คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 21/12/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม


 
ระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ (Natural Ventilation)
     ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยสร้างความเย็นสบายภายในบ้านด้วยการ ใช้เครื่องปรับอากาศและพัดลม แต่ภาระที่ตามมาก็คือ การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานที่ได้มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ที่เกิดจากซากฟอสซิล ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ การเผาไหม้เชื้อเพลิงเหล่านี้ทำให้เกิดความร้อนและก๊าซที่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซนของบรรยากาศ เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green-house effect) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้น และกำลังเป็นวิกฤตทางธรรมชาติที่คุกคามโลกของเราอยู่ในขณะนี้

สำหรับประเทศไทยเราซึ่งมีภูมิอากาศร้อนชื้นเป็นบรรทัดฐาน การออกแบบบ้านให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศโดยใช้หลัก ระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับกันว่า มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะช่วยลดความสิ้นเปลืองในการใช้พลังงานไฟฟ้าลงและมีความสัมพันธ์สอดคล้อง กับธรรมชาติอย่างดี

หลักเกณฑ์ทั่วไปของการระบายอากาศ
เทคนิคการช่วยให้เกิดระบบระบายอากาศทางธรรมชาติ
อุปสรรคของระบบการระบายอากาศ : ความชื้นและความร้อน

 

หลักเกณฑ์ทั่วไปของการระบายอากาศ


เนื่องจากภูมิอากาศของเราเป็นแบบร้อนชื้น อุณหภูมิทั่วไปภายในอาคารบ้านเรือนหากปราศจากเครื่องปรับอากาศแล้วก็จะมีความใกล้เคียงกับภายนอกอาคารและบางครั้งอาจจะสูงกว่าภายนอกได้ แม้เมื่อเราจะได้ช่วยลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้ามาภายในบ้านด้วยกรรมวิธีต่างๆที่กล่าวถึงในตอนแรกๆแล้วก็ตาม อุณหภูมิเฉลี่ยนี้จะอยู่ในราว 28-33 องศาเซลเซียส การระบายอากาศ(Ventilation) อาศัยหลักเกณฑ์ของการถ่ายเทความร้อนโดยให้อากาศที่เย็นและสดชื่นกว่าจากภายนอกอาคารไหลเข้ามาสู่ภายในห้องโดยอาศัยความแตกต่างกันของความกดอากาศตามธรรมชาติ หรือกระแสลม ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาปัญหาความร้อนไปได้

ความรู้สึกเย็นสบายที่เกิดขึ้นกับร่างกายเรานั้นเกิดจากการที่กระแสลมช่วยพัดพาให้เหงื่อระเหยออกไปจากผิวหนังของเราโดยวิธีการพาความร้อนซึ่งทำให้อุณหภูมิที่ผิวลดลง เราจึงรู้สึกเย็น

ดังนั้น การออกแบบบ้านให้มีระบบการระบายอากาศที่ดี จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงการเปิดช่องต่างๆ ที่ผนังบ้านเพื่อให้ลมเข้า-ออก รูปทรงของบ้านทั้งรูปทรงหลังคาและผังพื้น การจัดวางหันทิศทางของบ้าน รูปร่างของประตูและหน้าต่าง รวมทั้งองค์ประกอบบริเวณเหนือหน้าต่างมีส่วนช่วยดักจับลมและปิดกั้นลม การตัดเล็มใบไม้กิ่งไม้ไม่ให้ขวางทางลมก็เป็นส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน

เนื่องจากในพื้นที่แต่ละแห่งมีทิศทางและความเร็วของกระแสลมแตกต่างกัน จึงควรที่จะได้ตรวจสอบถึงทิศทางที่ลมพัดมาเป็นประจำในแต่ละฤดูกาล ทั้งนี้เพราะอาคารข้างเคียงตลอดจนพืชพันธุ์ที่ปลูกอยู่ในบริเวณนั้นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กระแสลมเบี่ยงเบนได้ กระแสลมที่พัดผ่านในแต่ละพื้นที่นั้นเกิดจากพื้นที่ที่มีความกดของอากาศสูงไหลมาสู่พื้นที่ที่มีความกดอากาศต่ำ เมื่ออากาศไหลผ่านเข้ามาภายในห้องทางช่องประตูและหน้าต่าง ก็จะทำให้เกิดระบบการระบายอากาศทางธรรมชาติขึ้น

เราไม่สามารถจะเลือกทำเลของการสร้างบ้านให้ตรงกับทิศทางของลมที่จะไหลเข้าบ้านได้เสมอไป ดังนั้น เราอาจจะใช้องค์ประกอบของบ้าน เช่น แนวรั้ว แผงต้นไม้ช่วยนำทางให้ลมไหลเข้ามาในทิศทางที่เราต้องการและนำสู่ตัวบ้านด้วยวิธีการต่างๆ

เทคนิคการช่วยให้เกิดระบบระบายอากาศทางธรรมชาติ


เมื่อการระบายอากาศตามธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราต้องการแต่ขาดกระแสลมที่พอเพียง เราสามารถชักจูงให้เกิดการไหลเวียนของลมได้ด้วยการใช้กระแสการพาความร้อนของอากาศภายใต้หลักที่ว่า อากาศร้อนขยายตัวทำให้ความหนาแน่นลดลง อากาศบริเวณโดยรอบที่เย็นกว่าและมีความหนาแน่นมากกว่าก็จะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ ซึ่งสถานการณ์นี้เรานำมาใช้เมื่อภายในบ้านมีอุณหภูมิของอากาศสูงกว่าภายนอก และต้องการทำให้ภายในบ้านเย็นลง อย่างไรก็ตามวิธีการนี้จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังไม่ให้กลับกลายเป็นว่าเราดึงเอาความร้อนของอากาศจากภายนอกเข้ามาภายในบ้าน ซึ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น เราลองมาดูเทคนิคต่างๆ กันดีกว่าค่ะ

  • การใช้ปรากฏการณ์ของปล่องไฟ (Stack effect) เป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ โดยการทำช่องเปิดที่ตอนบนสุดของอาคารและส่วนล่างสุดของอาคาร ช่องทางที่จะให้ลมออกควรอยู่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่นที่สันหลังคา โดยให้อากาศร้อนลอยสูงขึ้นออกไปจากบ้านทางปล่องระบายที่อยู่บนหลังคาและอากาศเย็นไหลเข้ามาทางช่องหน้าต่างที่อยู่ชั้นล่างของบ้าน จึงจำเป็นต้องอาศัยการเจาะช่องหน้าต่างและปล่องให้สัมพันธ์กัน ดังนั้น รูปทรงของบ้านจึงเข้ามามีบทบาทต่อการระบายอากาศในวิธีนี้

  • การกระจายลมเข้าสู่ภายในอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการที่จะทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การทำช่องหน้าต่างให้อยู่เยื้องทะแยงมุมตรงข้ามกัน ซึ่งจะทำให้ลมไหลผ่านได้ทั่วถึงมากกว่าการเปิดช่องหน้าต่างตรงข้ามกันตรงๆ และจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมภายในห้องเช่น เฟอร์นิเจอร์และฉากกั้นห้อง

    นอกจากนี้แล้ว หากกระแสลมที่พัดเข้ามาในห้องจะมีความเร็วสูงขึ้นเมื่อช่องทางออกของลมมีขนาดใหญ่กว่าช่องหน้าต่างที่ให้ลมเข้า อย่างไรก็ตาม ช่องทางที่ลมไหลเข้าก็ควรจะมีขนาดใหญ่มากพอที่จะให้ลมที่เข้ามาภายในห้องมีปริมาณเพียงพอสำหรับการทำให้ภายในห้องเย็นสดชื่นขึ้น

    ระบบการไหลเวียนของอากาศโดยธรรมชาตินี้ควรทำให้ได้มากที่สุดในช่วงเวลากลางวันและพยายามให้ลมไหลผ่านตัวคนมากที่สุดคือ ความสูงของช่องหน้าต่างควรจะอยู่ในระดับประมาณ 80 เซนติเมตร จากพื้นนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้ความร้อนได้ถูกการระบายออกไปจากบ้านมากที่สุด

  • การล่อให้ลมไหลเวียนเข้าสู่ภายในบ้าน อีกวิธีหนึ่ง ได้แก่ การล่อให้ลมไหลเวียนเข้าสู่ภายในบ้านโดยใช้ลานด้านทิศเหนือและทิศใต้ เพื่อสร้างความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศ ซึ่งจะเป็นไปตามฤดูกาล โดยให้ลานด้านหนึ่งอยู่ในร่มเงาเพื่อบรรจุความเย็นของอากาศ

    ไว้ให้มากที่สุดเราอาจจะเปรียบได้กับ "ถังเก็บความเย็น" และลานอีกด้านหนึ่งให้ถูกแสงแดดให้มากที่สุดเพื่อสร้างลำอากาศร้อนที่ลอยตัวสูงขึ้น เมื่อพื้นลานรับความร้อนอย่างเต็มที่แล้วก็จะดึงให้อากาศเย็นทางด้านที่เป็นถังเก็บความเย็นไหลผ่านเข้าไปในตัวบ้านซึ่งเป็นปรากฏการณ์ในทำนองเดียวกับปล่องไฟข้างต้น สูงขึ้น เมื่อพื้นลานรับความร้อนอย่างเต็มที่แล้วก็จะดึงให้อากาศเย็นทางด้านที่เป็นถังเก็บความเย็นไหลผ่านเข้าไปในตัวบ้านซึ่งเป็นปรากฏการณ์ในทำนองเดียวกับปล่องไฟข้างต้น


  • อุปสรรคของระบบการระบายอากาศ : ความชื้นและความร้อน


    ระบบการระบายอากาศโดยธรรมชาติที่กล่าวมานี้สามารถนำมาใช้ได้เมื่ออุณหภูมิของอากาศภายนอกบ้านต่ำพอที่จะทำให้เกิดความเย็นสบายได้ คือช่วยให้เกิดการระเหยของเหงื่อที่ผิวหนังได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการนำความชื้นเข้ามาภายในบ้าน โดยรู้เท่าไม่ถึงการ เช่น ไปทำสระน้ำไว้ตรงทางไหลเข้าของลม เป็นต้นเพราะระบบการสร้างความเย็นโดยการระบายอากาศนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่ออากาศที่ไหลเข้ามาแทนที่อากาศภายในบ้านนั้นมีความเย็นกว่าและชื้นน้อยกว่าอากาศภายในบ้านเท่านั้น

    ความชื้นภายในบ้าน ห้องครัวและห้องน้ำควรมีหน้าต่างเปิดระบายออกสู่ภายนอกบ้านได้โดย ตรง และต้องระวังไม่ให้ลมพัดพาเอาไอร้อนและไอชื้นจากห้องดังกล่าววนกลับเข้ามาในบ้านอีกด้วย การปลูกต้นไม้ภายในบ้านก็เช่นกัน พยายามหลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ที่คายน้ำและต้องการการรดน้ำบ่อยๆไว้ตรงบริเวณที่ต้องรับแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานานๆ

    เนื่องจากประเทศไทยมีอากาศร้อนที่ทำให้เรารู้สึกเหนอะหนะไม่สบายตัว การระบายอากาศที่เป็นประโยชน์จำเป็นจะต้องใช้ลมที่มีความเร็วไหลผ่านตัวเราเพื่อให้เหงื่อระเหยพาความร้อนออกไปได้ตลอดปี ดังนั้นบ้านเรือนที่สร้างเพื่อการนี้จำเป็นที่จะต้องมีช่องเปิดมากและให้เกิดร่มเงากับตัวบ้านมากที่สุดและให้มีการระบายอากาศอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี พร้อมกันนั้นก็ต้องป้องกันและทนทานต่อแสงแดด สายฝน มดปลวกและแมลงต่างๆได้เป็นอย่างดี


    ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
    โทรศัพท์: 08-9180-5710
    Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved