ร่างกายคนเราต้องเจอกับเชื้อโรคทุกวัน ไม่ว่าจากอากาศที่เราหายใจ จากน้ำที่เราดื่ม หรือจากอาหารที่เรารับประทาน แต่เพราะร่างกายคนเรามีระบบภูมิต้านทานที่สามารรถต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ ได้ เชื้อโรคเหล่านี้จึงไม่มีผลต่อร่างกาย
แต่ระบบภูมิต้านทานจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับวิธีการดูแลตนเองด้วยโดยเฉพาะ
แต่ถ้าได้รับวิตามินและเกลือแร่บางชนิดมากเกินไป โดยเฉพาะถ้ารับประทานในรูปของอาหารเสริมอาจเป็นอันตรายได้ เช่น ธาตุสังกะสีที่ช่วยป้องกันหวัด ถ้าได้รับมากเกินไปก็อาจลดการดูดซึมของธาตุทองแดงและลดภูมิต้านทานได้ ถ้าร่างกายรับธาตุททองแดงมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาอนุมูลอิสระในร่างกาย ทำนองเดียวกัน ถ้าได้รับธาตุเหล็กสูงเกินไป ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและลดการดูดซึมของธาตุทองแดง เป็นต้น
ฉะนั้นการรับประทานอาหารธรรมชาติที่หลากหลายจะได้สารอาหารที่สมดุลและช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด
สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อระบบภูมิต้านทาน ได้แก่
นอกจากนี้ ไขมันบางชนิดมีส่วนช่วยเสริมภูมิต้านทาน ได้แก่ กรดไขมันจำเป็น ไลโนเลอิก และกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ที่พบมากในปลาทะเล ถั่ววอลนัท และน้ำมันคาโนล่า กรดไขมันจำเป็นพวกนี้ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ผู้ที่กินอาหารไขมันต่ำมากๆ ร่างกายอาจได้รับกรดไขมันจำเป็นนี้ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจสร้างปัญหาลดภูมิต้านทานลงได้
หลายคนมีความเข้าใจว่าวิตามินซีในขนาดที่สูงๆ จะสามารถป้องกันโรคหวัดได้ แต่จากการศึกษาโรคหวัดนั้น ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าวิตามินซีช่วยป้องกันได้จริง แต่วิตามินซี ช่วยลดความรุนแรงของอาการและระยะเวลาของการเป็นหวัดเท่านั้น
ไม่แนะนำให้รับประทานวิตามินซีในขนาดที่สูงกว่า 1000 มิลลิกรัม เพราะอาจทำให้ถ่ายท้องบ่อย หรือเกิดนิ่วในไตได้ วิตามินซีจะถูกดูดซึมได้ดีในขนาด 500 มิลลิกรัม แต่การดื่มน้ำส้มมากๆ ก็สามารถช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและลดอาการหวัดได้ดีด้วยเช่นกัน
เมนูเสริมสร้างภูมิต้านทาน
มื้อเช้า
ข้าวต้มปลาเก๋า ผัดผักคะน้า
ไข่ขาวต้ม 1 ฟอง
น้ำส้มคั้น 1 ถ้วย
มื้อเที่ยง
บะหมี่น่องไก่ตุ๋น
ผลไม้รวม 1 จานเหล็ก
มื้อว่างบ่าย
เต้าทึง
น้ำแครอท -แอปเปิ้ล คั้นแยกกาก หรืน้ำผลไม้รวมปั่น
มื้อเย็น
สลัดผักชามโต (ประกอบไปด้วย ผักสลัด มะเขือเทศ ข้าวโพดต้ม ถั่วแดง แครอท หัวหอม เม็ดมะม่วงหิมพานต์ หรือวอลนัท เห็ดย่าง พริกหวานย่าง) ราดด้วยน้ำสลัด
นมพร่องไขมัน หรือนมถั่วเหลือง 1 แก้ว
เมนูนี้มีวิตามิน ซี ประมาณ 250 มิลลิกรัม
ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงเชื้อโรคต่างๆ ได้ แต่เราสามารถที่จะลดอาการและระยะเวลาที่ไม่สบายลงได้ โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารสูง เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โดยเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว ปลา ใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารแต่พอควร
ในกรณีที่กินวิตามินเสริม ควรเลือกแบบวิตามินรวมหรือ Multivitamin ที่มีปริมาณสารอาหารไม่เกินร้อยเปอร์เซ็นต์ของข้อกำหนดประจำวัน
นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตอื่นๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หาวิธีลดความเครียด และงดบุหรี่ ก็เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มภูมิต้านทานด้วย