง 
          - ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เช่น ยาลูกกลอน เพราะมักมีสารสเตียรอยด์ผสมอยู่ 
          - พยายามให้กระดูกสันหลังตั้งตรงขณะที่อยู่ในอิริยาบถต่างๆ หลีกเลี่ยงการก้ม  การโก้งโค้ง

          โรคหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต 
          โรคหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต  เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ ได้แก่ 
          - ความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตเป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่ถูก และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโรค 
          - ภาวะไขมันในเลือดสูง การตรวจระดับคอเลสเทอรอล (Cholesterol) ในเลือดจึงควรทำเพราะการลดระดับคอเลสเทอรอล การเพิ่มระดับ high-density lipoprotein สามารถป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้ 
          - โรคเบาหวาน ความชุกของโรคนี้ เพิ่มขึ้นตามอายุ โรคเบาหวานเป็นสาเหตุ  การตายอันดับที่ ๓ และ ๔ ในผู้สูงอายุกลุ่มอายุ ๖๐ - ๗๔ ปี และ ๗๕ ปีขึ้นไปตามลำดับ การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อย ๘ ชั่วโมงจึงควรทำ โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน 
          - การสูบบุหรี่ (อ่านในหัวข้อการไม่สูบบุหรี่)

           โรคข้อเสื่อม 
          โรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้อเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือ ข้อนิ้วมือ รองลงมาคือข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมพบว่าเกิดขึ้นมากถึงร้อยละ ๓๕ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดเข่า เข่าบวมอักเสบเป็นๆหายๆ ข้อเข่ายึด ก่อให้เกิดการสูญเสียความสามารถของการใช้เข่าในชีวิตประจำวัน 
          การป้องกันโรคข้อเสื่อม 
         
- การหลีกเลี่ยงจากความอ้วน 
          - การใช้งานข้อเข่าอย่างถูกวิธี เช่น ไม่นั่งยองๆ หรือนั่งพับเพียบเป็นเวลานานๆ ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น 
          - การออกกำลังเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบเข่า ช่วยลดอาการปวด และเพิ่มความสามารถทางกาย เช่น การยกขาขึ้นตรงในแนวราบ ออกกำลังแบบแอโรบิก

          ภาวะสมองเสื่อม 
          เป็นกลุ่มโรคของผู้สูงอายุที่สามารถพบได้ประมาณร้อยละ ๒ ของผู้สูงอายุในชุมชน ผู้ป่วยโรคนี้ไม่สามารถดูแลตนเองได้ จึงมีผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว สังคม จน ถึงระบบการบริการสาธารณสุขของประเทศ ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้มีการทำลายเนื้อสมองของผู้ป่วยไปอย่างช้าๆ สาเหตุหลักที่พบบ่อยที่สุดในคนไทย คือ ภาวะสมองเสื่อมจากเส้นโลหิตในสมองตีบตัน และภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของภาวะเส้นโลหิตในสมองตีบตัน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่ ผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุจึงควรดำเนินชีวิตในลักษณะที่ลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
          ภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ ในปัจจุบันพบว่า โรคนี้น่าจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ คนที่เคยได้รับอุบัติเหตุของศีรษะมาก่อน หรือคนที่มีการศึกษาต่ำมีโอกาสเกิดอาการของโรคนี้ได้บ่อยกว่าปกติ อาการทางสมองช่วงแรก ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถทางสติปัญญาอย่างช้าๆ ได้แก่ ความจำจะเริ่มเสื่อมลงโดยเฉพาะความจำในเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นมาไม่นาน อาจถามคำถามซ้ำซากบ่อยๆ ส่วนความทรงจำในอดีต เช่น เหตุการณ์ช่วงวัยหนุ่มสาวจะยังคงอยู่ในระยะแรก จวบจนเมื่อโรคดำเนินมาเป็นเวลานานแล้ว ความจำในอดีตส่วนนี้ก็จะเริ่มเสื่อมลง จนในที่สุดไม่สามารถจดจำได้แม้แต่ญาติสนิทใกล้ชิด ความนึกคิดที่เป็นนามธรรม เช่น ความมีระเบียบวินัยจะสูญเสียไป และไม่สามารถตัดสินหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ง่ายๆได้ ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านได้  เช่น ลืมปิดเตาแก๊ส ผู้ป่วยยังมีปัญหาด้านการ ใช้ภาษา เช่น ใช้เวลานานในการนึกชื่อวัตถุง่ายๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และอาจสูญเสียทักษะในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น  การไม่สามารถสวมใส่เสื้อผ้าด้วยตนเองได้ นอกจากนั้น อารมณ์ของผู้ป่วยจะผิดปกติ  เริ่มมีอาการซึมเศร้า เนื่องจากการที่ตัวเอง ไม่สามารถมีระดับสติปัญญาในการดำเนินชีวิตเหมือนแต่ก่อน ไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ตามลำพัง ในบางรายอาจมีอาการหลงผิดโดย นึกคิดเหตุการณ์ขึ้นเองซึ่งไม่เป็นความจริง เช่น ทึกทักว่าคนดูแลขโมยทรัพย์สินของตัวเองไป หรือคู่สมรสของตนมีชู้ เป็นต้น
          ความผิดปกติในด้านพฤติกรรมอาจมีตั้งแต่ไม่ยอมนอนเวลากลางคืน ลุกลี้ลุกลนโดยไม่มีเหตุผลโดยเฉพาะเวลามืดค่ำ หรือ เดินไปมาภายในบ้านโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย  การมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไปในลักษณะมากขึ้นหรือตรงกันข้าม เช่น เดิมเป็นคนที่สุขุมพูดน้อย อาจกลายเป็นคนที่ยิ่งเก็บตัว ไม่พูดจากับใครเลย หรือตรงกันข้ามกลับเป็นคนพูดมากจนดูไร้สาระ อาจมีอาการก้าวร้าว หรือแสดงกิริยาทำร้ายคนที่ดูแลใกล้ชิดได้  สิ่งนี้เองที่เป็นภาระอย่างมากสำหรับญาติ ในการหาคนมาดูแลใกล้ชิดเป็นเวลานานๆ ผู้ป่วยมักไม่สามารถดูแลรักษาความสะอาดส่วนตัวได้ อุจจาระและปัสสาวะไม่เป็นที่เป็นทาง ผู้ป่วยบางรายอาจมีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ เช่น พูดจาหยาบคาย ซึ่งญาติและคนดูแลใกล้ชิดก็ไม่ควรยึดถือเป็นสาระ ในระยะท้ายของโรค ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้สิ่งกระตุ้นจากภายนอกได้ ไม่สามารถเดินเคลื่อนไหวออกจากเตียงนอน ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง ส่วนใหญ่มักต้องอาศัยการให้อาหารผ่านทางสายยาง ที่สอดผ่านรูจมูกเข้าไปในกระเพาะอาหาร ด้านการขับถ่ายของเสีย ผู้ป่วยจะมีอุจจาระและปัสสาวะราด บางครั้งอาจมีอาการท้องผูก จนต้องใช้ยาสวนเหน็บเป็นประจำ สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมก็ เกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่ประดังเข้ามาในระยะหลัง (ดูในหัวข้อ "อาการไม่ลุกเดิน และอาการหกล้ม")
          ข้อควรปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ๙ ประการ ได้แก่ 
          ๑. ครอบครัวของผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับธรรมชาติและการดำเนินของโรค 
          ๒. ให้การดูแลผู้ป่วยทั้งในด้านร่างกาย และจิตใจ เพื่อเน้นให้ผู้ป่วยพยายามดำเนินกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้มากที่สุดในระยะแรก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ 
          ๓. ให้ความสนใจต่อผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยประเภทนี้ นอกจากต้องการความชำนาญบ้างแล้ว ยังต้องมีความอดทนอย่างสูงอีกด้วย 
          ๔. ตรวจตราความเรียบร้อย และความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมรอบตัวของผู้ป่วยภายในบ้าน 
          ๕. กระตุ้นระดับสติปัญญาของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เช่น การชวนผู้ป่วยสนทนาในเรื่องต่างๆ ขณะนั่งชมโทรทัศน์ด้วยกัน หรือนั่งฟังวิทยุด้วยกัน ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยนอนเฉยๆอยู่บนเตียง 
          ๖. จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านหรือห้องนอนให้เหมือนเดิมก่อนที่ผู้ป่วยจะมีภาวะสมองเสื่อม เพื่อกระตุ้นความจำ เช่น นำภาพถ่ายในอดีตของครอบครัวมาวางไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ภายในห้องของผู้ป่วยควรจะมีปฏิทินที่มีอักษรตัวโต หรือนาฬิกาที่มีตัวเลขเห็นเด่นชัด หน้าต่างควรเปิดโล่ง ช่วยทำให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงวันเวลาที่เปลี่ยนไป 
          ๗. ไม่ควรนำผู้ป่วยไปยังสถานที่แปลกถิ่น โดยเฉพาะเวลามืดค่ำ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสับสนได้
          ๘. หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเอง เพราะสมองที่เสื่อมจะมีความไวต่อยาเกือบทุกชนิด 
          ๙. ให้ความเอื้ออาทร ความเมตตาปรานีต่อผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่บุตรหลานจะพึงมีต่อบุพการีในบั้นปลายของชีวิต เช่น หมั่นไต่ถามความเป็นอยู่ของผู้ป่วยจากผู้ที่ดูแลผู้ป่วย ให้การสนับสนุนหรือแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นทันที เช่น กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติไปจากเดิมก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรพยายามหาสาเหตุหรือปรึกษาแพทย์ที่ดูแลทันที

          การหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น

          ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่เกิดผลข้างเคียง หรือได้รับผลที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามากที่สุด สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้สูงอายุแพ้ยาได้ง่ายคือ การใช้ยามากชนิดเกินไป การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเนื่องจากความชรา และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ ได้แก่ การจัดหายามาใช้เองโดยไม่ได้พบแพทย์เลย การสะสมยา และการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ การได้รับยาหลายชนิด การเกิดผลข้างเคียงจากยา จึงหยุดยาเองโดยที่ไม่บอกแพทย์ สายตาไม่ดีหรือฉลากยาเขียนไม่ชัดเจน ความจำลดลงจากภาวะสมองเสื่อมในระยะแรก และผู้สูงอายุไม่เข้าใจวิธีการใช้ยาที่แพทย์สั่ง
          โรคมะเร็ง
          ก. แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งตับ 
          - หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ไม่รับประทานอาหารที่ยังไม่สุก โดยเฉพาะปลาน้ำจืด เพราะการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีในตับซึ่งพบมากในเขตภาคอีสาน การป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี ซึ่งติดต่อทางเลือด หรือสารคัดหลั่งจากผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อเหล่านี้ 
          - ฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ตั้งแต่แรกเกิด  
          - หลีกเลี่ยงการดื่มสุราเรื้อรัง เพื่อป้องกันภาวะตับแข็ง

          ข. แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปอด  
          - หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การไม่สูบบุหรี่ หรือไม่เข้าใกล้ควันบุหรี่ เป็นมาตรการป้องกันโรคนี้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ เช่น บริเวณใกล้เหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยควันพิษ และที่เกี่ยวกับแร่ใยหิน หรือแอสเบสทอส (asbestos)
          ค. แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก  
          - หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การสำส่อนทางเพศ การติดเชื้อกามโรค โดยเฉพาะเชื้อไวรัสที่เรียกว่า human papilloma  
          - สำหรับผู้หญิงไทยควรได้รับการตรวจภายใน เพื่อตรวจหาลักษณะเซลล์ที่ผิดปกติ (Pap smear) ทุกๆ ๑ ปี ถ้าพบว่าเป็นปกติติดต่อกัน ๓ ปี ต่อไปให้ตรวจทุกๆ ๓ ปี
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 19 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1400 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ที่มาของคำว่า กระดาษ (ดู 5365 ครั้ง)
คุณพอใจกับงานที่ทำอยู่แค่ไหน ? (ดู 4595 ครั้ง)
7 ไอเดีย แต่งห้องทํางาน (ดู 4917 ครั้ง)
ตำหนิแบบไหน ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า (ดู 4955 ครั้ง)
กระดาษ (ดู 4573 ครั้ง)
วิธีทำความสะอาดเครื่องต้มกาแฟ (ดู 4518 ครั้ง)
ประวัติของปากกาลูกลื่น (ดู 4635 ครั้ง)
ประวัติและการผลิต ดินสอ (ดู 6794 ครั้ง)
ประวัติความเป็นมาของ ยางลบ (ดู 5077 ครั้ง)
เครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4856 ครั้ง)
จัดฮวงจุ้ย บนโต๊ะทำงาน (ดู 5016 ครั้ง)
เครื่องใช้สำนักงาน (ดู 4703 ครั้ง)
ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 5272 ครั้ง)
หมึกปากกาทำจากอะไร (ดู 4898 ครั้ง)
7 เคล็ดลับจัดโต๊ะทำงานแบบมืออาชีพ (ดู 5276 ครั้ง)
การปรับโต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ (ดู 4650 ครั้ง)
เมื่อลูกแม็กซ์หลุดเข้าไปในเครื่องส่งแฟกซ์ (ดู 4314 ครั้ง)
โต๊ะทำงานบอกนิสัย (ดู 4456 ครั้ง)
13 วิธีแก้วิกฤติโลกร้อนที่ออฟฟิค (ดู 4309 ครั้ง)
ราศีกับโต๊ะทำงาน (ดู 4436 ครั้ง)
ตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เป็นมงคล (ดู 4740 ครั้ง)
รู้ธาตุออฟฟิศ พิชิตปัญหา (ดู 4502 ครั้ง)
เทคนิคพิชิตโรคของสาวทำงาน (ดู 4405 ครั้ง)
การจัดแบบห้องทำงานสำนักงาน (ดู 4663 ครั้ง)
.การจัดฮวงจุ้ยที่ดีสำหรับสำนักงาน (ดู 4406 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved