คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 19/4/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

โรคกระดูกพรุน ...คุณรู้จักดีแค่ไหน?

ด้วยวัยที่มากขึ้นมักมาพร้อมกับความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย “กระดูกพรุน” ก็เป็นภาวะเสื่อมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ปัจจุบันจึงมักพบเห็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเกี่ยวกับกระดูกออกวางจำหน่ายในท้องตลาดมากมาย เพื่อยื้อความแข็งแรงของโครงสร้างของร่างกายเอาไว้ให้นานเท่าที่จะทำได้

โดยปกติกระดูกของคนเราเป็นอวัยวะที่มีชีวิต กระดูกจะมีเซลล์หลักอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกมีหน้าที่สลายกระดูกเรียกว่า Osteoclast และอีกชนิดหนึ่งมีหน้าที่สร้างกระดูกใหม่เรียกว่า Osteoblast ซึ่งเซลล์ทั้ง 2 ชนิดนี้ทำงานอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย โดยช่วงเวลาของการสร้างและสลายกระดูกสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงดังนี้

1. ช่วงของการสร้างมวลกระดูก
เริ่มต้นเมื่อแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 30 ปี ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการสร้างมวลกระดูกมากกว่าการสลายมวลกระดูก มวลกระดูกของร่างกายจึงเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดที่เรียกว่า Peak Bone Mass
2. ช่วงของการคงมวลกระดูก หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้วการสร้างกระดูกจะลดลงจนเท่ากับการสลายกระดูก มวลกระดูกรวมจึงคงที่ไปจนถึงอายุประมาณ 45 ปี
3. ช่วงการสลายมวลกระดูก จากอายุ 45 ปีขึ้นไป การสร้างมวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆ มวลกระดูกรวมของร่างกายจึงลดลงตามลำดับ สตรีในช่วงหมดประจำเดือน การสลายมวลกระดูกจะรวดเร็วมากทำให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ผู้ป่วยมีมวลกระดูกต่ำกว่าปกติ และมีแนวโน้มจะต่ำลงเรื่อยๆ จนเป็นสาเหตุให้เกิดกระดูกหักจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย และมีโอกาสที่กระดูกที่หักอาจไม่สามารถติดกันได้


อาการสำคัญของโรค ได้แก่ ปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ต่อมาความสูงของลำตัวจะค่อยๆ ลดลง หลังจะโก่งค่อมหากหลังโก่งค่อมมาก ๆ จะทำให้ปวดหลังมากเสียบุคลิก เคลื่อนไหวลำบากระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารถูกรบกวน เมื่อเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจจะหายยาก ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องอืดเฟ้อ และท้องผูกเป็นประจำ


กระดูกพรุนอันตรายอย่างไร?
โรคแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของโรคกระดูกพรุน คือ กระดูกหัก บริเวณที่พบมาก ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ซึ่งหากกระดูกสันหลังหัก จะทำให้เกิดอาการปวดมาก จนไม่สามารถเคลื่อนไหวไปไหนได้

การพักรักษาตัวเป็นเวลานานย่อมทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นได้ เช่น ภาวะถุงลมโป่งพอง ภาวะการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุให้สุขภาพโดยรวมแย่ลงอย่างรวดเร็วจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
เมื่อผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนได้รับอุบัติเหตุทำให้เกิดภาวะกระดูกหัก กระดูกจะใช้เวลาในการเชื่อมต่อตัวเองนานกว่ากระดูกปกติ หรืออาจไม่ติดเลยก็ได้ ผู้ป่วยจะต้องอยู่ในเฝือกนานขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดอาการข้อยึดติด ไม่สามารถใช้ร่างกายส่วนนั้นได้เป็นระยะเวลานาน หรืออาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดยึดกระดูกซึ่งผลการรักษามักไม่ได้ผลดี

การตรวจหาโรคกระดูกพรุน

ปัจจุบันมีเครื่องมือวัดความหนาแน่นของกระดูก Bone DEXA scan (Dual Energy X-ray Absorptiometry) เป็นเครื่องมือเอ็กซเรย์ระบบ 2 พลังงาน ที่ใช้ในการประเมินผลว่า ผู้มารับบริการมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใด และยังช่วยในการตัดสินใจวางแผนการรักษาและติดตามผลการรักษาอย่างเหมาะสม โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาส่งตรวจส่วนที่ต้องการตามรอยโรคของผู้ป่วย แต่หากต้องการตรวจเพื่อสุขภาพ จะแนะนำให้ตรวจ 2 บริเวณ คือ กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก ซึ่งเป็นวิธีที่จะทราบถึงสภาวะมวลกระดูกของเราได้ดีที่สุด การตรวจหามวลกระดูกจะแปรผลออกมาเป็นค่าทางสถิติ โดยใช้การเปรียบเทียบมวลกระดูกของเรากับมวลกระดูกของประชากรในอายุและเพศเดียวกัน

การแปรผลการตรวจมวลกระดูกจะแปรผลออกมา คือ

  • มวลกระดูกปกติ (Normal) หมายถึง มีมวลกระดูกหนาแน่นเป็นปกติในคนที่อายุยังน้อย
  • มวลกระดูกบาง (Osteopenia) หมายถึง มีมวลกระดูกน้อยกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นโรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่ต้องรับการรักษาก่อนที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุน (Osteoporosis) หมายถึง มีมวลกระดูกน้อยกว่าปกติมากจนเสี่ยงต่อกระดูกหักหรือกระดูกยุบตัว

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

  • หญิงวัยหมดประจำเดือน การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้กระดูกสลายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น
  • หญิงที่มีประจำเดือนหมดเร็ว หรือ หญิงที่ตัดรังไข่
  • กรรมพันธุ์จากมารดาสู่บุตร
  • ชาวเอเชีย และคนผิวขาว มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนยุโรป
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 23 มกราคม 2555
จำนวนผู้อ่าน : 1257 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
ที่มาของคำว่า กระดาษ (ดู 5116 ครั้ง)
คุณพอใจกับงานที่ทำอยู่แค่ไหน ? (ดู 4388 ครั้ง)
7 ไอเดีย แต่งห้องทํางาน (ดู 4701 ครั้ง)
ตำหนิแบบไหน ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า (ดู 4760 ครั้ง)
กระดาษ (ดู 4378 ครั้ง)
วิธีทำความสะอาดเครื่องต้มกาแฟ (ดู 4318 ครั้ง)
ประวัติของปากกาลูกลื่น (ดู 4419 ครั้ง)
ประวัติและการผลิต ดินสอ (ดู 5764 ครั้ง)
ประวัติความเป็นมาของ ยางลบ (ดู 4854 ครั้ง)
เครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4587 ครั้ง)
จัดฮวงจุ้ย บนโต๊ะทำงาน (ดู 4829 ครั้ง)
เครื่องใช้สำนักงาน (ดู 4453 ครั้ง)
ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร (ดู 4928 ครั้ง)
หมึกปากกาทำจากอะไร (ดู 4692 ครั้ง)
7 เคล็ดลับจัดโต๊ะทำงานแบบมืออาชีพ (ดู 5056 ครั้ง)
การปรับโต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ (ดู 4432 ครั้ง)
เมื่อลูกแม็กซ์หลุดเข้าไปในเครื่องส่งแฟกซ์ (ดู 4098 ครั้ง)
โต๊ะทำงานบอกนิสัย (ดู 4228 ครั้ง)
13 วิธีแก้วิกฤติโลกร้อนที่ออฟฟิค (ดู 4085 ครั้ง)
ราศีกับโต๊ะทำงาน (ดู 4255 ครั้ง)
ตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เป็นมงคล (ดู 4500 ครั้ง)
รู้ธาตุออฟฟิศ พิชิตปัญหา (ดู 4332 ครั้ง)
เทคนิคพิชิตโรคของสาวทำงาน (ดู 4199 ครั้ง)
การจัดแบบห้องทำงานสำนักงาน (ดู 4460 ครั้ง)
.การจัดฮวงจุ้ยที่ดีสำหรับสำนักงาน (ดู 4189 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved