ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวเย็นเดี๋ยวร้อน อาจทำให้เจ็บป่วยเป็นไข้ได้ง่าย ๆ เมื่อเจ็บป่วยถึงขั้นต้องพึ่งพารับการรักษาจากแพทย์มีเคล็ดลับ วิธีพบแพทย์ให้ได้ผล มาฝากกัน เคล็ดลับ เหล่านี้ ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข แปลจาก 20 Tips to Help Prevent Medical Errors คู่มือขนาดกะทัดรัดนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ก. หลักการที่สำคัญ ข. หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยา ค. หลักปฏิบัติหากต้องไปนอนโรงพยาบาล ง. หลักทั่วไปในการรับบริการสุขภาพ ในส่วนหลักการสำคัญ 2 ข้อแรก แบ่งเป็นเคล็ดลับข้อย่อยได้ดังนี้ เคล็ดลับประการที่ 1 พึงระลึกไว้เสมอว่า เราจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในทีมที่ให้การรักษา มีงานวิจัยยืนยันว่าผู้ป่วยที่มีส่วนร่วมในกระบวนการรักษามีแนวโน้มจะได้ผลการรักษาที่ดีกว่า เคล็ดลับประการที่ 2 ต้องแน่ใจว่าแพทย์ที่รักษาท่านทราบว่า ท่านได้รับยาหรือผลิตภัณฑ์ สุขภาพอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาที่ได้รับจากแพทย์ ท่านอื่นหรือหาซื้อมารับประทานเอง หรือแพทย์แผนกอื่นสั่งให้ ดังนั้น หากพบแพทย์หรือนอนโรงพยาบาลควรนำยาหรือผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ประจำมาเป็นข้อมูลเพื่อให้แพทย์ได้ทราบด้วย เคล็ดลับประการที่ 3 ต้องแน่ใจว่าแพทย์ที่รักษาท่านทราบว่า ท่านเคยแพ้ยาหรือมีอาการข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากยาชนิดใด เพื่อจะได้หลีก เลี่ยงยาประเภทดังกล่าว เคล็ดลับประการที่ 4 กรณีที่แพทย์ ตัดสินใจให้ยาแล้ว ท่านต้องพยายามทำความเข้าใจกับใบสั่งยาที่ได้รับ โดยเฉพาะลายมือแพทย์ที่เขียนไม่ชัดเจน ทำให้เภสัชกรจ่ายยาผิดพลาดและเป็นที่มาของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคนไข้ได้ เคล็ดลับประการที่ 5 ต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับ ยาที่ได้รับว่าใช้เพื่ออะไร ต้องใช้อย่างไร ใช้นานแค่ไหน และจะหยุดยาได้เมื่อไร ถ้าใช้ยาแล้วมีผลข้างเคียงต้องปฏิบัติตัวอย่างไร หรือมีกิจกรรมใดบ้างต้องหลีกเลี่ยงเมื่อกินยานี้ เนื้อที่หมดเสียก่อนแล้วไว้ต่อกันคราวหน้า เคล็ดลับประการที่ 6 เมื่อไปรับยาตามใบสั่งยาที่ห้องยา หรือร้านยา ต้องแน่ใจว่าเป็นยาที่เหมาะสมสำหรับท่านจริงๆ ท่านมีสิทธิที่จะถามเพื่อความมั่นใจว่ายาที่ได้รับเป็นยาที่เหมาะสมกับท่านจริงๆ โดยเฉพาะหากมีโรคเรื้อรังที่ต้องกินยาหลายขนานร่วมด้วยอยู่แล้ว ในการศึกษาวิจัยพบว่าความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในขณะจ่ายยา ได้แก่การได้รับยาผิดชนิด หรือได้รับยาในขนาดที่ผิดไม่ถูกต้องตามที่สั่ง เคล็ดลับประการที่ 7 หากรับยาแล้ว มีข้อสงสัยถึงวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากต้องรีบถามก่อนกลับบ้าน เพราะหากเข้าใจผิดพลาดจะนำไปสู่การกินยาหรือใช้ยาที่ผิดพลาด เช่น ฉลากระบุว่ารับประทานวันละครั้ง หลังอาหารหรือก่อนนอน มีคนไข้รับประทานยานี้วันละ 4 ครั้ง ทั้งหลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน เคล็ดลับประการที่ 8 ควรให้เภสัชกรแจ้งให้ท่านทราบถึงอันตรายหรืออาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยา และวิธีปฏิบัติ หากเกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะที่อยู่ที่สามารถติดต่อกลับ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร เคล็ดลับประการที่ 9 ท่านต้องแน่ใจว่าสามารถใช้ยาได้อย่างถูก ต้องและเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง เช่น ยาน้ำต้องถามให้แน่ใจว่าจะใช้อุปกรณ์ในการตวงอย่างไรจะเหมาะสม เช่น หนึ่งช้อนชา ไม่เท่ากับขนาดหนึ่งช้อนกาแฟ หากท่านไม่มีช้อนชา ให้ขอจากห้องยาหรือร้านยาได้ หากได้รับเป็นหลอดฉีดยาสำหรับตวงยาต้องแน่ใจว่าท่านใช้ได้อย่างถูกต้อง หรือกรณีที่เป็นยาพ่นต้องแน่ใจว่าพ่นถูกอวัยวะ การเก็บยาหลังเปิดขวดใช้แล้ว วิธีการใดที่เหมาะสม เช่น เก็บในตู้เย็น หรือต้องทิ้ง ภายหลังใช้เป็นเวลา 1 เดือน ในกรณียาหยอดตา สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือเล็กๆเล่มนี้ ลองติดต่อสมัครสมาชิก วารสารฉลาดซื้อ ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ที่โทร. 0-2952-5060-2 หรือโทร. 08-9761-9150 เพราะคู่มือนี้มีแจกให้สมาชิกวารสารไม่ได้วางแผงทั่วไป. |