คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 22/12/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

ประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย ปลุกกำลังซื้อกลุ่มไม่มีเงินออม

decorating idea design

      โหมโรงมาได้ระยะหนึ่งแล้วสำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะแกนหลักในการผลักดันให้เกิดระบบการ ประกันสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (mortgage Insurance-MI) ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องไม้เครื่องมือในการจัดความเสี่ยงของสถาบันการเงิน ที่กระจายออกไปสู่ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ สถาบันการเงิน ผู้ซื้อบ้าน และผู้รับประกันสินเชื่อ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนในด้านงบประมาณ และผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลกด้วย

ว่ากันว่า...หากระบบจัดการความเสี่ยงดังกล่าวถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง ในทางปฏิบัติจะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังย่ำแย่อยู่ในเวลานี้ กลับมาสดใสอีกครั้งหนึ่ง เพราะผู้บริโภคที่ต้องการซื้อบ้านแต่ไม่มีเงินออมที่มากพอก็สามารถซื้อบ้านได้

โดยต้องไปซื้อกรรมธรรม์ในส่วนของเงินดาวน์ จ่ายค่าเบี้ยประกันความเสี่ยงให้กับบริษัทรับประกันสินเชื่อ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกว่าจะเลือกใช้บริการบริษัทไหนดี

ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้สถาบันการเงินกล้าที่จะปล่อยสินเชื่อสำหรับใช้ซื้อบ้านง่ายขึ้น เพราะหากเกิดปัญหาหนี้เสีย (default loans) ก็จะได้รับการชดเชยทันที

คำถามคือ MI มีความจำเป็นกับประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน ในประเด็นนี้ "ขรรค์ ประจวบเหมาะ" กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อธิบายว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินต่างมุ่งให้ความสำคัญทางด้านการตลาดมากจนเกินไป จนละเลยการบริหารความเสี่ยงของตนเอง ดังนั้นเมื่อมีปัญหาและเกิดความสูญเสียจึงไม่สามารถรับมือได้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ธอส.ซึ่งมีภารกิจหลักในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับผู้ซื้อบ้านในระดับกลางและระดับล่างเป็นหลัก ที่ผ่านมาตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก เห็นจากก่อนหน้านี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตบูโร และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเตือนภัยสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

แต่ยังไม่เพียงพอที่จะบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร จึงเห็นว่าแนวทางในการลดความเสี่ยงของสถาบันการเงิน โดยใช้วิธีการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization) และการประกันสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (mortgage Insurance) น่าจะช่วยให้สามารถบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับธุรกิจอสังหาฯ การนำ MI มาใช้จะเกิดผลดีอย่างไร "ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์" หัวหน้าส่วนวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ฝ่ายวิชาการ ธอส. อธิบายว่า ในภาวะที่อัตราที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงกว่าอัตราการเพิ่มของรายได้ และการออมภาคประชาชนหดตัวลง แต่หนี้สินภาคครัวเรือนกลับสูงขึ้นต่อเนื่อง เห็นได้จากดัชนีรายได้ที่ลดลงจาก 57.57 ในปี 2544 มาอยู่ที่ 56.20 ในปี 2549

ขณะที่เงินออมภาคครัวเรือน/เดือนลดลงจาก 3,907 บาท ในปี 2545 เหลือ 3,491 บาท ในปี 2549 ส่วนหนี้สินครัวเรือนเพิ่มจาก 8.2 หมื่นบาทในปี 2545 เป็น 1.16 แสนบาท ในปี 2549 ด้านสัดส่วนหนี้/รายได้เพิ่มจาก 6.01 ในปี 2545 เป็น 6.55 ในปี 2549

ทั้งนี้ หากประเมินจากตัวแลขดังกล่าว จะเห็นว่าความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนยิ่งเป็นไปได้ยากมากขึ้น ดังนั้นการนำระบบ MI มาใช้ จึงน่าจะเป็นแนวทางออกที่หลายๆ ฝ่ายน่าจะรับได้ ทั้งในส่วนของสถาบันการเงินซึ่งจะยอมปล่อยกู้มากขึ้น บริษัทรับประกันความเสี่ยง และผู้กู้ซื้อบ้านที่ต้องยอมจ่ายค่าเบี้ยประกันความเสี่ยงในส่วนของเงินดาวน์ เพื่อให้ได้บ้านเป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น

"ดีมานด์ในตลาดวันนี้ไม่ได้ลดน้อยลงเลย เพียงแต่การเข้าถึงที่อยู่อาศัยของผู้ซื้อทำได้ยากขึ้นเท่านั้นเอง จุดที่น่าสนใจก็คือ อายุเฉลี่ยของผู้กู้มีแนวโน้มน้อยลง"

"ดร.วิชัย" ขยายความต่อว่า สถานการณ์ในปัจจุบันเชื่อได้ว่าตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวอย่างมาก แต่ผู้ซื้อส่วนใหญ่ไม่มีเงินออมที่มากพอ หรือมีแต่ไม่เพียงพอสำหรับจ่ายเงินดาวน์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อบ้านที่มีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 30-40 ปีขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่มากในตลาด เพราะเป็นกลุ่มที่ทำงานมาได้ระยะหนึ่ง แต่เป็นกลุ่มที่หากตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ก็จะใช้อยู่อาศัยจริง (real demand)

"เวลานี้ความสามารถในการซื้อบ้านหรือผ่อนชำระของประชาชนในภาพรวมลดต่ำลง ซึ่งจะเห็นได้จากสัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to value:LTV) และระยะเวลาในการผ่อนมากขึ้น ซึ่งทำให้ต้นทุนการบริหารสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว"

สำหรับผลโยชน์ของ MI สามารถสรุปได้ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านผู้บริโภค การสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น โดยลดภาระการออมในเรื่องของเงินดาวน์ ผู้ซื้อบ้านที่ต้องการ LTV ในระดับสูงผ่าน MI จะได้รับการพิจารณาสินเชื่อได้ง่ายขึ้น กว่ากรณีที่สถาบันการเงินปล่อยกู้เอง

นอกจากนี้ในระยะยาวผู้กู้อาจได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำลง จากต้นทุนทางการบริหารหนี้และความเสี่ยงที่ลดลง ซึ่งจะเป็นการชดเชยค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายเพิ่ม นอกจากนี้ผู้กู้ยังสามารถกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวได้ หากสถาบันการเงินสามารถออกตราสารหนุนหลังโดยสินเชื่อที่อยู่อาศัย (mortgage backed securitization:MBS)

2.ด้านสถาบันการเงิน MI จะเป็นเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการความเสี่ยง ถือเป็นการยกระดับมาตรการฐานของการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อในประเทศไทยให้อยู่ในระดับสากล ลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงิน ลดต้นทุนการบริหารงานให้ต่ำลง จากการต้องติดตามหนี้และการตั้งสำรอง

ในระยะกลาง สามารถนำ margin ที่เพิ่มขึ้นมาใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น ลดดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียม รวมทั้งเป็นการเพิ่มเครดิต (credit enhancement) สำหรับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization)

และ 3.ด้านที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการเงินที่อยู่อาศัยของประเทศ โดยการพัฒนาด้านการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน ซึ่งจะช่วยพัฒนาตลาดที่อยู่อาศัยให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งตลาดบ้านใหม่ และบ้านมือสอง เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตลาด securitization ทั้งยังสามารถรองรับระบบประเมินความเสี่ยงมาตรฐานสากล BASEL II ได้อีกด้วย

บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 15 สิงหาคม 2550
จำนวนผู้อ่าน : 8487 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
กสิกรไทย มอบบริการสินเชื่อบ้านที่ให้คุณกำหนดรูปแบบได้ตามใจ (ดู 9013 ครั้ง)
กู้สินเชื่อบ้านกสิกรไทย แถมออกแบบตกแต่ง และที่พักโรงแรมเลือกได้กว่า 150 แห่ง (ดู 9022 ครั้ง)
ตารางการผ่อนชำระ (ประมาณเงินดาวน์และราคาบ้านที่จะซื้อได้ในวงเงินสูงสุด) (ดู 74527 ครั้ง)
สินเชื่อที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด (ดู 21728 ครั้ง)
กสิกรไทยออกแคมเปญ เทศกาลดอกเบี้ยบานสะพรั่งที่ KBank (ดู 7835 ครั้ง)
บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ และ บัตรซิตี้แบงก์ดิสคัฟเวอรี่ มอบบัตรกำนัลมูลค่าสูงสุดถึง 18% กับแคมเปญ Shop Marathon (ดู 4917 ครั้ง)
KTC ขานรับนโยบายททท. สนับสนุนงาน อเมซิ่งไทยแลนด์แกรนด์เซลล์แฟร์ 2008 (ดู 6399 ครั้ง)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์จัดงานประมูลทรัพย์ NPA ครั้งที่ 2/2551 พร้อมกันทั่วประเทศ 2 สิงหาคมนี้ เสนอเงื่อนไขผ่อนดาวน์ฟรีดอกเบี้ย นาน 1 ปี (ดู 6622 ครั้ง)
กสิกรไทยเปิดบริการ Signature Private Banking รับบริหารความมั่งคั่ง พร้อมดูแลชีวิตอย่างเหนือระดับ (ดู 7236 ครั้ง)
ธนาคารทหารไทย ชูแคมเปญอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดและเลิกการใช้สารลำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ในงาน มหกรรมมั่นใจไทยแลนด์ ดีแน่ ถูกแน่ เพื่อคนไทย (ดู 4320 ครั้ง)
วีซ่า เปิดตัวตู้เอทีเอ็มแนวพอซเลนรับโอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่ง (ดู 6028 ครั้ง)
KTAMเปิดขายอีก3กองทุนตราสารหนี้ ในปท.คุ้มครองเงินต้น-ECPเกาหลีใต้ (ดู 6409 ครั้ง)
การใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูล เพื่อขับเคลื่อนบริการทางการเงิน (ดู 7417 ครั้ง)
ซิตี้โกลด์มอบของขวัญพิเศษ 2 ต่อ สำหรับลูกค้าเงินฝากประจำ รับสร้อยคอทองคำพร้อมดอกเบี้ยสูงถึง 3.75% ต่อปี (ดู 4935 ครั้ง)
ธนชาต ออกเงินฝาก ฝากประจำทวีเงินทอง ฝาก 9 เดือน ดอกเบี้ย 3.5% รับทองคำหนักสูงสุด 5 บาท (ดู 7309 ครั้ง)
เทสโก้ โลตัส เปิดตัวผลิตภัณฑ์การเงินตัวล่าสุด สินเชื่อบุคคล (ดู 13627 ครั้ง)
กสิกรไทยเสนอโครงการกู้บ้านเสริมฮวงจุ้ย (ดู 7986 ครั้ง)
AP จัดแคมเปญพิเศษ บ้านกลางเมือง (ดู 11701 ครั้ง)
ไทยพาณิชย์ออกแคมเปญ บัญชีเงินฝากก้าวกระโดด การันตีดอกเบี้ยเพิ่มทุก 3 เดือน รับสูงสุด 4.0% (ดู 2894 ครั้ง)
เคทีซีชวนชาวพุทธร่วมสะสมบุญเทศกาลเข้าพรรษา เปิดมิติใหม่ใช้คะแนนสะสมบัตรเครดิตแลกซื้อชุดสังฆทานหลอดไฟฟิลิปส์ พร้อมรับสิทธิ์ซื้อทัวร์สักการะพระพุทธรูปศั (ดู 3785 ครั้ง)
บัตรกดเงินสด ยูเมะ พลัสและปัญญา อีเล็คโทรนิค มอบสิทธิพิเศษ 0% (ดู 8998 ครั้ง)
ซิตี้แบงก์ มอบส่วนลด on top อย่างจุใจอีก 5% สำหรับช่วง End of Season Sale ที่ร้าน Guess (ดู 5123 ครั้ง)
ธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับ กระทรวงพลังงาน เปิดตัวโครงการ สินเชื่อพลังงานครัวเรือน (ดู 7091 ครั้ง)
ความรู้ความเข้าใจการลงทุนในกองทุนรวม (ดู 9515 ครั้ง)
เมื่อเข้าอายุ 30 ปี จัดการเงินอย่างไรดี (ดู 10842 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved