นายสมศักดิ์ เศรษฐนันท์ รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ประมาณเดินกุมภาพันธ์ 2549 คาดว่าร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 2 พ.ศ. ...จะสามารถประกาศใช้ได้อย่างเป็นทางการ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจทานตัวร่าง ซึ่งได้ตรวจเสร็จและ กทม.ได้เห็นชอบไปแล้ว "ขั้นตอนต่อจากนี้ ทางกฤษฎีกาจะส่งเรื่องกลับไปยังกระทรวงมหาดไทย และ กทม. เพื่อยืนยันความถูกต้อง หลังจากนั้นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนาม เพื่อประกาศและลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นจะมีผลบังคับใช้ได้เลย ไม่ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง เพราะได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว" นายสมศักดิ์กล่าวว่า ภายในเดือนธันวาคมนี้ ตัวร่างผังเมืองรวม กทม.จะออกจากสำนักงานกฤษฎีกา หลังจากนั้นก็รอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามแผนน่าจะลงประกาศได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เนื่องจากไม่มีอะไรที่ติดขัดอีกแล้ว เพราะได้มีการปรับแก้ไขไปจนหมดแล้ว "ตอนนี้ผู้ประกอบการและนักธุรกิจก็รอว่า เมื่อไหร่ผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับใหม่จะประกาศใช้เสียที เพราะรอจะพัฒนาให้เป็นไปตามข้อกำหนดในผังใหม่ เนื่องจากในผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับใหม่จะเปิดกว้างให้มีการพัฒนาได้มากขึ้น" ส่วนการนำ FAR และ OSR มาใช้เป็นข้อกำหนดในการพัฒนาตามผังเมืองใหม่ด้วย แม้ที่ผ่านมาจะยังไม่เคยมีการนำมาใช้ก็คาดว่าจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเป็นแค่การกำหนดสัดส่วนการพัฒนาและพื้นที่ว่างในแต่ละพื้นที่เท่านั้น ด้านพื้นที่เขียวลาย (อนุรักษ์เกษตรกรรม) ในฝั่งตะวันออก และตะวันตกยังคงไว้ให้เป็นพื้นที่รับน้ำ เกษตร กรรมเหมือนเดิม ส่วนที่อยู่อาศัยสามารถสร้างได้ แต่ต้องเป็นที่อยู่อาศัยชั้นดี ขนาดที่ดินตั้งแต่ 100 ตารางวาขึ้นไป เป็นต้น "ย่านฝั่งตะวันออกของ กทม.แม้ว่าจะเป็นพื้นที่เขียวลาย แต่เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับสนามบินสุวรรณภูมิ จึงได้มีการเปิดพื้นที่บริเวณริมถนนร่มเกล้าให้พัฒนาได้มากขึ้น โดยย่นระยะจากริมถนนอีก 100 เมตร เป็นต้น เพื่อรับการเติบโตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต" นายสมศักดิ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในส่วนของศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะที่กำลังก่อสร้างในผังเมืองฉบับใหม่ โดยได้มีการเปิดพื้นที่โดยรอบให้มีการพัฒนามากขึ้นเช่นเดียวกัน เพราะยังมีพื้นที่ว่างที่จะพัฒนาได้อีกพอสมควร โดยในช่วงถนนใหญ่ ระยะทางห่างจากริมถนน 10-30 เมตร ให้พัฒนาเป็นอาคารขนาดใหญ่ได้ไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร จากเดิมส่วนใหญ่พื้นที่บริเวณนี้จะถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) ก่อสร้างอาคารได้ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งมีผู้ประกอบการบางราย อยากจะสร้างคอนโด มิเนียมเพื่อรองรับกับข้าราชการที่จะย้ายไปอยู่ 2-3 หมื่นคน ในส่วนของพื้นที่โดยรอบโครงการวงแหวนอุตสาหกรรมที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2549 นี้แล้ว ในตัวผังเมืองฉบับใหม่จะไม่มีการปรับข้อกำหนดให้เปิดการพัฒนาได้มากเท่าไหร่ แต่พยายามจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านธุรกิจเข้าไปมากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน กทม.อยู่ระหว่างจัดจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ศึกษา ทำโครงการศูนย์พาณิชยกรรมบริเวณย่านซีบีดีเดิม เช่น ถนนสีลม สาทร นราธิวาส พระรามที่ 3 ปทุมวัน ราชดำริ เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเชื่อมกับโครงการวงแหวนอุตสาห กรรม เป็นย่านธุรกิจ แหล่งช็อปปิ้ง และเอ็นเตอร์ เทนเมนต์ ฯลฯ เพื่อเป็นการจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยในร่างผังใหม่จะมีการเพิ่มพื้นที่พาณิชย กรรมให้มากขึ้น ให้สมประโยชน์มากกว่าเดิม โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2549 นี้ เงินลงทุนประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท
|