หมายถึง โรคติดเชื้อที่เคยแพร่ระบาดในอดีต และสงบไปแล้วเป็นเวลานานหลายปี แต่กลับมาระบาดขึ้นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และกลับอุบัติซ้ำ มีดังต่อไปนี้คือ
๑. การเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำรงชีวิต - การจัดการที่อยู่อาศัย เช่น การใช้เครื่องปรับอากาศภายในอาคาร ทำให้มีโรคลีเจียนแนร์ หรือโรคสหายสงครามเกิดขึ้น
- การที่พ่อแม่ออกทำงานนอกบ้าน ไม่มีคนเลี้ยงเด็กที่บ้าน ไม่มีญาติผู้ใหญ่ดูแลต้องเอาลูกไปฝากเลี้ยงไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ทำให้เด็กอยู่ด้วยกันเป็นหมู่มากทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง จากเชื้อหลายๆ ชนิด และโรคติดเชื้อระบบหายใจ
- การบริโภคอาหาร การนิยมบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตก เช่น แฮมเบอร์เกอร์เนื้อสุกๆ ดิบๆ ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษลำใส้ใหญ่อักเสบและตกเลือด และเกิดกลุ่มอาการฮีโมลัยติก-ยูรีมิก การบริโภคอาหารกระป๋องทำใหเกิดอาหารเป็นพิษโบทูลิสมการบริโภคปลาดิบญี่ปุ่นทำให้เกิดก้อนทูมจากพยาธิอะนิซาคิสในกระเพาะและลำไส้(อะนิซาคิเอสิส)
- การวางแผนครอบครัว การใช้ยาคุมกำเนิดทำให้มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย และมีแนวโน้มที่จะเกิดการสำสอน ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคทางเพศสัมพันธ์ และทำให้เชื้อดื้อยา
- การเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติเพศสัมพันธ์ เช่น รักร่วมเพศ รักสองเพศ การใช้ปากในการร่วมเพศ เป็นทางที่ทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์
- การเดินทางทัศนาจรไกล ๆ และมีการท่องเที่ยวเพื่อแสวงเพศสัมพันธ์ (sex tour) ทำให้เกิดการติดเชื้อต่างถิ่น ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- สันทนาการ การไปตั้งค่ายพักแรม การเดินป่าอาจทำให้ถูกเห็บในป่ากัด และเป็นโรค เช่น แอร์ลิชิโนสิส โรคลายม์ โรคติดเชื้อริกเก็ตเซีย เป็นต้น
- การใช้ยาเสพย์ติด เช่น เฮโรอีน โคเคนโดยการฉีด และมักใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี เชื้อตับอักเสบบี
- การใช้ผ้าอนามัยชนิดดูดซับ (tampon) ทำให้เกิดกลุ่มอาการท๊อกซิก-ช๊อก
- การอาบน้ำในอ่างน้ำร้อน ทำให้ติดเชื้อ
Pseudomonas ที่ผิวหนัง การเล่นน้ำในแหล่งน้ำอุ่นๆ นอกจากจะติดเชื้อแล้ว ยังทำให้สมองอักเสบจากอะมีบาด้วย
๒. ผลของความก้าวหน้าในเทคโนโลยีของการรักษา
- การกำจัดกวาดล้างโรคไข้ทรพิษ ก็ทำให้มีโรคไข้ฝีดาษวานรอุบัติขึ้นในมนุษย์
- การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ โดยนำสารกดภูมิคุ้มกันในการรักษาโรคมะเร็ง มาใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะ ทำให้เกิดการติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่าย เพราะจะต้องได้รับยากดระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ และติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย
- การปลูกถ่ายกระจกตา ทำใหติดเชื้อพิษสุนัขบ้า และติดโรคคร็อยซเฟลด์-จาค๊อบ
- การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โรคที่เคยถูกควบคุมได้มาช้านาน เช่น คอตีบ ไอกรนได้ถูกละเลยเพราะเข้าใจว่า โรคถูกกวาดล้างไปแล้ว จึงไม่มีการฉีดวัคซีนปูพรมอย่างเข็มงวด โรคจึงกลับมาอุบัติใหม่
- ปัญหาเชื้อดื้อยา การใช้ยาไม่ถูกต้อง ใช้ยาไม่ครบขนาด ซื้อยารับประทานเอง การนำเอาปฏิชีวนะไปผสมอาหารสัตว์ทำให้เชื้อจุลชีพก่อโรคหลายชนิดดื้อยา เช่น เชื้อในหนองในเทียม
เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส เชื้อ
ซูโดโมแนส เชื้อวัณโรค เชื้อมาลาเรีย เป็นต้น
- วิธีการวินิจฉัยโรคใหม่ๆ ทำให้มีหัตถการทะลุทะลวง (invasive) เป็นการนำเอาเชื้อโรคใหม่ๆ เข้าสู่ร่างกาย
๓. ปัญหาสิ่งแวดล้อม - การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชและแมลงทำให้แมลงเหล่านี้แพร่พันธุ์มากขึ้น และยังมีสารตกค้างอื่นๆ ที่ทำให้สิ่งแวดล้อมผันแปรไป เช่น พีซีบี สารกัมมันตรังสี โลหะหนักต่างๆ ซีเอฟซี
- ความแห้งแล้ง ความอดอยาก ทำให้สัตว์ป่าเข้าสู่หมู่บ้าน ซึ่งสันนิษฐานว่าจะเป็นเหตุของการกลายพันธุ์ของไวรัสเอชไอวีว่ามาจากไวรัสของลิง ความแห้งแล้งทำให้คนชนบทย้ายถิ่นฐานสู่เมืองใหญ่ รวมทั้งการศึกสงคราม และความขัดแย้ง ก็จะมีผู้อพยพลี้ภัย เป็นการนำโรคเข้าไปสู่ถิ่นปลอดโรค เช่น มีการอพยพของแรงงานต่างชาติเข้ามาในประเทศ และได้นำโรคที่เคยสงบแล้วเข้ามาอาทิ โรคเท้าช้าง คอตีบ โปลิโอ เป็นต้น การขาดอาหารจากความแห้งแล้งทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ จึงติดโรคต่างๆ ได้ง่าย
- การตัดไม้ทำลายป่า การปลูกป่าใหม่ทำให้คนไปอยู่ใกล้ป่า ทำให้ติดโรคได้หลายโรค เช่น โรคลายม์ โรคริกเก็ตเซีย
๔. การอุตสาหกรรมผลิตอาหาร และจำหน่ายอาหาร
- การเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงสุกร เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ นำไปสู่การระบาดของไข้สมองอักเสบเจอี
- การเปลี่ยนแปลงวิธีเลี้ยงสัตว์ โดยนำอวัยวะสัตว์ไปผลิตเป็นอาหารเสริมในการเลี้ยงวัว ทำให้เกิดโรควัวบ้าในอังกฤษ
- การผลิตอาหารในปริมาณที่มากพร้อมๆ กัน มีร้านจำหน่ายเป็นเครือข่ายสาขา เช่น อาหารจานด่วนแบบตะวันตก ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ลำใส้ใหญ่อักเสบตกเลือดกลุ่มอาการฮีโมลัยติก-ยูรีมิก
๕. การค้าขายระดับสากล
- การส่งยางรถยนต์เก่า จากเอเชียอาคเนย์ไปยังอเมริกากลาง นำเอาไข่ยุงลายกลับไปแพร่ในอาณาบริเวณที่เคยปลอดยุงลาย และทำให้เกิดการระบาดไข้เลือดออกเด็งกี่
- การส่งสัตว์ทดลอง เช่น ลิงจากทวีปแอฟริการไปยุโรป ทำให้มีการอุบัติของไข้เลือดออกมาร์บวร์กในยุโป การส่งลิงแสมจากฟิลิปปินส์ไปสหรัฐอเมริกา ทำให้มีการอุบัติของเชื้อไวรัสอีโบลา เรสตัน เป็นต้น
- การนำสัตว์จากแหล่งต่างๆ ไปเลี้ยงในที่ห่างไกล ทำให้มีการแพร่โรคจากต่างถิ่น เช่น การระบาดของโรคพิษสุนักบ้าในแรคคูนในสหรัฐอเมริกา
๖. ศึกสงคราม ความขัดแย้ง มีการเคลื่อนย้ายเป็นขบวนใหญ่ทำให้มีการนำโรคจากถิ่นหนึ่งไปสู้ถิ่นหนึ่ง เช่น โรคหัดเยอรมัน มีการสัมผัสธรรมมชาติมากขึ้น เช่น กลุ่มอาการไข้เลือดออกที่มีอาการทางไต โรคทางเพศสัมพันธ์สงครามชีวภาพ (เชื้อโรค) ฯลฯ
๗. อื่นๆ ยังมีปัจจัยย่อยๆ อีกมากที่เป็นสาเหตุส่งเสริมให้มีโรคใหม่ๆ อุบัติขึ้น ซึ่งจะต้องคอยเฝ้าระวังสังเกตกันต่อไป