คอนโด, บ้านจัดสรร, บ้านโครงการ,คอนโดมิเนียม,บ้านเดี่ยว, บ้านมือสอง,บ้านเช่า,ขายบ้าน, ที่ดิน, ตกแต่งบ้าน
อัพเดตล่าสุดวันที่ 31/10/2567
หน้าแรก | บ้าน คอนโด บ้านมือสอง | ประกาศ ซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน | สินเชื่อ | ตกแต่งบ้าน | เรื่องน่ารู้ | ไลฟ์สไตล์ | ลงประกาศซื้อขายฟรี
 
User Name
Password
เมนูหลัก
สมัครสมาชิก ลงประกาศ
ลืมรหัสผ่าน
ลงประกาศซื้อขาย
ค้นหาประกาศซื้อขาย
คู่มือซื้อขายบ้าน
ติดต่อสอบถาม

จัดระเบียบ 'ที่ดินราชพัสดุ' 'แปลงสิทธิ์การเช่าเป็นทุน' สู่ 'สังคมอุดมคติ'

decorating idea design

ในอดีตเมื่อเอ่ยถึง “ที่ดินราชพัสดุ” ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ หลายคนอาจจะนึกถึงที่ดิน จำนวนมหาศาลของรัฐ ที่ไม่เคยใช้ประโยชน์ อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย หลายคนเห็นถึงความสูญเปล่า ทางเศรษฐกิจ บนผืนดินเหล่านั้น หลายพื้นที่ถูกนักการเมือง และผู้มีอิทธิพลเข้ามาครอบครอง เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือ ในการหาเสียง

แม้ที่ผ่านมา กรมธนารักษ์หน่วยงาน ต้นสังกัดจะเพียรพยายาม ในการจัดระเบียบที่ราชพัสดุเหล่านี้ และมีความพยายามที่จะดึงที่ดิน กลับมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง แต่ความพยายามดังกล่าวล้มเหลวมาตลอด

แต่วันนี้ ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่ชัดเจน ว่าต้องการนำที่ดินราชพัสดุมาทำประโยชน์ให้กับประชาชน ตอบสนองนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน และสนับสนุนในประชาชนมีบ้านเป็นของตนเอง

ผลักดันให้ “กรมธนารักษ์” สามารถพลิกหน้าประวัติศาสตร์ การพัฒนาที่ราชพัสดุ ด้วยการดึงที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงาน ที่ไม่เคยนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง รวมทั้งที่ดินที่ถูกบุกรุกสารพัดรูปแบบจำนวน 12.5 ล้านไร่ กลับมา

เพื่อนำมาพัฒนาวางระบบภายใต้แนวทางการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ ด้วยการ “แปลงสินทรัพย์เป็นทุน”

โดยมีวัตถุประสงค์หลัก พัฒนาที่ราชพัสดุอย่างเป็นระบบและระเบียบ มีการบูรณาการ นำที่ดินเหล่านี้มาใช้เพื่อรองรับการสร้างสังคมในอุดมคติ สร้างสังคมแห่งความเอื้ออาทร และยังรวมไปถึงการนำที่ราชพัสดุส่วนหนึ่ง สร้างคลังสินค้า เพื่อเสริมระบบโลจิสติกส์ และระบบขนส่งมวลชนทั่วประเทศ

“ทีมเศรษฐกิจ” ได้สัมภาษณ์ “วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ” อธิบดีกรมธนารักษ์ ผู้อยู่เบื้องหลังการผลักดันการพัฒนาจัดระเบียบที่ราชพัสดุอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้ เปิดเผยเส้นทางการพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุ ที่ผ่านมาอย่างละเอียดว่า...

จากที่ดินราชพัสดุที่รกร้างว่างเปล่า ใช้ประโยชน์ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยในช่วงที่ผ่านมา จากนโยบายเหล่านี้ ที่ราชพัสดุโฉมใหม่จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง

************

ลุยแปลงสิทธิ์การเช่ากู้แบงก์

ปัญหาคือ จะต้องขอคืนที่ดินไปเรื่อยๆ จากผู้ครอบครอง จะทำคล้ายคาราวานเดินสาย ชี้แจงผู้เช่าและหน่วยงานที่ใช้ที่ราชพัสดุทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 12.5 ล้านไร่ แบ่งเป็นหน่วยงานราชการใช้ที่ดินทั้งสิ้น 12.4 ล้านไร่ หรือ 99.3%, ผู้ใช้เพื่อที่อยู่อาศัยและภาคการเกษตร 100,000 ไร่ หรือคิดเป็น 0.7% โดยจะพิจารณาว่าพื้นที่ที่ใช้มีศักยภาพการใช้ที่ดินของที่หน่วยงานนั้นๆ คุ้มค่าและเกินความจำเป็นหรือไม่

ซึ่งในส่วนของกรมธนารักษ์ในฐานะผู้ดูแลที่ราชพัสดุ มีโครงการที่คิดไว้หลายโครงการที่จะผลักดัน แต่ถ้าไม่มีที่ดินก็ไม่สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นหลายส่วนต้องช่วยกันผลักดันทั้งภาครัฐบาล สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ธนารักษ์ และหน่วยงานที่ครอบครอง

สิ่งสำคัญ จะต้องผลักดันนโยบายของรัฐบาลให้เดินไปด้วยกัน แรงต่อต้านจากนี้ไปจึงจะไม่มีหรือมีก็เรียกได้ว่าน้อยมาก เพราะโครงการทั้งหมดจะเน้นเรื่องสังคมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น 1. การหาอาชีพ โดยมีการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน หรือการแปลงสิทธิ์การเช่า 2. การหาที่อยู่อาศัยในหลายๆระดับ 3. การให้บริการสาธารณะ เช่น ลานกีฬา ห้องสมุด

“หากทำ 3 เรื่องได้จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น คนที่มีอาชีพย่อมมีกำลังที่จะไปหาที่อยู่อาศัย มีความสามารถชำระหนี้ได้ จากนั้นจะจัดหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ เช่น สวนสาธารณะ ลานกีฬา และห้องสมุด การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเราจะทำเป็นแบบ comprehensive package คือ สิทธิตั้งแต่แปลงสินทรัพย์เป็นทุน ของเราจะเป็นสิทธิการเช่า ในอดีตเราใช้สัญญาการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นสัญญาระยะสั้น 1-3 ปีเท่านั้น”

ดังนั้น เรื่องการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน จึงต้องสร้างความเข้าใจกับผู้เช่ากว่า 60,000 รายก่อน ว่าเรามีโครงการประเภทอะไร แล้วให้ทำการติดตาม ในระดับจังหวัด จะทำการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอรวม ทั้งข้าราชการในส่วนภูมิภาคที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับหน้าที่ต่างๆ เช่น พวกเกษตร ประมง, ปศุสัตว์, อุตสาหกรรม OTOP จะคุยกันก่อนว่า จะทำอะไรที่จะก่อให้เกิดรายได้

โดยต้องทำโครงการเสนอและเมื่อโครงการอนุมัติเราก็จะเซ็นสัญญาให้เช่า สมมติว่าเจ้าของกิจการหัตถกรรม OTOP อยู่ในพื้นที่นี้ ต้องเขียนโครงการให้ธนาคารก่อน เราก็จะช่วยเหลือด้วย สมมติธนาคารให้เงินกู้เพื่อประกอบอาชีพ 7 ปี สัญญาเช่าที่อาจจะให้เช่าเพิ่มเป็น 10 ปี

ปีที่แล้วทำได้ 400-500 ราย แบงก์ปล่อยกู้จากการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนกว่า 400 ล้านบาท ตัวเลขแม้จะยังไม่สูงแต่เมื่อเทียบกับที่อื่นแล้วถือว่าสูงที่สุด เราได้ทำการปูพื้นฐานไว้หมด แต่จริงๆก็ขึ้นอยู่กับธนาคารว่าจะให้หรือไม่ ธนาคารที่มีการรองรับเรื่องนี้ก็จะมีธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.), ธนาคารเอสเอ็มอี และกำลังคุยกับธนาคารกรุงเทพและทหารไทย

“การนำสิทธิการเช่าไปวางเป็นหลักประกัน จะพยายามให้แบงก์เกิดความมั่นใจมากที่สุด เราจะมีการประเมินสัญญาสิทธิการเช่าให้ด้วย ว่าสัญญาจะมีมูลค่าเท่าไรเพื่อให้ธนาคารมั่นใจมากขึ้น เพื่อที่จะได้ปล่อยสินเชื่อ เพื่อให้นำไปประกอบอาชีพ ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมา ก็จะเรียกทั้ง 3 ฝ่ายมาคุยกันก่อน แทนที่จะไปขึ้นศาล ถ้าคุยไม่รู้เรื่องก็อาจจะหาผู้เช่าคนอื่น ที่มีคุณสมบัติคล้ายกันมาเช่าต่อได้ เพราะธนาคารจะไม่ยึด ไม่มีอาชีพที่จะยึด สิทธิการเช่าทางธนาคารไม่เอามาขาย เพราะเป็นการเสียเวลา อาจต้องมีกระบวนการที่ทำให้ปัญหาคลี่คลายลงได้”

นอกจากนี้ จะขอร้องให้ทางบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ทริส) ไปประเมินด้วย จะเป็นตัวชี้วัดว่าเวลาธนาคารได้รับคำขอสินเชื่อ 100 ราย อนุมัติให้กี่ราย ถ้าปล่อยกู้ได้ก็จะให้คะแนนมาก

จัดระบบที่อยู่อาศัยครบวงจร

กรมฯตั้งเป้าจะนำที่ราชพัสดุมาพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยแบบครบวงจรหลายๆระดับ ซึ่งที่ผ่านมาสามารถดำเนินการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้วทั้งสิ้น 5,800 ราย จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 4,000 ราย ได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานราชการผู้ครอบครองที่เห็นความสำคัญ และคืนพื้นที่ให้มาเพื่อนำมาพัฒนาเป็นสวัสดิการ จะได้มีบ้านเป็นของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทำกิน มีอาชีพ เงินกู้ให้ ถ้าไม่ใช่ผู้เช่าก็ไม่สามารถให้ได้ คนที่ไม่มีอาชีพก็ไม่สามารถให้ได้

“คนเหล่านี้ถือว่าสำคัญ เพราะแทนที่จะเป็นภาระของสังคมก็จะเป็นทรัพย์สิน จะมีความยั้งคิด เนื่องจากมีบ้าน มีครอบครัว ก็ไม่กล้าที่จะไปเกเร”

ตรงนี้จะตั้งชื่อโครงการว่า “รัฐเอื้อราษฎร์” โดยร่วมกับทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจในปีที่ผ่านมา ปีที่แล้วตั้งเกณฑ์ให้ผู้ที่มีเงินเดือน 17,000 บาท เหมือนเอื้ออาทร ปีนี้จะทำสวัสดิการให้กับข้าราชการระดับล่างเพิ่มเงินเดือนต่ำกว่า 17,000 บาทลงมา ส่วนระดับล่างจะมีค่าชดเชยเรื่องสาธารณูปโภค สิ่งที่ทำเมื่อปีที่แล้วมี 2 ส่วนคือ 1. ให้มีอาชีพ 2. มีที่อยู่อาศัย ในปีต่อๆไปจะทำให้มากขึ้นให้ประเมินมูลค่าสิทธิการเช่าในที่ดิน อย่างน้อยที่สุดธนาคารจะดูโครงการ ดูหลักประกันด้วย เราตั้งไว้ 17,000 บาทก่อน แล้วทำฐานข้อมูล GIS ของผู้เช่าให้ง่ายต่อการติดต่อและติดตาม

นอกจากนี้ จะรวมถึงประชาชนที่ลงทะเบียนคนจนทั่วประเทศสำรวจได้ 1.89 ล้านคน ซึ่งอาจมีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย 30-40% กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าของเรื่อง คงต้องมีการหารือกันเพื่อช่วยเหลือกันต่อไป

ส่วนแบบบ้านจะเป็นแบบ “ร่วมมือ ร่วมใจ” คือ จะลงแรงช่วยกัน เหมือนทำนาก็ต้องลงแขกเกี่ยวข้าว แบบเหมือนต่อ เอแซด จะสร้างบ้าน ใช้เวลาเพียงแค่ 2 วันเสร็จ ขณะที่รัฐบาล ก็จะลดดอกเบี้ยให้ด้วย สมมติให้ผ่อน 10 ปี ค่าก่อสร้างคิดหลังละ 120,000 บาท ผ่อนเดือนละ 999 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ปัจจุบันอัตรา 5.5% ไม่รวมราคาที่ดิน ที่คิดตารางวาละ 1 บาท รวมค่าสาธารณูปโภค 20-30% คิดเบ็ดเสร็จรัฐบาลลงทุนไม่ถึง 7,000 ล้านบาท

“เรื่องบ้านคนจนโครงการนี้มีอายุ 14 ปี ก็ค่อยๆทำไป เป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีให้กับประชาชน เพราะมีที่อยู่อาศัย มีอาชีพ คนจนจะกลายเป็นทรัพย์สินไม่สร้างภาระให้สังคม ที่ดินส่วนที่เหลือจะเอามาสร้างและพัฒนาเพื่อสร้างรายได้ ให้ประเทศ รัฐบาลลงทุนนิดเดียว 10 ปี แล้วให้ผ่อนเดือนละ 999 บาท เมื่อคนมีอาชีพ มีที่อยู่อาศัย สังคมจะดูดีขึ้น ถือเป็นการลงทุนที่น้อยมาก”

“ทหาร” ส่งมอบพื้นที่นำร่อง

ตอนนี้ผมลงไปเองที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นที่จังหวัดนครราชสีมา กองทัพบกส่งมอบที่ราชพัสดุคืนแล้ว 300 ไร่ เพื่อให้กรมธนารักษ์ดำเนินการเพื่อนำไปสร้างชุมชนและสังคม โดยแบ่งบ้านออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. บ้านสวัสดิการ และ 2. บ้านประชาชน จากนั้นจะไปต่อที่จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่หลายร้อยไร่ โดยจะมีส่วนราชการและโรงเรียนด้วย

ซึ่งกรมธนารักษ์จะพยายามนำสินค้าโอทอปมาจัดหมวดหมู่ เป็น “เซรามิกเซ็นเตอร์” เพราะเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดลำปาง ซึ่งทุกคนในพื้นที่ก็พอใจ เพราะก่อนที่จะจัดสร้างอะไรก็จะมีการสอบถามความพึงพอใจก่อน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการบ้านพักและสำนักงานของส่วนราชการที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งปัจจุบันกระจายกันอยู่ ไม่น่าดู เช่น สำนักงานอัยการ และสถานีดับเพลิงก็จะย้าย, จังหวัดสุราษฎ์จะมีการย้ายบ้านพักราชการ แต่จะมีการทำกรรมสิทธิ์เพื่อนำพื้นที่เก่าไปให้เอกชนเช่าต่อ โดยจะใช้เงินงบประมาณมาผสมกับรายได้จากการที่เอกชนมาเช่าสิทธิ์, จังหวัดภูเก็ต จะทำเป็นเมืองศูนย์รวมกับนักกีฬาที่ต้องการซ้อมหรือพักผ่อนยาวๆ โดยมีพื้นที่ 126 ไร่ ซึ่งตรงนี้ประชาชนที่จังหวัดภูเก็ตให้ความสนใจกันมาก

ขณะที่ด้านการหารายได้นั้น พื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ ก็จะมีการทำเหมือนกับ “โรงภาษีร้อยชักสาม” ซึ่งเป็นที่ดินทำเลทองติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยการ เปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลกรรมสิทธิ์ในการเช่า ซึ่งในวันที่ 10 พ.ค.นี้ กรมธนารักษ์จะลงนามกับบริษัทแนเชอรัล พาร์ค โดยในงวดแรกผู้ชนะการประมูลจะต้องจ่ายเงิน 128 ล้านบาท ส่วนโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพฯที่ถนนแจ้งวัฒนะ จะมีการลงทุน 24,000 ล้านบาท เพื่อให้ ส่วนราชการและองค์กรอิสระ 28 หน่วยงาน เข้ามาใช้อาคารสำนักงานของศูนย์แห่งนี้

“พื้นที่ราชพัสดุที่จะนำสร้างบ้านสวัสดิการทุกแห่ง ผมให้โจทย์ไปว่า จะต้องทำเป็นศูนย์ครบวงจร สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์รัฐบาลดูแลให้สอดรับกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด เช่น ต้องการให้เป็นเมืองไอทีซิตี้ เป็นเมืองมหาลัย ก็ต้องระบุว่าจะมีโรงเรียนอนุบาล มีคาเฟ่เน็ต ที่กวดวิชา ที่เรียน มีช็อปปิ้งเซ็นเตอร์

เพราะเมืองมหาลัยมีครูเข้ามาสอน ครูก็ไม่ต้องวิ่งรอก นักเรียนไม่ต้องแย่งเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เพราะคนเรียนเยอะมากครูต้องดีขึ้น ตรงนี้ทำเสร็จแล้ว คุณเสนอโครงการอะไรก็ได้ แต่ต้องให้มีความเป็นไอทีเป็นโจทย์บังคับอันหนึ่ง ส่วนรอบๆ จะแตกต่างจากผมผมไม่ว่า แต่ผมทำตุ๊กตาไว้ให้ อีกไม่กี่เดือนจะเดินหน้าตรงนี้”

นอกจากนี้ การทำบ้านสวัสดิการ คือ การสร้างคุณภาพชีวิต มีสวนสาธารณะ ลานกีฬา ห้องสมุด ซึ่งจะกำหนด 120 แห่ง ทั่วประเทศ/ปี โดยอยากทำให้ได้ 1,000 แห่งภายใน 4-5 ปี อาจเฉลิมฉลองปีพระเจ้าอยู่หัวด้วย คือในบ้านประเภทนี้จะบังคับมีสวน ห้องสมุด สถานเลี้ยงเด็กด้วย เพื่อให้เป็นชุมชน

ซึ่งการพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุและนโยบายทั้งหมด ยอมรับว่าเป็นการก้าวสู่การเป็น “กรมธนารักษ์โฉมใหม่” จะเป็นการใช้แนวนโยบายที่เรียกว่า การพัฒนาพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการร่วมมือและร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือเรียกว่า Public Private Partnership (PPP)

โดยจะทำงานเชิงรุก ไม่หยุดนิ่งรอให้คนเข้ามา ให้เดินไปพูดคุยกับหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ สำรวจความต้องการของส่วนราชการ ต้องนำนโยบายไปพูดให้ได้รับการยอมรับ ต้องทำงานแบบมีการบูรณาการกันในกลุ่ม เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน คิดนอกกรอบ สร้างสรรค์นำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการทำงานอยู่เสมอ ตามนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง มอบให้

หนุนลดต้นทุนโลจิสติกส์

นอกจากนี้ กรมธนารักษ์ยังใช้ที่ราชพัสดุมาสนับสนุนในเรื่องของโลจิสติกส์ โดยจะเข้าไปมีส่วนช่วยในด้านของที่ดินที่กรมธนารักษ์ดูแล เพราะที่ดินถือเป็นต้นทุนของผู้ประกอบการ ถ้านำที่ดินเหล่านั้นไปสร้างเป็นคลังสินค้าหรือจุดขนถ่ายคน เพื่อขนถ่ายคนหรือสินค้าที่ล่องจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปภาคเหนือ หรือจากภาคเหนือที่จะล่องมากรุงเทพฯ แล้วมาจอดพักครึ่งทาง ที่จังหวัดนครสวรรค์หรือพิษณุโลก เพื่อให้จังหวัดนครสวรรค์เป็นจุดกระจายคนและสินค้าก่อนส่งไปยังจังหวัดรอบๆ หรือใกล้เคียง

เชื่อว่าจะทำให้คนใช้บริการมากขึ้น เพราะมีต้นทุนที่ถูกลง เช่น รอบบริเวณพื้นที่รอบกรุงเทพฯ อย่างลาดกระบัง และตามท่าเรือต่างๆนั้น ทำอย่างไรที่จะต่อเชื่อมกันได้ เพื่อให้มีต้นทุนต่ำ หรือการสร้างที่จอดรถเพื่อให้ประชาชนไว้จอดรถเพื่อใช้ระบบขนส่งมวลชน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าบนดิน ใต้ดิน เป็นต้น ซึ่งในต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ หรือสหภาพยุโรป มีต้นทุนขนส่งถูกกว่าไทย เพราะมีการนำเรื่องโลจิสติกส์มาใช้ ซึ่งถ้าจุดขนถ่ายสินค้าหรือขนถ่ายคนเป็นที่ราชพัสดุแล้ว จะทำให้ต้นทุนถูกลงไปอีก......

บ้านมือสอง คอนโด condo บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านเช่า ที่ดิน
วันที่ : 9 พฤษภาคม 2548
จำนวนผู้อ่าน : 17298 ครั้ง
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
เดอะ แพลนท์ ซิมพลีส รามคำแหง 118 บ้านเดี่ยว (ดู 18800 ครั้ง)
ภัสสร เพรสทีจ ปิ่นเกล้า-เพชรเกษม บ้านเดี่ยว (ดู 10960 ครั้ง)
เนเชอร่า เทรนด์ ศรีนครินทร์ บ้านเดี่ยว (ดู 10504 ครั้ง)
เดอะทรี อินเตอร์เชนจ์ คอนโด (ดู 11551 ครั้ง)
พลัมคอนโด บางแค (ดู 11963 ครั้ง)
พลัมคอนโด นวมินทร์ (ดู 11550 ครั้ง)
พลัมคอนโด ลาดพร้าว 101 คอนโด (ดู 11810 ครั้ง)
คอนโดเลต ดเวล สุขุมวิท 26 คอนโด (ดู 11239 ครั้ง)
คอนโดเลต ไอซ์ ราชเทวี คอนโด (ดู 12040 ครั้ง)
คอนโดเลต ไลท์ คอนแวนต์ คอนโด (ดู 11785 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ โมเบียส รามคำแหง-คลองตัน คอนโด (ดู 10468 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ จันทน์-สาทร คอนโด (ดู 10152 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ สาทร-ตากสิน คอนโด (ดู 9105 ครั้ง)
คอนโดฟิวส์ เซนเซ่ บางแค (ดู 9461 ครั้ง)
เออบาโน่ แอปโซลูท คอนโด (ดู 9170 ครั้ง)
พลัม พรีเมี่ยม พหลโยธิน คอนโด (ดู 3429 ครั้ง)
ไอวี่ ไชน่า ทาวน์ คอนโด (ดู 3672 ครั้ง)
ไอวี่ รัชดา คอนโด (ดู 3490 ครั้ง)
ไอวี่ ปิ่นเกล้า คอนโด (ดู 3533 ครั้ง)
ไอวี่ทองหล่อ คอนโด (ดู 3755 ครั้ง)
เดอะซี้ด พหลโยธิน คอนโด (ดู 3511 ครั้ง)
เดอะซี้ด รัชดา - ห้วยขวาง คอนโด (ดู 3423 ครั้ง)
เดอะซี้ด สาทร - ตากสิน คอนโด (ดู 3385 ครั้ง)
เดอะซี้ด แจ้งวัฒนะ คอนโด (ดู 3380 ครั้ง)
เดอะซี้ด เตร์เร่ รัชโยธิน คอนโด (ดู 3416 ครั้ง)

Google
 
ขายบ้าน, คอนโด มือสอง, บริษัทนายหน้า, โบรกเกอร์, รับฝากขายบ้าน, ขายบ้าน, realtor, agency, บริษัท ขายบ้าน, ตัวแทน นายหน้า, รับฝากขาย, ซื้อขายบ้าน, ฝากขายบ้าน นายหน้า ขายบ้าน, บ.นายหน้า ขายบ้าน, โบรกเกอร์, ซื้อขายบ้าน, รับฝากขายบ้าน, ตัวแทนนายหน้า, โบรกเกอร์บ้าน, นายหน้าบ้าน, ตัวแทนบ้าน ขายบ้าน ตกแต่งบ้าน ฟอร์นิเจอร์ ออกแบบ บ้าน ซื้อขาย บ้าน, รับออกแบบ บ้าน, รวมแบบบ้านแบบ บ้าน, ตกแต่งภายใน บ้าน, interior design ออกแบบ บ้าน, interior รับออกแบบ บ้าน, Architecture รับออกแบบ บ้าน, ตกแต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, Mudahouse, ตกแต่งภายใน, รับเหมา ก่อสร้างบ้าน, บริษัท ก่อสร้าง
ติดต่อลงโฆษณา : ududee@msn.com
โทรศัพท์: 08-9180-5710
Copyright ©2005-2012 Hometophit All rights reserved