|
อีก180วันตึกสูงต้องประกันภัยบุคคลที่3 |
ด่วน ! กฎกระทรวงประกันภัยบุคคลที่ 3 มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา เงื่อนไขเข้มบีบให้อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารชุมนุมคน โรงมหรสพ โรงแรม และสถานบริการหนาว ต้องทำประกันภัยภายใน 180 วัน ชี้เจ้าของโครงการมีภาระเพิ่มทันที ต้องจ้างวิศวกรตรวจสอบระบบความปลอดภัยในอาคารเพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนทำประกันภัยก่อนจ่ายเบี้ยประกัน นายสว่าง ศรีศกุน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย ว่า ขณะนี้กฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของอาคารที่เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ดำเนินการต้องทำการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ 3 พ.ศ.2548 มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา หลังจากที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา โดยมีบังคับใช้ทั่วประเทศ สาระสำคัญของกฎกระทรวงกำหนดให้อาคารของเอกชนที่จะต้องจัดให้มีการประกันภัยบุคคลที่ 3 ประกอบด้วยอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน โรงมหรสพ โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 50 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 เมตรขึ้นไป "เจ้าของอาคารต้องดำเนินการจัดทำการประกันภัยให้เสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้ ในทางปฏิบัติเจ้าของอาคารจะต้องให้บริษัทประกันภัยมาประเมินความเสี่ยง และตกลงเบี้ยประกันกันเอง เพราะกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้กำหนดไว้ เนื่องจากกรมไม่มีอำนาจ ซึ่งอัตราของเบี้ยประกันจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความ เสี่ยงของแต่ละอาคารว่ามีมากน้อยแค่ไหน" นายสว่างกล่าวว่า สำหรับอาคารใหม่ทั้งที่ก่อสร้างมาหลังกฎหมายอัคคีภัยมีผลบังคับใช้ หรืออาคารที่กำลังจะขออนุญาตก่อสร้างในอนาคต ที่จะทำการประกันภัย จะต้องมีวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตเข้าไปตรวจสอบถึงความพร้อมในการติดตั้ง และจัดทำระบบความปลอดภัยต่างๆ เพื่อที่บริษัทประกันภัยจะได้ทราบว่า อาคารมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน จะได้กำหนดอัตราค่าเบี้ยประกันภัยได้ถูกต้องและเหมาะสม ส่วนอาคารเก่าที่ก่อสร้างมานานหลายปีหรือก่อนหน้าที่กฎหมายอัคคีภัยจะมีผลบังคับใช้ ในการจัดทำประกันภัยบุคคลที่ 3 ไม่ต้องมีการให้วิศวกรมาตรวจสอบ แต่ขึ้นอยู่กับการประเมินของบริษัทประกันภัยเอง "อาคารไหนที่ทำประกันภัยบุคคลที่ 3 แล้ว ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าเช่าในส่วนของออฟฟิศแพงขึ้นตามไปด้วย แต่คงไม่มาก อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่เข้าไปใช้อาคารจะได้ประโยชน์ เพราะได้รับการคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น" รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่มีอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีทั้งหมด 3,000 อาคาร ในจำนวนนี้ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่ามีอาคารที่ได้ทำประกันภัยบุคคลที่ 3 แล้วกี่อาคาร และต้องจัดหาบริษัทประกันภัยทำประกันภัยบุคคลที่ 3 หลังกฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับจำนวนเท่าใด |
|
บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 3 กันยายน 2548
จำนวนผู้อ่าน : 4274 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
|
|
|
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน
นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน,
Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
|