|
เสาหลักเพื่อความมั่นคงของชีวิต |
สำหรับในสัปดาห์นี้จะขอเล่าถึงระบบบำนาญที่นานาชาติใช้อยู่นะคะ เพื่อความเป็นอยู่ ที่ดีและความมั่นคงทางการเงินของประชาชน รัฐบาลทุกประเทศจึงต้องจัดสร้างระบบเงินออมเพื่อวัยชราหรือระบบบำนาญ (Pension System) ซึ่งคำว่าบำนาญนี้รวมเงินทุกรูปแบบที่จะได้รับเมื่อเกษียณอายุราชการจากการทำงาน หลักแนวคิดของสากลนั้นระบบบำนาญจะต้องประกอบเสาหลักระบบบำนาญ 3 เสา คือ เสาแรก รัฐบาลจะเป็นผู้จัดเก็บเงิน การบริหารเงิน และการจ่ายเงินคืนให้กับผู้ที่อยู่ในวัย เกษียณอายุ โดยทั่วไปแล้วเงินส่วนนี้จะมาจาก เงินรายได้ของประชากรในวัยทำงาน คือสำหรับประเทศไทยแล้วจะมี 2 ส่วนคือ กองทุนเพื่อการชราภาพของสำนักงานประกันสังคมที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงแรงงาน และเงินบำเหน็จบำนาญของข้าราชการที่ดูแลโดยกระทรวงการคลังแต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือการออมส่วนใหญ่จะเพียงพอต่อการยังชีพในวัยหลังเกษียณ เสาที่สอง เงินออมที่มาจากนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือทั้งสองฝ่าย โดยบริษัท (ในฐานะนายจ้าง) อาจเป็นผู้ริเริ่มก็ได้ รัฐมีหน้าที่กำกับดูแลให้เป็นไปตามระเบียบที่ตั้งไว้ ซึ่งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็อยู่ในขอบเขตนี้ เป็นการตกลงกันกันโดยสมัครใจของทั้งสองฝ่าย ทั้งรูปแบบและจำนวนเงินที่จ่ายสมทบซึ่ง กบข. ก็อนุโลมจัดอยู่ในกลุ่มนี้ เสาที่สาม เป็นเงินออมที่ประชาชนออมเอ็งเป็นรายบุคคลเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตโดยรัฐจะให้การสนับสนุนบ้าง เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การทำประกันชีวิต การลงทุนในกองทุนเงินออมพื่อการบำนาญ ที่เรารู้จักกันในชื่อ RTF และ LTF โดยรัฐจะให้การสนับสนุนการออมกลุ่มนี้ด้วยมาตรการทางด้านภาษีที่ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งในเงินออม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน และภาษีเงินได้เมื่อครบกำหนดตามเงื่อนระยะเวลา ระบบบำนาญที่มีอยู่นั้นมีอยู่ 2 ระบบ คือ การกำหนดไว้ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าผู้ออมเงินจะได้รับเงินจำนวนเท่าไรเมื่อหยุดทำงานหรือเกษียณอายุที่เรียกว่า defined contribution และรัฐบาลหรือนายจ้างจะต้องหาเงินมาจ่ายให้ตาม จำนวนที่ตกลงกันไว้เมื่อถึงเวลา เช่นคนที่เกษียณจะได้รับเงินบำนาญเดือนละ X% ของเงินเดือน ๆ สุดท้าย หรือจะได้รับผลตอบแทนการลงทุน ของเงินออมที่อัตรา Y% ต่อปี แต่เนื่องจากว่าประชากร โดยรวมจะมีอายุเฉลี่ยที่ยืนยาวมากขึ้น และผลตอบแทนการลงทุนนั้นมีความผันผวนขึ้น ลง ดังนั้นภาระของกองทุนบำนาญประเภทนี้จึงมี มากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ จึงมีการปรับเปลี่ยนจากระบบ defined benefit มาเป็นระบบ defined contribution ซึ่งส่งเสริมให้ประชาชนที่มีรายได้มีการออมเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้สำหรับหลังเกษียณ โดยแต่ละคนจะได้รับผลประโยชน์ของเงินออมก้อนดังกล่าวตามผลตอบแทนการลงทุนที่เกิดขึ้นจริง และไม่เป็นภาระของนายจ้างหรือรัฐบาล กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเองเองก็จัดอยู่ในกลุ่มของของการออมที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนตามผลตอบแทนการลงทุนที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งในการบริหารจัดการเงินกองทุนนั้นจะต้องมีคณะกรรมการ ขึ้นมาสำหรับกำกับดูแลการบริหารเงินเพื่อผล ประโยชน์ของสมาชิก ซึ่งขณะนี้ทั้ง กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีรายงานถึงจำนวนผลตอบแทนแทนและจำนวนเงินออมทั้งในส่วนเงินสะสม (ฝ่ายลูกจ้าง) และเงินสมทบ (ฝ่ายนายจ้าง) ทราบปีละ 2 ครั้งงวดกลางปีและงวดปลายปี ดังนั้นเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของตนเองสมาชิกทุกท่านของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ กบข. จึงควรใส่ใจตรวจสอบความถูกต้องของ ใบแจ้งยอดของท่านที่จะได้รับในเดือนมกราคมนี้ด้วยนะคะ.
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 7 มกราคม 2549
จำนวนผู้อ่าน : 7079 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|