|
เส้นทางสู่สุขภาพเท้าดี |
ก้าวย่างสู่สุขภาพดี
ตามหลักชีวกลศาสตร์ (Biomechanics) "เท้า" เป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยรองรับน้ำหนัก และแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่ว่า ยืน เดิน วิ่ง กระโดด
มองจากภายนอก เท้าของเราประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เท้าส่วนหน้า หมายถึง นิ้วเท้า และฝ่าเท้าส่วนหน้า เท้าส่วนกลาง ประกอบด้วยโครงของฝ่าเท้าซึ่งเป็นส่วนเว้าเรียกว่า อุ้งเท้า และเท้าส่วนหลัง หมายถึงบริเวณส้นเท้า หากสแกนดูจะพบว่า เท้าข้างหนึ่งประกอบด้วยกระดูก 26 ชิ้น ข้อต่อ 33 ข้อ เชื่อมต่อกับโครงสร้างของร่างกายด้วยกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นจำนวนนับไม่ถ้วน
โครงสร้างของเท้าที่กล่าวมานั้น มีความสัมพันธ์กับลักษณะรองเท้าที่คุณเลือกใส่ในชีวิตประจำวัน เท้าจะปรับตัวให้เหมาะกับรูปแบบของรองเท้า เพื่อช่วยในการทรงตัวของร่างกาย ให้ดีที่สุด ดังนั้นหากคุณใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะกับเท้าอยู่บ่อย ๆ ก็ย่อมมีผลให้โครงสร้างเท้าเปลี่ยนไป
เช่น ในกรณีที่คุณต้องใส่รองเท้าส้นสูงทุกวัน พื้นรองเท้าที่เทลง จะทำให้เท้าส่วนหน้าของคุณต้องรองรับน้ำหนักมากกว่าปกติ เป็นสาเหตุของอาการปวดเท้าไปจนถึงเข่า และหลังได้ หรือการใส่รองเท้าหน้าแคบ บีบนิ้วเท้าบ่อย ๆ ก็จะทำให้ปวดนิ้วเท้า และทำให้เกิดภาวะผิดปกติของเท้าได้
ปัญหาจากรองเท้าคู่ใจ
ลักษณะของรองเท้าคู่ใจที่คุณเลือกใส่ในชีวิตประจำวัน อาจเป็นสาเหตุของภาวะ ผิดปกติของเท้าได้ ลองสังเกตอาการเบื้องต้นเหล่านี้ดูนะคะ
อาการปวดน่องหรือเป็นตะคริว อาจมีสาเหตุจากการเดินบ่อย ๆ หรืออยู่ในท่าเขย่ง จากการสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวาย( Achilles tendon) ตึงตัว
อาการปวดตึงหลังส่วนล่าง เป็นผลจากการใส่รองเท้าส้นสูง ที่ทำให้น้ำหนักของร่างกายเทไปข้างหน้า ร่างกายจึงต้องปรับให้ลำตัวแอ่นไปด้านหลัง เพื่อให้ร่างกายตั้งตรงและทรงตัวได้
ภาวะเท้าโก่งหรือหลังเท้านูน มีผลการสำรวจพบว่า การใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งเท้าต้องเขย่งเป็นเวลานาน ส่งผลให้เท้าโก่งจากการดึงรั้งของพังฝืดใต้ฝ่าเท้า (Plantar Fascia)
ภาวะเท้าแบน ตามทฤษฎีธรรมชาติกับความเจริญในเมือง (Nature VS Civilization Theory) ของนายแพทย์ฟิลลิป วาสิลี แพทย์เฉพาะทางด้านเท้า ชาวออสเตรเลีย ได้อธิบายไว้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงของเท้าให้บิดเข้าด้านในและอุ้งเท้าแบนลง เมื่อต้องสัมผัสกับพื้นรองเท้าที่แข็งแบน ซึ่งส่งผลให้มีคนทั่วโลกกว่าร้อยละ 70 เกิดภาวะนี้ โดยสังเกตจากอาการปวดเข่า เกิดปุ่มโปนข้างหัวแม่เท้า และปัญหารองช้ำ (Plantar fasciitis) หรืออาการปวดบริเวณอุ้งเท้าจนถึงส้นเท้า โดยเฉพาะก้าวแรกหลังจากตื่นนอนตอนเช้า หรือนั่งนาน ๆ แล้วลุกขึ้นยืน
เทคนิคดูแลเท้า
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า รองเท้าที่ดีควรสูงไม่เกิน 1 นิ้ว และลักษณะส้นไม่ควรเป็นส้นเข็มหรือเล็กเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้การทรงตัวเสียสมดุล แล้วยังทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกด้วย
ควรเลือกรองเท้าที่ยาวกว่าเท้าประมาณ 1 เซนติเมตร และไม่บีบนิ้วเท้าเกินไป เพราะโดยปกติขณะเราเดิน เท้าจะเคลื่อนไปด้านหน้าประมาณ 7 มิลลิเมตร ดังนั้นคนที่ใส่รองเท้าพอดีเกินไป จึงเกิดปัญหากับเล็บและนิ้วเท้าเป็นเหตุให้เล็บเสีย นิ้วเท้างุ้มงอ และเบียดกันได้
เลือกรองเท้าที่มีพื้นสัมผัสนุ่ม หรือเสริมพื้นรองเท้าเพื่อช่วยลดแรงกระแทก เสริมแผ่นรองส้นหรือกันส้น เพื่อลดการเสียดสี ป้องกันผิวหนังด้านและเกิดตาปลา
ควรเลือกซื้อรองเท้าช่วงบ่าย ซึ่งเป็นช่วงที่เท้าขยายเต็มที่และควรลอง สวมรองเท้าทั้งสองข้าง
รองเท้าที่ดีต้องกระชับ ไม่คับหรือหลวมเกินไป ส้นเท้าอาจเลื่อนขึ้นลงได้เล็กน้อยขณะเดินแต่ไม่ควรหลุดจากเท้า และเปลี่ยนความเชื่อที่ว่ รองเท้าคับจะยืดออกเมื่อใช้ไปสักพัก เพราะกว่ารองเท้าจะยืดออกเท้าของคุณอาจบาดเจ็บก่อนได้
เมื่อมีอาการเจ็บหรือปวด ควรรีบหาสาเหตุ เพราะบางครั้งรองเท้าอาจหมดสภาพ หรือไม่เหมาะสมกับโครงสร้างเท้า และคุณอาจผ่อนคลายเท้าโดยการแช่น้ำอุ่น ร่วมกับการบริหารกล้ามเนื้อขาและเท้าอย่างง่าย โดยกระดกปลายเท้าขึ้นให้สุด จนรู้สึกตึงที่น่อง ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ10 ครั้ง จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยเท้าได้
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 19 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1366 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|