อาการคัดจมูกเป็นอาการที่พบได้บ่อยและไม่จำเพาะเจาะจงกับโรคใดโรคหนึ่ง อาการคัดจมูกเนื่องจากโรคบางโรคสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา ได้แก่ โรคหวัด หรือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีอาการเล็กน้อย และอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ หรือเกิดไซนัสอักเสบตามมาได้ การวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุของอาการคัดจมูก จำเป็นต้องอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการสืบค้นเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย
สาเหตุที่ทำให้คุณคัดจมูก เกิดจากหลายประเด็น เช่น
1. โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
2. โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้
3. โรคจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราก็ได้
5. สิ่งแปลกปลอมอยู่ในโพรงจมูก ซึ่งมักพบบ่อยในเด็ก
6. เนื้องอกในโพรงจมูก เช่น ริดสีดวงจมูก หรือเนื้องอกชนิดร้าย (มะเร็ง)
7. โรคเยื่อบุจมูกเหี่ยวฝ่อ
8. ภาวะเลือดคั่งในผนังกั้นช่องจมูก
9. ภาวะกระดูกอ่อนของจมูกทางด้านข้างยุบตัว เวลาหายใจเข้า (nasal valve collapse)
10. ภาวะกระดูกเทอร์บิเนตด้านข้างโพรงจมูกบวมโต
11. ภาวะรูเปิดของโพรงจมูกด้านหลังตีบตัน (choanal atresia)
12. ต่อมแอดีนอยด์หลังโพรงจมูกโต
13. เกิดจากยาขยายหลอดเลือดบางชนิด เช่นใช้ยาหดหลอดเลือด (topical decongestant) นานเกินไป ยาจำพวก nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDS) ยาลดความดัน ยาฮอร์โมนบางชนิด
แพทย์จะวินิจฉัยอย่างไร
เมื่อคัดจมูก...ควรต้องรักษา
อาจทำได้โดยการรับประทานยา ล้างจมูก อบจมูกด้วยไอน้ำร้อน หรือพ่นยาในจมูก หรือรักษาโดยการผ่าตัดแล้วแต่สาเหตุ การล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออุ่น หรือการพ่นน้ำทะเลชนิดเสปรย์บรรจุขวดที่ใช้สำหรับล้างจมูกโดยเฉพาะ จะช่วยขจัดน้ำมูก สิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคในโพรงจมูก ทำให้จมูกโล่งขึ้น บรรเทาอาการคัดจมูกได้ อย่างไรก็ตามเมื่อให้การรักษาเบื้องต้นแล้วอาการคัดจมูกไม่ดีขึ้น ควรปรึกษา