ทุกวันนี้กลยุทธ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ธนาคารพาณิชย์นำมาใช้ในการแย่งลูกค้ากันฝุ่นตลบคือ การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าธนาคารหลายๆ แห่งมีการพัฒนาระบบการให้บริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เพื่อดึงลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการให้มากที่สุด เพราะนั่นหมายถึงค่าธรรมเนียมที่จะได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ล่าสุด ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้พัฒนาระบบ Laser ATM ให้บริการชำระค่าบริการต่างๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำและ ค่าไฟ ผ่านตู้เอทีเอ็ม ซึ่งผู้ที่สามารถใช้บริการดังกล่าวได้ต้องมีบัญชีเงินฝากพร้อมบัตรเอทีเอ็มของธนาคาร และค่าบริการที่จะนำมาชำระนั้นต้องมีบาร์โค้ดกำกับด้วย ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถชำระค่าบริการผ่านตู้เอทีเอ็มภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และเป็น การตัดขั้นตอนที่ยุ่งยากออกไปเพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกค้าในการป้องกันความผิดพลาดได้เป็นอย่างดี จากเดิมที่ลูกค้าจะต้องป้อนตัวเลขต่างๆ จำนวนมาก ทำให้มีโอกาสเกิดความผิดพลาดสูง ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทกว่า 60 แห่งที่มีการพิมพ์บาร์โค้ดบนบิลการชำระค่าสินค้าและบริการเช่น ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าบัตรเครดิต ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และมีแนวโน้มว่าการจัดพิมพ์บิลโดยมีฐานข้อมูลในรูปแบบของบาร์โค้ดจะเพิ่มมากขึ้น เพราะทำให้บริษัทสามารถตรวจสอบการชำระค่าบริการของลูกค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมทั้งเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตของบริษัทอีกด้วย สำหรับขั้นตอนในการใช้บริการมี 3 ขั้นตอนคือ 1.เลือกเมนูจ่ายบิลด้วยบาร์โค้ด 2.สแกนบาร์โค้ดในบิลแจ้งค่าบริการ จากนั้นเครื่องก็จะประมวลผลและชำระค่าบริการผ่านเอทีเอ็ม 3.กดยืนยันความถูกต้องหลังจากทำรายการครบทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว ระบบดังกล่าวจะชำระค่าบริการให้กับลูกค้าโดยหักเงินจากบัญชี ซึ่งลูกค้าสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในส่วนของค่าธรรม เนียมในการใช้บริการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ 1.บริษัทผู้ออกบิลเป็นผู้รับภาระค่าธรรมเนียมเอง 2.ลูกค้าต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเองโดยผู้ออกบิลจะเรียกเก็บรวมกับค่าบริการในครั้งนั้นๆ หรือรวมกับค่าบริการครั้งต่อไป ขณะที่กลุ่มเป้าหมายในการให้บริการคือ กลุ่มลูก ค้าที่ชำระค่าสินค้าและบริการด้วยตนเองผ่านตู้เอทีเอ็มเป็นประจำ และเป็นกลุ่มคนที่สามารถตอบรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งคาด ว่าในอนาคตจะขยายฐานลูกค้ากลุ่มดังกล่าวได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีตู้เอทีเอ็มที่สามารถให้บริการดังกล่าวได้ประมาณ 1,300 เครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและ ปริมณฑลจากตู้เอทีเอ็มที่อยู่ทั่วประเทศประ มาณ 2,000 เครื่อง และภายในสิ้นปี 2548 ธนาคารจะเพิ่มตู้เอทีเอ็มให้ได้ 2,800 เครื่อง และจะขยายบริการชำระค่าบริการผ่านตู้เอทีเอ็มประเภทดังกล่าวให้ได้ทั่วประเทศ
|