|
ขั้นตอนการผลิตเครื่องถมไทย |
ขั้นแรก การทำน้ำยาถม
สำหรับน้ำยาถม มีวิธีทำคือ ขั้นแรกช่างถมจะต้องหลอมน้ำยาหรือที่ช่างถมเรียกกันว่า "กุมน้ำยา" ขึ้นก่อน ตัวยาถมมีส่วนผสมของโลหะ ๓ ชนิด คือ ทองแดงบริสุทธิ์ ๑ ตะกั่วอย่างดี ๑ และเงินแท้อีก ๑ นำโลหะทั้ง ๓ อย่างมาผสมกันตามส่วน ใส่ในเบ้าหม้อที่มีฝาปิด ใส่ในเตาสูบ หลอมจนเนื้อโลหะผสมเข้ากันดี คือละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้ความร้อนประมาณ ๓ องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง อัตราส่วนผสมและเวลาที่หลอมของช่างแต่ละคน จะแตกต่างไปตามสูตรลับที่เป็นมรดกตกทอด หรือได้จากตำราโบราณที่จะต้องตีความหมายเอาเอง เช่น "วัว ๕ ม้า ๖ บริสุทธิ์ ๔ ผสมกันแล้วซัดด้วยกำมะถัน ได้ยาถมแล" เมื่อใช้เวลาหลอมพอสมควร แล้วเปิดฝาเบ้า ซัดด้วยน้ำกำมะถันเหลืองจนเห็นว่าน้ำยาขึ้นสีดำใส มีคุณสมบัติพิเศษ ไม่มีฟอง ไม่มีฝ้า แล้วจึงเทลงในเบ้าจาน ทิ้งไว้จนแห้ง รอการนำไปถมต่อไปยาถมมีลักษณะแข็งสีดำเป็นนิลขึ้นเงามันเคลือบสีน้ำเงินอ่อนๆ เนื้อคล้ายโลหะชนิดหนึ่ง แต่ทุบบดให้ละเอียดเป็นผงได้ ทำเป็นแท่งๆ ไว้ ตามแท่งมีร่องยาวๆ ไม่ขาดตอน จึงนับว่าเป็นยาถมที่ดี มีจุดหลอมต่ำกว่าจุดหลอมตัวของเงินหรือทองแท่ง ยาถมนี้เมื่อเวลาจะใช้ต้องนำมาบดทุบให้ละเอียดก่อน แล้วคลุกด้วยน้ำประสานทองจนเป็นน้ำยาถมสำหรับนำไปลงถม ขั้นที่ ๒ การทำรูปพรรณ การทำรูปพรรณ คือการนำแผ่นเงินมาทำเป็นรูปร่างตามต้องการ อาจเป็นภาชนะ เช่น ขันน้ำ พานใส่ของ หรือเครื่องประดับ เช่น กำไล เข็มกลัด ทรวดทรงจะงดงามเพียงไร อยู่ที่ฝีมือของช่างผู้ออกแบบให้เป็นรูปร่างอย่างไร
ขั้นที่ ๓ การแกะสลักลวดลาย ๓.๑ การแกะสลักลวดลาย เริ่มด้วยการใช้หมึกจีนเขียนลวดลายลงบนพื้นเงิน แล้วแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ให้อ่อนช้อยงดงาม ๓.๒ การทำถม ได้แก่ การลงยาถม ลงไปบนพื้นที่เป็นร่องหรือราบต่ำ สีดำมันของยาถมที่ข้นทำให้ลวดลายเด่นงามตระการตา
มีรายละเอียดที่ช่างถมนครศรีธรรมราชยึดถือปฏิบัติดังนี้
ขั้นที่ ๑ ขั้นผสมโลหะ ที่จะใช้เป็นพื้นภาชนะชั่งเงิน ๙๕ ส่วน ทองแดง ๕ ส่วน สำหรับหลอมเป็นโลหะผสมทำเครื่องถม
ขั้นที่ ๒ ขั้นหลอมโลหะ ถ้าเป็นงานขนาดเล็กๆ จะใช้จอกหลอม ถ้าเป็นงานขนาดใหญ่ที่โลหะมีน้ำหนักตั้งแต่ ๒๐ บาทขึ้นไปจะใช้เบ้าหลอม ใช้เตาถ่านหรือใช้เตาไฟฟ้าก็ได้ แต่เตาไฟฟ้าหลอมได้สะดวกกว่า การหลอมจะดีหรือใช้ได้เพียงใดนั้น ใช้วิธีการสังเกตสีของโลหะว่าละลายผสมเข้ากันดีหรือไม่ ในการหลอมต้องใช้น้ำประสานทองใส่ผสมลงไปในขณะหลอมด้วย และใช้ถ่านไฟคนหรือกวน ถ้าโลหะผสมกันดีแล้วจะเป็นสีม่วง และผิวเรียบเกลี้ยงเป็นเงามัน แล้วเทลงราง ออกรูปเป็นแผ่นเงิน
ขั้นที่ ๓ ขั้นขึ้นรูป การทำโลหะให้เป็นแผ่นใช้พะเนิน (ค้อนใหญ่) หรือค้อน ทุบแผ่ด้วยแรงคน แล้วนำแผ่นเงินมาดัดหรือตีแผ่ให้เป็นรูปภาชนะต่างๆ หรือรูปพรรณต่างๆ ตามที่ต้องการ ให้มีความหนาพอสมควร ในขั้นนี้ต้องใช้เวลานานมากกว่าขั้นอื่นๆ เพราะโลหะแข็งมากและใช้มือทำตลอด เครื่องถมนครแท้จะไม่ใช้เครื่องจักรช่วยเลย
ขั้นที่ ๔ ขั้นเขียนลาย เมื่อสร้างรูปพรรณต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็เขียนลวดลายตามต้องการลงไปบนภาชนะหรือรูปพรรณนั้นๆ (ด้วยหมึกพิเศษ หรือหมึกจีน) หลักการเขียนลวดลายนั้นใช้วิธีแบ่งส่วนทั้งซ้ายและขวาให้เท่าๆ กัน โดยใช้วงเวียนแบ่งเส้น แบ่งช่วงและแบ่งครึ่ง เขียนไปเรื่อยๆ เช่น แบ่ง ๑ เป็น ๒, แบ่ง ๒ เป็น ๔, แบ่ง ๔ เป็น ๘ ฯลฯ จนได้ลวดลายละเอียดตามความเหมาะสม
ขั้นที่ ๕ ขั้นแกะสลักลาย ก่อนแกะสลักลายช่างจะทำความสะอาดและแต่งผิวรูปพรรณให้เรียบแล้วใช้สิ่วแบบต่างๆ สลักลวดลายด้วยมือ ตอกเป็นรอยลึกลงไปตามลวดลายที่เขียนไว้ โดยไม่ให้ผิวโลหะหลุดออกเป็นชิ้น และสลักให้มีรอยนูนดุนออกไปอีกด้านหนึ่ง ส่วนที่สลักลวดลายนี้เป็นพื้นที่ที่จะถูกเคลือบด้วยยาถมต่อไปจนเต็ม
ขั้นที่ ๖ ขั้นเก็บผิวรูปพรรณ ในขั้นสลักรูปทรงและผิวรูปพรรณอาจจะมีตำหนิบ้าง เมื่อสลักเสร็จจึงต้องแต่งผิวให้เรียบร้อย แต่ทรงรูปพรรณให้ได้ศูนย์หรือสมดุลเหมือนเดิม จากนั้นก็ทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่ง โดยขัดด้วยกรดอ่อนๆ ใช้กรดผสมกับน้ำ อัตราส่วน ๑:๔ ต้องขัดส่วนที่จะลงยาถมให้สะอาดเป็นพิเศษ ขัดจนขาวเป็นเงามันไม่มีคราบสีน้ำตาลเจือปนอยู่เลย
ขั้นที่ ๗ ขั้นลงถม ต้องใช้น้ำยาถมที่เตรียมไว้แล้วละลายตัวด้วยความร้อนสูงพอสมควร โดยให้สังเกตว่าน้ำยาถมนั้นมีลักษณะเกือบแดง แล้วใช้น้ำยาถมที่ละลายแล้วนั้นแปะลงไปบนร่องลวดลายที่แกะสลักไว้ น้ำยาถมจะ "แล่น" (วิ่ง) หรือไหลไปตามร่องนั้นจนทั่ว โดยการใช้ไฟ "เป่าแล่น" การลงถมที่ดีนั้นไม่ได้ลงครั้งเดียว ต้องลงถมถึง ๒-๔ ครั้ง ครั้งแรกลงแต่พประมาณ
ขั้นที่ ๘ ขั้นตกแต่งถม เมื่อลงยาถมกระจายเต็มลวดลายทั่วทุกส่วนดีแล้ว ก็ทิ้งรูปพรรณนั้นให้เย็น แต่ห้ามนำไปแช่น้ำ เพราะโลหะจะหดตัว และอาจจะแตกได้ หรือถมหลุดออกเป็นชิ้นๆ ได้ เมื่อเย็นดีแล้วก็ใช้ตะไบถูกหรือใช้เหล็กขูดแต่งยาถมที่ไหลเลอะบนส่วนที่ไม่ต้องการให้มียาถมออกให้หมด แต่งผิวให้เรียบด้วยกระดาษทราย จนกระทั่งเห็นลวดลายหรือภาพปรากฏขึ้นชัดเจนดีหมดทุกส่วน และผิวของส่วนถมจะไม่มีรูพรุนหรือจุดที่เรียกว่า "ตามด" ต้องมีถมอยู่เต็มสนิท ไม่มีช่องที่จะมองเห็นเนื้อโลหะพื้นซึ่งเรียกว่า "พื้นขึ้น"
ขั้นที่ ๙ ขั้นปรับแต่งรูปทรง ในขณะที่ลงยาถมนั้น รูปพรรณหรือภาชนะต้องถูกความร้อนสูงเผาอยู่เป็นเวลานานพอสมควร จนกว่าจะเสร็จจากการลงยาถมแต่ละครั้ง ดังนั้นรูปลักษณะของรูปพรรณอาจบิดเบี้ยว คดงอไปจากเดิมไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้เมื่อเสร็จจากการลงยาถมแล้ว ต้องมีการปรับแต่งรูปใหม่ให้มีรูปลักษณะคืนสภาพเดิม
ขั้นที่ ๑๐ ขั้นขัดผิวและแกะแร เมื่อปรับแต่งรูปแล้วพื้นผิวยังคงหยาบกร้านและด้าน ต้องขัดผิวด้วยกระดาษทรายละเอียดและถูด้วยถ่านไม้เนื้ออ่อนจนผิวเกลี้ยง ขัดผิวอีกครั้งด้วยฝ้ายและยาขัดโลหะ ถ่านไม้ที่ใช้ถูเป็นถ่านไม้สุกคล้ายถ่านหุงข้าวแต่เนื้ออ่อน ส่วนมากต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ แต่ถ้าไม่มี ช่างจะใช้ถ่านไม้สนแทนเมื่อเกลี้ยงได้ที่แล้วก็ขัดผิวทั่วไปทั้งหมดด้วยเครื่องขัดและยาขัดโลหะอีกครั้งหนึ่ง แล้วล้างให้สะอาดเช็ดให้แห้ง หลังจากนั้นถึงขั้นการแกะแรลวดลาย หรือการแรเงาตกแต่งลวดลายให้สวยงาม เพราะลวดลายที่ปรากฏในขั้นที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นเพียงภาพโครงสร้างภายนอกเท่านั้น เป็นภาพที่หยาบๆไม่สมบูรณ์หรือไม่มีรายละเอียดส่วนอื่นๆ ไม่มีเส้นตัดภายในให้เป็นลวดลายอ่อนช้อยสวยงาม จึงต้องเป็นงานฝีมือของ "ช่างแกะแร" ทำหน้าที่สลักหรือแกะแรส่วนละเอียดของภาพต่างๆ ให้ปรากฏชัดเจนขึ้น ลวดลายจะอ่อนช้อยงดงามหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความชำนาญและความประณีตของช่างประเภทนี้โดยเฉพาะ
ขั้นที่ ๑๑ ขั้นขัดเงา หลังจากแกะแรแล้วจึงนำรูปพรรณถมเข้าเครื่องขัดด้วยยาขัดอย่างละเอียด แล้วล้างให้สะอาดเช็ดด้วยผ้านุ่มๆ ทำความสะอาดให้เป็นเงางามด้วยฝ้ายขัดเครื่องถมด้วยยาขัดเงา ขัดด้วยมือก็ถือว่าสำเร็จเรียบร้อย
ทุกขั้นตอนต่างๆ ของการทำถมล้วนแต่มีความสำคัญในตัวเองทั้งสิ้น หากช่างถมทำขั้นใดขั้นหนึ่งบกพร่องเสียแล้ว ถมนั้นก็ยากจะดีได้ ทุกขั้นตอนจึงต้องทำอย่างละเอียดประณีต ใช้ฝีมือสูงเช่น การลงถม เป็นหัวใจของการทำถม พื้นถมต้องเรียบเป็นเนื้อเดียวกับเงิน ไม่มีรูตามด และไม่โหว่จนพื้นขึ้น การขัดผิว ถูด้วยถ่านนั้นก็ต้องใช้ถ่านชนิดพิเศษที่สั่งจากต่างประเทศ หรือถ้าไม่มีก็ต้องใช้ถ่านไม้สน ส่วนการแกะแรนั้น เป็นศิลปะสุดยอดของถมไทยที่ไม่มีที่ใดเหมือน ภาพจะมีชีวิต ลวดลายจะพลิ้วสวยงามยามเคลื่อนไหวหรือไม่ ย่อมอยู่ที่ความชำนาญและประณีตบรรจงของบรรดาช่างประเภทนี้
เครื่องถมที่ดีเป็นที่นิยมสะสมกันทุกวันนี้ต้องผลิตด้วยกระบวนการแบบเก่า อาจใช้เทคนิคสมัยใหม่บ้างเพียงเล็กน้อย แต่กรรมวิธีสมัยใหม่ เช่น การหล่อหรือพิมพ์รูปโดยใช้เครื่องปั๊มกด การใช้เครื่องรีดแทนใช้พะเนินหรือค้อนทุบเป็นแผ่น ถือว่าไม่เป็นงานหัตถกรรม แต่จะนับเป็นอุตสาหกรรมศิลป์ ซึ่งจะผลิตให้ได้จำนวนมาก โดยมีรูปแบบและลวดลายเดียวกัน เพื่อการจำหน่ายในตลาดที่กว้างกว่าสมัยโบราณ
กรรมวิธีการทำเครื่องถมไทยดังกล่าวมานี้ใช้สำหรับถมเงินและถมทอง ถ้าเป็นถมเงินรูปพรรณก็เป็นโลหะเงิน ถ้าเป็นถมทองรูปพรรณก็เป็นโลหะทองคำ การใช้ทองคำนี้จะทำให้เครื่องถมมีราคาแพงมาก ไม่ค่อยนิยมทำกัน จึงหาวิธีการทำถมทองด้วยวิธีอื่น คือทำอย่างไรจึงจะให้ลวดลายซึ่งเป็นสีเงินนั้นเป็นสีทองได้ วิธีที่ใช้กันมาแต่เก่าก่อนก็คือใช้วิธี เปียกทอง ทาทับลงไปบนเส้นเงินเพื่อประหยัดเนื้อทองคำให้น้อย วิธีนี้การช่างถมเรียกว่า "ตะทอง"
|
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 26 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1440 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|