|
กินผักตามฤดูกาล |
คนตะวันออกเชื่อว่าการรับประทานอาหารอย่างสอดคล้องกับฤดูกาล เป็น ผลดีต่อสุขภาพทำให้สุขภาพสมดุล และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งนี้ ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วย
การรับประทานอาหารอย่างสอดคล้องกับฤดูกาล เป็น ผลดีต่อสุขภาพทำให้สุขภาพสมดุล และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งนี้ ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วย ธาตุ 4 ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุน้ำ และธาตุไฟ ซึ่งธาตุ แต่ละอย่างมีลักษณะและธรรมชาติที่แตกต่างกัน และธาตุทั้ง 4 ยังเป็นแหล่งกำเนิดของโรค โรคจะเกิดกับธาตุใดธาตุหนึ่ง จะต้องมีธรรมชาติภายนอกมากระทบหรือมูลเหตุอื่นๆ (เช่น อาหาร อิริยาบถ อารมณ์ ฯลฯ) ทำให้เสียสมดุล จึงเกิดโรค
ธรรมชาติภายนอกที่สำคัญ คือ ธรรมชาติของความร้อน ความเย็น ความ หนาว เมื่อธรรมชาติจากภายนอก มากระทบธาตุ 4 ภายใน หากร่างกายต้านทานไม่ไหว จนธรรมชาติภายในเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ก็จะเจ็บป่วย ได้ ฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหาร หรือผักพื้นบ้าน ควรคำนึงถึงกฎเกณฑ์ดังกล่าวนั่นคือ ควรพิจารณาให้สอดคล้อง กับฤดูกาลใน 3 ฤดูกาล ดังต่อไปนี้
ฤดูร้อน (เดือน กุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม) ในฤดูร้อน ความร้อนในธรรมชาติจะเพิ่มขึ้น ความร้อนจากธรรมชาติภายนอก จึงมากระทบร่างกายกำเริบขึ้น และหากกำเริบมาก อาจส่งผลต่อธาตุน้ำ และธาตุดิน ได้ จนส่งผลให้ร่างกายมีอาการตัวร้อน ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย ปากแห้ง กระหายน้ำ ร้อนใน ท้องผูก ปัสสาวะน้อย และสี เหลืองจัด หรืออาจเกิดเป็นเม็ดขึ้นตามร่างกาย อาการดังกล่าว สามารถป้องกัน และบรรเทาได้ด้วยอาหารรสขมเย็น รสเปรี้ยว รสจืด อาหารเหล่านี้ จะทำให้ ความร้อนผ่อนคลายลง หรือช่วยลดความร้อนได้ ผักพื้นบ้านที่ควรรับประทานในฤดูร้อน เช่น มะระขี้นก ฮ้วนหมู ผักเฮือด ส้มป่อย ผักกูด ผักปลัง ตำลึง ชะอม มะขาม ผักหวาน ไม่ควรรับประทานอาหารรสร้อน รสเผ็ดจัด รสมัน เพราะจะเป็นธาตุไฟในร่างกาย เป็นผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ลำไย ขนุน ทุเรียน เป็น ต้น สำหรับเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับฤดูร้อน คือ น้ำผลไม้รสเปรี้ยว คั้นและเหยาะเกลือเล็กน้อย จะช่วยคลายร้อนได้ ตัวอย่างเช่น แตงโม ส้ม สับปะรด เป็นต้น
ฤดูฝน (เดือนมิถุนายน - เดือนกันยายน) เมื่อฤดูฝนย่างกรายเข้ามา ความเย็นอันเป็นธรรมชาติของฤดูฝนเพิ่มมากขึ้น สำหรับภายในร่างกาย ธาตุลม อัน เป็นธาตุที่มีลักษณะเคลื่อนไหว และมีธรรมชาติเย็น จะถูกกระทำโทษได้ง่าย ร่างกายจึงมักจะมีการเจ็บป่วย โดยมีมูลเหตุจากธาตุลมเป็นสำคัญ ความเย็นที่มีมาก เกินไป จะกระทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นไข้หวัดเล็กน้อยได้ อาการดังกล่าว สามารถป้องกันได้ โดยอาหารรสสุขุม รสเผ็ดร้อน ผักพื้นบ้านที่มี รสเผ็ดร้อน คือ ยอดพริก โหระพา ยี่หร่า แมงลัก กระเพรา หูเสือ ผักไผ่ พลูดาว ขิง ข่า ผักคาด กะทือ กระเจียว ผักแพว เอื้อง เป็นต้น
ฤดูหนาว (เดือน ตุลาคม - เดือนมกราคม) ความหนาวอันเป็นธรรมชาติของฤดูหนาว กระทบต่อร่างกาย หากร่างกายไม่อาจต้านทานได้ จะเกิดความเจ็บป่วย ความหนาวจะส่ง อิทธิพลต่อธาตุน้ำในร่างกาย ทำให้เจ็บป่วยได้มากกว่าธาตุอื่น และจะทำให้มีอาการผิวแห้ง มึนศีรษะ น้ำมูกไหล ขัดยอก ขยับเขยื้อนร่างกายไม่สะดวก ท้องอืด อาหารที่เหมาะกับอากาศในฤดูหนาว คือ อาหารรสขมร้อน รสร้อน และรสเปรี้ยว ผักพื้นบ้านที่เหมาะสม ในการรับประทานในหน้าหนาว คล้ายกับผักพื้นบ้าน ที่รับประทานหน้าฝน ตัวอย่างเช่น ข่าอ่อน กระชาย พริกไทย ยอดพริก ขมิ้น ผักไผ่ ผักแพว และผักที่มีรสเผ็ดร้อนทุกชนิด |
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 19 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1337 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|