สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำข้อมูลสรุปผลการประมวลพื้นที่ก่อสร้างในช่วงไตรมาส 3 ปี 2548 (ก.ค.-ก.ย. 48) โดยเก็บข้อมูลเฉพาะในท้องที่ เขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พบว่ามีจำนวนผู้ได้รับอนุมัติการก่อสร้างใหม่ ต่อเติม และดัดแปลงอาคารและสิ่งก่อสร้างจำนวน 54,733 ราย แยกเป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคารโรงเรือน 46,332 ราย คิดเป็นพื้นที่ 15.26 ล้านตารางเมตร และอนุมัติให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่อาคารโรงเรือน แยกเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมัน ป้ายโฆษณา ฯลฯ 8,401 ราย คิดเป็นพื้นที่ 352,211 ตารางเมตร และสิ่งก่อสร้างประเภททางระบายน้ำ ถนน รั้ว กำแพง ฯลฯ คิดเป็นความยาวทั้งสิ้น 552,297 เมตร ยอดอนุมัติก่อสร้างใหม่พุ่ง สำหรับผู้ที่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างอาคารโรงเรือน พบว่า มีจำนวน 98% ที่เป็นการอนุมัติให้ก่อสร้างใหม่ ส่วนอีก 2% เป็นการอนุมัติให้ต่อเติมหรือดัดแปลง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับสถิติในช่วงไตรมาส 2 ปี 2548 พบว่า ในแง่ของจำนวนรายที่ได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้างอาคาร "โรงเรือน" เพิ่มขึ้น 1.8% และ "พื้นที่ก่อสร้าง" เช่น ลานจอดรถ สนามกีฬา ปั๊มน้ำมัน เพิ่มขึ้น 10.5% ส่วนเมื่อเทียบกับสถิติในช่วงไตรมาส 3 ปี 2547 พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น 10.7% และ 9.6% ตามลำดับ ส่วนทางด้านสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่อาคารโรงเรือน พบว่ามีจำนวน 99.4% ที่ได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้างใหม่ ส่วนอีก 0.6% เป็นการอนุมัติให้ต่อเติมหรือดัดแปลง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับสถิติในช่วงไตรมาส 2 ปี 2548 พบว่า ในแง่ของจำนวนรายที่ได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้างอาคาร "โรงเรือน" เพิ่มขึ้น 12.6% และ "พื้นที่ก่อสร้าง" เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3% ส่วนพื้นที่ก่อสร้างที่คิดเป็นความยาว (ทางระบายน้ำ ถนน รั้วกำแพง) มีจำนวนลดลง 12.6% ส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาส 3 ปี 2548 พบว่ามีจำนวนผู้ได้รับอนุมัติการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 32.7% โดยมีพื้นที่ก่อสร้างเพิ่มขึ้นคิดเป็น 22.9% แต่ในแง่ของพื้นที่ก่อสร้างที่คิดเป็นความยาว ลดลง 12.2% อาคารอยู่อาศัยโตแค่ 2.1% เมื่อแยกประเภทอาคารโรงเรือนที่ได้รับอนุมัติการก่อสร้างพบว่า "อาคารโรงเรือนเพื่อการอยู่อาศัย" มีการก่อสร้างมากที่สุดคือรวมพื้นที่ 9.79 ล้านตารางเมตร คิดเป็น 64.1% ของสิ่งที่ก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือน "อาคารโรงเรือนเพื่อการพาณิชย์" มีพื้นที่รวม 2.63 ล้านตารางเมตร คิดเป็น 17.2% "อาคารโรงเรือนเพื่อการอุตสาหกรรมและโรงงาน" มีพื้นที่รวม 1.75 ล้านตารางเมตร คิดเป็น 11.5% "โรงแรม-ภัตตาคาร" มีพื้นที่รวม 477,070 ตารางเมตร "อาคารโรงเรือนเพื่อการศึกษาและสาธารณสุข" มีพื้นที่รวม 104,925 ตารางเมตร เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลกับช่วงไตรมาส 2 ปี 2548 พบว่าโดยรวมอาคารโรงงานมีพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ "โรงแรม-ภัตตาคาร" เพิ่มขึ้นสูงที่สุดคือ 77.1% "อาคารโรงเรือนเพื่อการศึกษาและสาธารณสุข" เพิ่มขึ้น 67% และ "อาคารโรงเรือนเพื่อที่อยู่อาศัย" เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ 2.1% ส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาส 3 ปี 2547 มีอัตราเพิ่มขึ้น 17.4% 27.3% และ 4.4% ตามลำดับ ส่วนในแง่ของสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่โรงเรือน พบว่าเป็นการก่อสร้าง "ท่อ-ทางระบายน้ำ" มากที่สุด รวมเป็นระยะทาง 287,289 เมตร คิดเป็น 52% รองลงมาคือ "ถนน" รวมเป็นระยะทาง 114,485 เมตร คิดเป็น 20.7% และ "รั้ว-กำแพง" รวมเป็นระยะทาง 136,908 เมตร คิดเป็น 24.8% ส่วน "ลานจอดรถ" รวมเป็นพื้นที่ 197,732 ตารางเมตร คิดเป็น 56.1% และ "ป้ายโฆษณา" รวมเป็นพื้นที่ 49,679 ตารางเมตร คิดเป็น 14.1% ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถิติกับช่วงไตรมาส 2 ปี 2548 พบว่า มีสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่อาคารโรงเรือนมีความยาวของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างเพิ่มขึ้น โดยเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาส 2 ปี 2548 และไตรมาส 3 ปี 2547 เพิ่มขึ้น 12.6% และ 12.2% ตามลำดับ ส่วนสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่อาคารโรงเรือนที่มีพื้นที่คิดเป็น ตร.ม.เพิ่มขึ้น 27.3% และ 22.9% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 2 ปี 2548 และไตรมาส 3 ปี 2547 ตามลำดับ |