คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 21/12/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

สิทธิ์การถือครองอสังหาฯ ของชาวต่างชาติ

decorating idea design การศึกษาเปรียบเทียบสิทธิการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติในประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย-โอเชียเนีย 18 ประเทศ ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ พบว่า การให้สิทธิชาวต่างชาติเข้าถือครองอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไป ตั้งแต่เปิดเสรีจนถึงปิด


   


ผลการศึกษาพบว่าฮ่องกงเป็นประเทศที่ค่อนข้างเปิดเสรี และแทบไม่มีความแตกต่างกันนักระหว่างสิทธิของพลเมืองจีนกับชาวต่างชาติ ขณะที่ประเทศพม่ามีกฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เอื้อแม้กระทั่งพลเมืองของตนเอง ในการมีสิทธิครอบครองทรัพย์สิน





ระดับชั้นของการเปิดเสรีสำหรับชาวต่างชาติ มีความสัมพันธ์อยู่บ้างกับระดับขั้นของพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วจะเปิดเสรีมากกว่า ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาและมีนโยบายเศรษฐกิจแบบปกป้อง มักพยายามปกป้องตัวเองจากผู้ซื้อชาวต่างชาติที่ร่ำรวยกว่า


   


แต่การจะมีหรือไม่มีสิทธิครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยสมบูรณ์ (Freehold) ของชาวต่างชาติอาจไม่เกี่ยวเนื่องกันนักกับระดับขั้นของการเปิดเสรี เช่น จีนและเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกงไม่ได้ให้กรรมสิทธิ์สมบูรณ์ในที่ดิน แต่ฮ่องกงมีสิทธิการเช่าระยะยาวที่ยาวนานมาก


   


ส่วนในออสเตรเลียถือว่ามีความเท่าเทียมกันมากระหว่างพลเมืองกับชาวต่างชาติในด้านสิทธิการถือครองอสังหาริมทรัพย์ สำหรับญี่ปุ่นแม้จะค่อนข้างเปิดเสรี แต่เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์มีราคาแพงมากจึงไม่เป็นที่ดึงดูดใจ


   


นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า “นโยบายเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเกี่ยวกับการครอบครองทรัพย์สินของชาวต่างชาติ มีเหตุผลเบื้องหลังอยู่มากมาย อาทิ ชาตินิยม นโยบายต่างตอบแทน อุดมการณ์ทางการเมือง การปกป้องกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะทาง ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ราคาบ้านของประชาชนในประเทศ ระดับการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ความน่าดึงดูดต่อผู้ซื้อชาวต่างชาติ ความต้องการการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์”


   


เหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้เองที่ทำให้นโยบายการให้สิทธิครอบครองทรัพย์สินของชาวต่างชาติของแต่ละประเทศแตกต่างกันออกไป


   


อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์การให้สิทธิครอบครองทรัพย์สินของชาวต่างชาติ อาจเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศที่รัฐบาลมีอำนาจการตัดสินใจและการบังคับใช้กฎหมายสูง เช่น จีน สิงคโปร์ และเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง


   


นอกจากนี้การออกมาตรการต่าง ๆ ยังมีการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว ดังเช่นกรณีการออก และการยกเลิกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์





สำหรับประเทศไทย ยังคงให้ความสำคัญกับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของคนไทยเป็นหลัก ชาวต่างชาติและบริษัทที่ชาวต่างชาติถือหุ้นใหญ่ ไม่สามารถถือครองกรรมสิทธิ์สมบูรณ์ในที่ดินได้ เว้นแต่จะได้รับสิทธิตามมาตรการส่งเสริมพิเศษ


   


อาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดินอันเป็นที่ตั้งของโรงงานได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป็นกรณีไป นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ พ.ศ. 2520 ที่ให้สิทธิชาวต่างชาติที่ลงทุนอย่างต่ำ 40 ล้านบาทในประเทศไทย สามารถซื้อที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่ เป็นต้น


   


สำหรับการถือกรรมสิทธิ์ระยะยาว หรือการเช่าระยะยาวสำหรับประเทศไทย มีระยะเวลาเช่าสูงสุดที่ 30 ปีสำหรับทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยให้สิทธิต่อสัญญาเช่า ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงผลทางกฎหมายในการสืบทอดกรรมสิทธิ์


   


ขณะที่การถือครองกรรมสิทธิ์สมบูรณ์ในห้องชุดคอนโดมิเนียมนั้น ชาวต่างชาติ หรือบริษัทที่มีชาวต่างชาติถือหุ้นใหญ่สามารถเป็นเจ้าของห้องชุดได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 49 ของพื้นที่ขายห้องชุด และชาวต่างชาติไม่สามารถนำห้องชุดที่ซื้อมาปล่อยให้เช่าได้ เนื่องจากบริการให้เช่าอาคารหรือที่ดินจัดเป็นการกระทำต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว.





บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 22 กุมภาพันธ์ 2556
จำนวนผู้อ่าน : 4058 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
เดอะ แพลนท์ ซิมพลีส รามคำแหง 118 บ้านเดี่ยว (ดู 20239 ครั้ง)
ภัสสร เพรสทีจ ปิ่นเกล้า-เพชรเกษม บ้านเดี่ยว (ดู 11064 ครั้ง)
เนเชอร่า เทรนด์ ศรีนครินทร์ บ้านเดี่ยว (ดู 10580 ครั้ง)
เดอะทรี อินเตอร์เชนจ์ คอนโด (ดู 11637 ครั้ง)
พลัมคอนโด บางแค (ดู 12060 ครั้ง)
พลัมคอนโด นวมินทร์ (ดู 11681 ครั้ง)
พลัมคอนโด ลาดพร้าว 101 คอนโด (ดู 11898 ครั้ง)
คอนโดเลต ดเวล สุขุมวิท 26 คอนโด (ดู 11321 ครั้ง)
คอนโดเลต ไอซ์ ราชเทวี คอนโด (ดู 12127 ครั้ง)
คอนโดเลต ไลท์ คอนแวนต์ คอนโด (ดู 11857 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ โมเบียส รามคำแหง-คลองตัน คอนโด (ดู 10549 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ จันทน์-สาทร คอนโด (ดู 10236 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ สาทร-ตากสิน คอนโด (ดู 9181 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ เซนเซ่ บางแค (ดู 9520 ครั้ง)
เออบาโน่ แอปโซลูท คอนโด (ดู 9244 ครั้ง)
พลัม พรีเมี่ยม พหลโยธิน คอนโด (ดู 3474 ครั้ง)
ไอวี่ ไชน่า ทาวน์ คอนโด (ดู 3716 ครั้ง)
ไอวี่ รัชดา คอนโด (ดู 3530 ครั้ง)
ไอวี่ ปิ่นเกล้า คอนโด (ดู 3577 ครั้ง)
ไอวี่ทองหล่อ คอนโด (ดู 3799 ครั้ง)
เดอะซี้ด พหลโยธิน คอนโด (ดู 3551 ครั้ง)
เดอะซี้ด รัชดา - ห้วยขวาง คอนโด (ดู 3456 ครั้ง)
เดอะซี้ด สาทร - ตากสิน คอนโด (ดู 3426 ครั้ง)
เดอะซี้ด แจ้งวัฒนะ คอนโด (ดู 3433 ครั้ง)
เดอะซี้ด เตร์เร่ รัชโยธิน คอนโด (ดู 3454 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved