|
ศิลปาชีพ |
ความหมายและความเป็นมาของศิลปาชีพ ศิลปาชีพ หมายถึง การส่งเสริมให้คนไทยในภูมิภาคต่างๆผลิตงานด้านศิลป-หัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม นอกเหนือจากการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลัก งานศิลปาชีพอยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระ-บรมราชินีนาถ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยสมเด็จพระ-นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้พระราชทานกำเนิดแก่มูลนิธิ ทรงเป็นประธานกรรมการบริหารของมูลนิธิฯ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ นอกจากจะเป็นการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรและราษฎรผู้มีรายได้น้อยแล้ว ยังช่วยอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทย และพัฒนาคุณภาพของฝีมือให้ดียิ่งขึ้น จนสามารถผลิตสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งสร้างสรรค์งานฝีมือชิ้นเยี่ยมไว้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย
ประวัติความเป็นมาของศิลปาชีพ เริ่มต้นจากความสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในอันที่จะส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมของราษฎร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนหมู่บ้านต่างๆขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จ-พระเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักในต่างจังหวัด พระราชดำริครั้งแรกในการส่งเสริมอาชีพหัตถ-กรรมมีขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ ระหว่างประทับที่วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรที่หมู่บ้านเขาเต่า และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงชักชวนให้หญิงชาวบ้านหัดทอผ้าฝ้ายขาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดหาครูทอผ้าจากจังหวัดราชบุรีมาช่วยสอนให้ ปรากฏว่า กิจการทอผ้าขาวม้าและผ้าซิ่นพื้นเมืองดำเนินไปด้วยดีพอสมควรถือได้ว่า เป็นพระราชกรณียกิจแรกทางด้านการส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมแก่ราษฎร ที่สมเด็จ-พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงริเริ่มขึ้น ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้เกิดอุทกภัยที่จังหวัดนครพนม ภายหลังน้ำลดแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนและพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎร มีราษฎรมารอรับเสด็จอย่างเนืองแน่นจากหลาย ๆ อำเภอ ปรากฏว่า หญิงชาวบ้านแทบทุกคนนุ่งซิ่นไหมมัดหมี่ซึ่งมีความสวยงามต่างๆ กันสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทอดพระเนตรผ้าไหมเหล่านั้นด้วยความสนพระราชหฤทัยยิ่ง ทรงสอบถามราษฎรจนได้ความว่า ราษฎรทอผ้าไหมมัดหมี่ไว้ใช้กันเองแทบทุกครัวเรือน ไม่ได้ทอขาย นอกจากทอให้ลูกหลานยามออกเรือน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระราชปรารภว่า การพระราชทานสิ่งของให้แก่ชาวบ้านนั้นเป็นเพียงการช่วยเหลือเฉพาะหน้า ควรจะหาวิธีที่ช่วยให้ชาวบ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาวต่อไปสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริว่า ชาวบ้านมีความรู้ความสามารถในการทอผ้าไหมมัดหมี่อยู่แล้ว หากจะส่งเสริมให้ทอเพิ่มขึ้นจากที่เคยทอไว้ใช้เอง ก็จะช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เสริม จึงทรงชักชวนให้ชาวบ้านเริ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ขายโดยทรงรับซื้อไว้เองทั้งหมดและเพิ่มราคาให้สูงกว่าท้องตลาด ในเวลานั้น ผ้าไหมมัดหมี่ยังไม่ค่อยมีคุณภาพ มักมีลักษณะแคบ สั้น และส่วนใหญ่สีตก แต่ที่ทรงรับซื้อไว้ก็เพื่อจูงใจให้ชาวบ้านมีกำลังใจทอผ้าไหมต่อไป พร้อมกันนั้น ก็พระราชทานคำติชม และข้อแนะนำต่างๆ ให้ราชเลขานุการในพระองค์นำไปแจ้งแก่ชาวบ้าน จนผ้าไหมมัดหมี่ค่อยๆพัฒนาคุณภาพดีขึ้นตามลำดับ จึงเป็นที่ต้องการของประชาชนทั่วไป หลังจากนั้นโครงการส่งเสริมการทอผ้าไหมก็ได้ขยายออกไปตามหมู่บ้านต่างๆ ของจังหวัดทางภาคอีสาน และโปรดเกล้าฯ ให้ส่งเสริมการทอผ้าไหมพื้นเมืองทุกชนิด ทั้งผ้าไหมสีพื้นและผ้าไหมลายพื้นเมืองต่างๆ อกเหนือจากผ้าไหมมัดหมี่ เช่น ผ้าไหมหางกระรอก ผ้าไหมลายลูกแก้ว ผ้าไหมแพรวา ผ้าไหมลายขิด ชาวบ้านที่ทอผ้าไม่เป็น ก็โปรดเกล้าฯ ให้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทรงรับซื้อเส้นไหมนั้นส่งไปให้ผู้ที่ไม่ได้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แต่มีความสามารถในการทอเป็นผู้ทอแทน จนการทอผ้าไหมกลายเป็นโครงการส่งเสริมอาชีพที่ทำรายได้ ให้แก่ราษฎรอย่างกว้างขวางที่สุดของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ เมื่อพระบาทสมเด็จ-พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ จัดสรรที่ดินที่หุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี ให้ราษฎรได้อาศัยทำไร่เป็นอาชีพ สมเด็จพระ-นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงช่วยเหลือกลุ่มแม่บ้านชาวหุบกะพงให้มีรายได้เพิ่มเติม ด้วยการนำป่านศรนารายณ์ ซึ่งเป็นพืชในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นสินค้าหัตถกรรมต่างๆ เช่น กระเป๋าถือ หมวก พัด รองเท้าแตะและของใช้อื่นๆอีกหลายอย่าง โดยได้รับความร่วมมือจากกองอุตสาหกรรมสิ่งทอ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ส่งครูไปช่วยแนะนำ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากป่านศรนารายณ์จนสามารถผลิตเป็นสินค้าออกสู่ตลาดได้ต่อมา กลุ่มสตรีในนิคมสร้างตนเองของตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งปลูกสับปะรดเป็นอาชีพ แต่มีรายได้ที่ไม่แน่นอน ได้ขอพระราชทานอาชีพเสริมบ้าง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ-บรมราชินีนาถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ฝึกการทำดอกไม้ประดิษฐ์ โดยมีคณะอาจารย์จากวิทยาลัยครูสวนดุสิตไปช่วยสอนจนสามารถทำดอกไม้ประดิษฐ์ได้เหมือนของจริง และจำหน่ายในท้องตลาดได้ จากนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้สอนราษฎรที่ตำบลดอนขุนห้วย และตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ปรากฏว่าชาวบ้านมีความสามารถในการทำดอกไม้ประดิษฐ์ได้เป็นอย่างดี สมเด็จพระ-นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานแนวความคิดให้ประดิษฐ์ดอกไม้ไทยๆ เช่น ดอกแก้ว ดอกบัว พวงชมพู รสสุคนธ์ อัญชัน พวงทอง บุนนาค และทรงรับซื้อไว้เองเป็นส่วนมาก เพื่อให้นำไปประดิษฐ์เป็นพวงมาลาของหลวง
ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๗ ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราช-นิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส เป็นเวลาที่ราคายางพาราตกต่ำ ราษฎรผู้มีอาชีพรับจ้างกรีดยางพาราเดือดร้อนจากรายได้ที่ลดน้อยลงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจึงมี พระราชดำริให้ชาวบ้านทอผ้าฝ้ายเป็นอาชีพเสริม โดยเริ่มโครงการขึ้นครั้งแรกที่บริเวณวัดเชิงเขา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสได้พระราชทานกี่ทอผ้า เส้นฝ้าย และอุปกรณ์ทุกอย่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุนโครงการ โดยส่งครูมาสอนการสร้างกี่และการย้อมสีเส้นฝ้าย ส่งครูจากเกาะยอ จังหวัดสงขลา มาสอนการทอ เริ่มจากการทอผ้าริ้วลายดอกพิกุล ซึ่งเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำจังหวัดนราธิวาส หลังจากนั้น โปรด-เกล้าฯให้ส่งช่างทอจากจังหวัดลำพูน มาสอนการทอผ้ายกลายดอกพิกุลด้วยวิธีแบบลำพูนเพื่อพัฒนาคุณภาพของผ้าทอให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากจะทรงริเริ่มโครงการทอผ้าแล้วในเวลาเดียวกัน ยังได้ทรงส่งเสริมอาชีพการจักสานย่านลิเภาขึ้นในหลายๆอำเภอของจังหวัดนราธิวาสด้วย ย่านลิเภาเป็นไม้เลื้อยประเภทเฟิร์น ขึ้นอยู่ชุกชุมในภาคใต้ ลำต้นเป็นเส้นเล็กและเหนียวมาก เมื่อนำมาปอกเปลือกและรูดเส้นจนขึ้นเงา ก็สามารถนำไปจักสานเป็นภาชนะต่างๆที่มีลวดลายประณีตได้ ย่านลิเภาแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นที่นิยมกันมากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เนื่องจากการจักสานย่านลิเภาทำได้ยาก ต้องอาศัยความละเอียดประณีตและความอุตสาหะเป็นอย่างสูง เป็นเหตุให้ไม่ค่อยมีผู้สืบทอดศิลปะประเภทนี้ จนในที่สุดผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาก็สูญหายไปจนแทบไม่มีผู้ใดรู้จัก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกลุ่มจักสานย่านลิเภาขึ้นที่จังหวัดนราธิวาสเป็นแห่งแรก โดยจัดหาครูจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมาเป็นผู้สอน ต่อมาได้ครูซึ่งเป็นชาวไทยมุสลิมในท้องถิ่นมาช่วยฝึกสอนชาวบ้านด้วย โครงการส่งเสริมการประดิษฐ์ย่านลิเภาเป็นสินค้าหัตถกรรม จึงแพร่หลายมากขึ้นเป็นลำดับ รวมทั้งได้มีการนำไปฝึกสอนแก่ผู้พิการ ณ สถานสงเคราะห์คนพิการพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ ด้วย เพื่อให้เป็นรายได้แก่ผู้พิการเหล่านั้น
ปลาย พ.ศ. ๒๕๑๘ เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่จังหวัดอ่างทอง ราษฎรเดือดร้อนกันมาก โดยเฉพาะที่ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก เพราะราษฎรในละแวกนั้นส่วนใหญ่มีอาชีพทำอิฐ และเหลาไม้ก้านธูป เมื่อเกิดน้ำท่วม ราษฎรไม่สามารถเผาอิฐหรือตากไม้ก้านธูปได้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงทราบ จึงมีพระราชดำริว่า น่าจะส่งเสริมให้ชาวบ้านนำดินเหนียวมาปั้นเป็นตุ๊กตาไทย ซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรมโบราณของไทยอย่าง หนึ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการปั้นตุ๊กตาไทยขึ้นที่ วัดท่าสุทธาวาส ตำบลบางเสด็จ ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยวิทยาลัยเพาะช่างได้ส่งครูมาช่วยฝึกสอน ในระยะแรกผลงานยังไม่ค่อยสวยงามนักแต่ได้ทรงรับซื้อไว้ทั้งหมด ต่อมาชาวบ้านได้พัฒนาฝีมือปั้นดีขึ้น ทำให้สามารถหาตลาดจำหน่ายได้เองด้วย งานศิลปาชีพภายหลังการจัดตั้งเป็นมูลนิธิ กิจการด้านการส่งเสริมอาชีพศิลป-หัตถกรรมที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม-ราชินีนาถทรงอำนวยการอยู่ ได้ขยายขอบเขตการดำเนินงานกว้างขวางมากขึ้นตามลำดับ ทำให้ต้องทรงใช้จ่ายพระราชทรัพย์เพื่อโครงการต่างๆเป็นจำนวนมาก ข้าราชบริพารและผู้มีจิตศรัทธา จึงได้รวบรวมเงินจำนวนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงใช้จ่ายในกิจการนี้ และกราบบังคมทูลขอให้ทรงจัดตั้งเป็นมูลนิธิ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ พระราชทานชื่อว่า มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และทรงเป็นประธานกรรมการบริหารของมูลนิธิฯ ด้วย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้เปลี่ยนชื่อของมูลนิธิฯ เป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี-นาถ ซึ่งใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้
หลังจากการจัดตั้งมูลนิธิขึ้นเป็นทางการนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมา ได้เกิดโครงการส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก โดยใน พ.ศ. ๒๕๑๙ มีโครงการทอผ้าฝ้าย ที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการสานเสื่อกระจูดที่ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โครงการทอผ้าไหม ที่อำเภอตาพระยาและอำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดสระแก้ว) ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ มีโครงการทอผ้าไหมแพรวา ที่ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านอีกหลายอย่างเช่น การทำเครื่องประดับเงินของชาวไทย-ภูเขาในภาคเหนือ การจักสานไม้ไผ่ลายขิด ซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของภาคอีสานรวมทั้งการอนุรักษ์งานฝีมือโบราณอีกหลายชนิดที่แทบจะหาครูผู้ถ่ายทอดวิชาไม่ได้อีกแล้ว เช่น การถมทอง การทำคร่ำ การทอจก การปักซอยแบบไทย การแกะสลักไม้และการแกะสลักหนังตะลุง ตลอดจนการสร้าง-สรรค์งานหัตถกรรมแบบใหม่เพิ่มขึ้น เช่นการตกแต่งหัตถกรรมต่างๆด้วยปีกแมลงทับส่งผลให้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ กลายเป็นศูนย์รวมที่สำคัญของบรรดาครูผู้มีฝีมือทางหัตถกรรมทั้งหลาย |
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 26 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1486 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|