|
สารแทนความหวานในเครื่องดื่มลดอ้วนเสี่ยง |
กระทรวงสาธารณสุข เผยผลตรวจวิเคราะห์สารให้ความหวานในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มลดความอ้วน(Diet) จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบ มีการใช้สารให้ ความหวานแทนน้ำตาลบางผลิตภัณฑ์ใส่สารให้ความหวานเกินมาตรฐาน เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อโฆษณาเครื่องดื่มหรือกาแฟลดความอ้วน เพราะอาจได้รับยาลดความอ้วนที่ห้ามใช้ในอาหาร เพราะอาจเป็นอันตรายได้
ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าปัจจุบันเครื่องดื่มหลายชนิด ได้นำสารให้ความ แทนน้ำตาลมาใช้เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า เพราะสารให้ความหวานเหล่านี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาลหลายเท่า และให้พลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงานจึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการ ควบคุมน้ำหนัก โดยสารให้ความหวานที่พบว่านิยมนำมาใช้ในเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ได้แก่ แอสปาร์เทม(Aspartame) อะซีซัลเฟม-เค(Acesulfame-K) ซัคคาริน(Saccharine) ซูคลาโครส(Sucralose) อย่างไรก็ตามสารให้ความหวานเหล่านี้แม้จะไม่ให้พลังงานแต่ถ้ารับประทานใน ปริมาณมาก ก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ โดย เฉพาะสารแอสปาร์เทม ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรค phenylketonuria ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับความบกพร่องของการเมตาบอลิซึมของร่าง กาย ทำให้เกิดการสะสมของเฟนิลอะลามีน (Phenylalamine)เกิดอาการโลหิตเป็นพิษได้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่ออีกว่า กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ทำการสำรวจวิเคราะห์ปริมาณสารให้ความหวานที่มีการใช้ในเครื่องดื่มลด ความอ้วน (Diet) ชนิดต่าง ๆ โดยวิธี HPLC ในช่วงตุลาคม 2551 มีนาคม 2553 รวมทั้งสิ้น 84 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า เครื่องดื่มมีการใช้สารให้ความหวานร่วมกัน 2 ชนิด คือ แอสปาร์เทม และ อะซีซัลเฟม-เค โดย น้ำอัดลมพบสารแอสปาร์เทม 98 และสารอะซีซัลเฟม-เค 56.5มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำรสผลไม้พบสารแอสปาร์เทม 82 พบสารอะซีซัลเฟม-เค 82 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และน้ำหวานเข้มข้นพบสารแอสปาร์เทม 221.4 พบสารอะซีซัลเฟม-เค 261.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ปริมาณสารไม่เกินมาตรฐานที่ Codex กำหนด ยกเว้นเครื่องดื่มชนิดผง รวมทั้งโกโก้และกาแฟปรุงสำเร็จจะมีการใช้สารให้ความหวาน 2 ชนิดที่เกิน มาตรฐาน คือ พบสารแอสปาร์เทม 564 และพบสารอะซีซัลเฟม-เค 1,040มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่เนื่องจากเครื่องดื่มประเภทนี้ผู้บริโภคต้องเจือจางก่อนรับประทาน ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้พิจารณาจากวิธีเจือจาง นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า Codex ได้กำหนดมาตรฐานสารให้ความหวาน ในเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ดังนี้ สารแอสปาร์เทมมีในเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ได้ไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
สารอะซีซัลเฟม-เคมีในเครื่องดื่มประเภทน้ำหวานน้ำผลไม้ ได้ไม่เกิน 350 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ธัญพืช สมุนไพรและโกโก้มีได้ไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนสารซัคคารินมีในเครื่องดื่ม ประเภทน้ำหวานน้ำผลไม้ ได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ ธัญพืช สมุนไพรและโกโก้มีได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งจากการตรวจวิเคราะห์พบว่าส่วนใหญ่ ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด
อย่าง ไรก็ตามยังพบว่ามีการโฆษณากาแฟหรือผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน บางยี่ห้อมีการเติมสารคาร์นิทีม(Carnitine) โดยกล่าวอ้างสรรพคุณสามารถลดความอ้วน และบางผลิตภัณฑ์เติมสารคอลาเจน(collagen) โดยกล่าวอ้างสรรคุณว่า บำรุงสุขภาพ ลดรอยเหี่ยวย่น ซึ่งการเติมสารเหล่านี้ลงในผลิตภัณฑ์ยังไม่มีรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สนับสนุน นอกจากนี้ยังมีบางผลิตภัณฑ์ผสมยาลดความอ้วนได้แก่ไซบูทามิน(Sibutamin)ซึ่ง ห้ามใช้ในอาหาร และอาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้นก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวควรเลือกที่มีเลขสาระบบอาหารเพื่อ ความปลอดภัยของผู้บริโภค
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 19 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1304 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|