คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 25/4/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม


 
วางผังห้องให้สัมพันธ์กับทิศทางของบ้าน
      ในการวางผังบ้านให้ผู้อยู่อาศัยได้ความร่มเย็นอย่างเป็นธรรมชาตินั้น นอกเหนือจากเรื่อง การจัดทิศทางของบ้านให้หันหน้ารับลมหลบแดดดังที่เราได้คุยมาแล้วในบทความครั้งก่อนๆ เรื่องของการจัดวางผังห้องต่างๆ ภายในบ้านก็ต้องมีความสอดคล้องเช่นเดียวกัน

เราจำเป็นต้องวางตำแหน่งห้องแต่ละห้องภายในบ้านให้เหมาะกับทิศทางการโคจร ของดวงอาทิตย์และช่วงเวลาที่เราประกอบกิจกรรมนั้นๆในแต่ละห้อง รวมทั้งให้สัมพันธ์กับทิศ ทางลมด้วย เพื่อห้องจะได้ไม่ร้อนอบอ้าวในเวลาที่เราเข้าไปใช้งาน และขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้ความร้อนและกลิ่นไอต่างๆไหลเข้าสู่ห้องอื่นๆ ของบ้าน

อย่างเช่น ห้องนอน โดยทั่วไป เรามักใช้ห้องนอนโดยเริ่มในช่วงหัวค่ำหลังสองถึงสามทุ่มจนถึงเช้าตรู่ ช่วงนี้ควรจะให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นสบายคลายความร้อนลงกว่าเมื่อช่วงกลางวัน และถ้าหากเปิดเครื่องปรับอากาศก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีกำลังมาก เพราะเราได้ทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นลงโดยธรรมชาติแล้ว นอกจากนี้ ห้องนอนไม่ควรมีกลิ่นรบกวนจากครัวและควรเป็นห้องที่ให้ความรู้สึกสบายและปลอดภัย เป็นต้น

วิธีการทางธรรมชาติที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเรื่องง่ายๆ และไม่เปลืองสตางค์ สามารถปรับแต่งบ้านของคุณให้เย็นสบายและปลอดกลิ่นรบกวนได้

แบ่งส่วนต่างๆ ของบ้านออกเป็นโซน (zones) เพื่อจัดวางลงในผังบ้านให้สัมพันธ์กับวงโคจรของดวงอาทิตย์ ระยะเวลาการใช้งานและกระแสลม
ป้องกันและปิดกั้น ไม่ให้ความร้อน ความชื้นและกลิ่นไอที่ไม่พึงประสงค์ของโซนนั้น เคลื่อนเข้าสู่โซนอื่นๆ โดยการทำตัวกันชนหรือ buffer ซึ่งได้แก่ การใช้ประตู หรือส่วนหนึ่งของเฟอร์นิเจอร์ มาเป็นตัวกั้น หรืออาจวางผังให้มีห้องใดห้องหนึ่งมาคั่นไว้ เช่น นำห้องน้ำมาไว้ทางทิศตะวันตกเพื่อป้องกันแดดและความร้อนเข้าสู่ห้องนอน เป็นต้น
ใช้เครื่องปรับอากาศในส่วนที่จำเป็นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น เช่น ติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ห้องนอน ก็ควรปิดกั้นส่วนห้องนอนไม่ให้ความเย็นจากเครื่องปรับอากาศไหลสู่ห้องน้ำที่อยู่ติดกัน หรือส่วนโถงภายนอก ซึ่งจะเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าไปในตัว และทำให้ห้องนอนเย็นฉ่ำในช่วงเวลาที่ใช้งาน สำหรับในส่วนอื่นๆ ควรอาศัยกระแสลมช่วยการระบายอากาศและทำให้เย็นสบายโดยธรรมชาติ
การแบ่งส่วนหรือโซนภายในบ้าน

การแบ่งส่วนหรือโซนภายในบ้านเพื่อจัดผังให้มีความเย็นสบายโดย ธรรมชาตินี้ พอจะกล่าวถึงโดยสังเขปได้ดังนี้

ส่วนกันชน หรือ buffer zone เป็นพื้นที่บ้าน ส่วนที่เรามักจะไม่ค่อยได้ใช้งาน และทำหน้าที่เป็น ส่วนกั้นระหว่างพื้นที่ภายในบ้านและภายนอกบ้าน เช่นที่ โรงรถ ห้องใต้เพดาน ห้องเก็บของ คอร์ตหรือ ชานโล่งที่กั้นระหว่างเรือนแต่ละหลัง เป็นต้น
ส่วนที่ก่อปัญหา พื้นที่ใช้งานในส่วนเหล่านี้ มักนำ ความยุ่งยากมาสู่นักออกแบบเสมอ ได้แก่ ห้องน้ำที่มี ปัญหาเกี่ยวกับความชื้นและกลิ่น ห้องครัวที่ก่อให้เกิ ดควันและกลิ่นอาหารที่จะฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน ส่วน ของพื้นที่ก่อปัญหานี้ควรวางผังให้มีการปิดกั้นออก จากส่วนที่ต้องการความสงบหรือที่พักผ่อน ซึ่งจะ กล่าวถึงต่อไป
ส่วนนั่งเล่น พักผ่อน เป็นห้องที่มักใช้งานในเวลา กลางวัน ช่วงสาย และช่วงบ่าย เป็นต้น ย่านนี้ควรจัด ให้เกิดความสบายได้เป็นอย่างดีในเวลากลางวัน
ส่วนห้องสำหรับนอนหลับพักผ่อน ซึ่งใช้งานในเวลากลางคืนเป็นหลัก ได้แก่ห้องนอน

ส่วนพื้นที่ซึ่งได้แบ่งออกมาให้เห็นชัดเจนนี้ ในบางกรณี เราอาจวางห้องบางห้องซึ่งเป็น ส่วนที่ก่อปัญหาให้เป็นกันชนไปได้ในตัว เช่น จัดให้ห้องน้ำเป็นส่วนกั้นระหว่างห้องนอนสอง ห้องและให้อยู่ทางทิศตะวันตกเพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่ห้องนอนได้ด้วย ในการปิดกั้นส่วนต่างๆ ให้แยกออกจากกันนั้น นอกจากการกั้นห้องแล้ว เรายังสามารถใช้ต้นไม้มาช่วยเป็นส่วนปิดกั้นให้เกิดร่มเงาได้ด้วยเช่นกัน

วางผังอย่างไรให้ทุกส่วนในบ้านสอดคล้องกัน

ก่อนที่เราจะลงมือจัดวางผังห้องต่างๆ เราควรทำความเข้าใจกับทิศทางโคจรของดวง อาทิตย์ซึ่งจะมีส่วนสัมพันธ์กับอุณหภูมิภายในบ้านกันสักนิด

ทิศตะวันออกของบ้าน เป็นส่วนที่รับแดดในตอน เช้าตลอดปี และจะมีความร้อนสะสมเกิดขึ้นในช่วง เวลาประมาณ10นาฬิกาไปจนถึงใกล้เที่ยง และในตอน บ่ายก็จะมีช่วงเวลาที่ห้องในส่วนนี้จะเย็นลงสัก 2-3 ชั่วโมงจนถึงเวลาเย็น คือประมาณ 4 โมงถึง 6 โมง เย็น ทิศนี้สามารถใช้ต้นไม้บังร่มเงาให้เกิดความเย็น สบายได้
ห้องส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของบ้าน จะรับแดดและ ความร้อนเกือบตลอดวันเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนต่อปี (จากกลางเดือนกันยายนถึงกลางเดือน มีนาคม) เนื่องจากตะวันอ้อมใต้ ส่วนทางทิศใต้นี้จะมี ความร้อนสะสมมากในช่วงเวลาประมาณบ่ายสอง โมงถึงบ่ายสี่โมง
ห้องส่วนทิศเหนือ จะเย็นสบายเกือบตลอดปี และได้ รับอิทธิพลจากดวงอาทิตย์บ้างในช่วงกลางเดือน พฤษภาคม ถึง เดือนกรกฎาคม นอกจากนั้นก็จะเย็น สบายตลอดปี
ส่วนทิศตะวันตกของบ้าน รับความร้อนในช่วง บ่ายทุกวันตลอดปี และจะร้อนจัดมากในช่วงเวลาที่มี อากาศร้อนที่สุดของวัน คือช่วงบ่ายสองโมงถึงสี่โมง เย็น

การจัดวางผังห้องต่างๆ

หลังจากที่ได้ข้อสรุปกันแล้วในเรื่องทิศทางของแดด เราก็สามารถจัดวางผังห้องต่างๆ ให้สามารถหลบแดดรับลมได้อย่างสอดคล้องกับธรรรมชาติดังนี้

ส่วนห้องนอน
ควรอยู่ทางซีกตะวันออกของบ้าน โดยจะเป็นทิศตะวันออกเฉียงเหนือหรือ ทิศตะวันออก เฉียงใต้ก็ได้ ซึ่งจะทำให้ห้องนอนมีเวลาคลายความร้อนลงจากการสะสมความร้อนในช่วง เช้า ซึ่งเมื่อถึงช่วงบ่ายๆเย็นๆ ห้องนี้ก็จะคลายความร้อนลงไปมาก จะเห็นว่าทิศตะวันตกเป็น ทิศที่ไม่เหมาะกับการทำห้องนอนเนื่องจากความร้อนที่สะสมตัวในช่วงบ่ายนั่นเอง
ส่วนนั่งเล่นพักผ่อน
จัดไว้ทางเหนือจะสบายที่สุด หรือทางทิศใต้ที่มีร่มเงาของต้นไม้ช่วยกรองแสงอาทิตย์ลง ก็จะร่มรื่นน่าอยู่มาก
ส่วนกันชน
ควรจัดไว้ทางทิศตะวันตก เพื่อช่วยกันความร้อนเข้ามาห้องอื่นๆ ได้แก่โรงรถ ห้องเก็บของ ห้องน้ำ หรือห้องที่เราใช้เวลาในส่วนนี้น้อยมาก
ส่วนกันชนที่เป็นระเบียงและชานโล่ง
ช่วยให้เกิดบรรยากาศที่รื่นรมย์ได้เป็นอย่างดีเมื่อเรานำมาจัดวางไว้ในส่วนทิศใต้และทิศ ตะวันตก โดยใช้พันธุ์ไม้เลื้อยปกคลุมให้ดูงดงาม
ส่วนก่อปัญหา
ได้แก่ห้องครัว และห้องน้ำ ห้องครัวควรจัดให้อยู่ด้านใต้ลม ดังนั้นหากวางครัวไว้ทางทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือก็จะช่วยไม่ให้ลมพัดเอากลิ่นอาหารเข้ามาในบ้านได้ และการกั้นส่วนครัว โดยใช้เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีช่องส่งอาหารตรงกลางต่อกับห้องอาหาร ก็จะช่วยให้การออกแบบแบบเปิดโล่ง หรือ open plan เป็นไปได้สะดวกขึ้น

เมื่อพิจารณาภาพโดยรวมแล้ว เราจะเห็นว่าห้องนอนและห้องครัวไม่สามารถจะจัดลงไว้ ในโซนเดียวกันได้และทิศทางที่จัดวางก็ควรอยู่คนละด้าน การปิดกั้นส่วนที่ก่อปัญหาออกจาก ส่วนอื่นๆ ก็ควรได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันความร้อนและความชื้นและมลพิษ ออกจาส่วนพักผ่อนอย่างมีอนามัยของเรา

ห้องนอนควรจัดไว้ชั้นบนของบ้านทั้งนี้เพื่อให้ได้รับลมมากขึ้นกว่าชั้นล่าง และมีความเป็นสัดส่วนและปลอดภัย ยกเว้นห้องนอนของผู้สูงอายุซึ่งควรอยู่ชั้นล่าง ห้องที่ไม่ต้องการการระบายอากาศเท่าใดนักเห็นจะมีแต่ห้องเก็บของ จึงควรอยู่ชั้นล่างของบ้านและใช้พื้นที่ในส่วนทิศตะวันตกก็เป็นการดี


ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ทุกๆ บ้านจะมีแปลนเช่นนี้ เพราะที่กล่าวมานี้ยังไม่ได้นับรวมเอาถึงสภาพภูมิอากาศย่อย หรือไมโครไคลเมต(microclimate) ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละที่ เช่น บางบ้านทิศตะวันตกมีความร่มรื่นมากกว่าทิศตะวันออกเพราะข้างบ้านปลูก ต้นไม้ใหญ่ไว้เป็นแนวครึ้ม ส่วนทิศตะวันออกติดกับอู่ซ่อมรถ ซึ่งเสียบรรยากาศไปกว่าครึ่ง ก็ควรจัดย่านกันชนไว้ทางทิศตะวันออกแทน หรือบางครั้งบ้านพักตากอากาศริมทะเลจะได้รับอิทธิพล ของลมบกลมทะเลซึ่งทำให้แตกต่างไปจากปัจจัยที่กล่าวข้างต้น

ดังนั้น การออกแบบจึงไม่มีสูตรตายตัวแต่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบรรยากาศในแต่ละ ที่ได้โดยอาศัยปํจจัยที่กล่าวมา ลองคลิกดูบรรยากาศหลากหลายของส่วนต่างๆ ภายในบ้านและผังที่เหมาะสมดูเลยค่ะ


ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved